Friday, March 29Modern Manufacturing
×

ขยะไทยก้าวไกลสู่เชื้อเพลิงทดแทน ระดับพรีเมี่ยม (SRF)

ปัญหาการจัดการขยะเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่คนรู้จริงๆ มักนิ่งเงียบไม่ออกความเห็นหรือไม่ก็ไม่ค่อยมีโอกาสพูด หรือมีส่วนได้ส่วนเสีย แล้วปล่อยให้คนที่รู้น้อยหรือรู้ไม่จริงออกมาแสดงบทบาทราวกับเป็นผู้เชี่ยวชาญเข้าใจปัญหาไปหมด ผู้เขียนเองพอรู้มาบ้างว่าขยะเมืองไทยนั้นถึงขั้นปราบเซียน ชี้ชะตาอนาคตนายกเทศมนตรีมาแล้วทั่วประเทศ และกำลังจะก้าวเข้ามาสู่การเมืองระดับประเทศหากไม่ระวังตัวให้ดีตำแหน่งที่ได้มาแสนยากหรือคอยมาตลอดชีวิตอาจหลุดมือไปได้

ขยะไทยก้าวไกลสู่เชื้อเพลิงทดแทน ระดับพรีเมี่ยม (SRF)

ขยะไทยก้าวไกลสู่เชื้อเพลิงทดแทน ระดับพรีเมี่ยม (SRF)

วันนี้กลเกมขยะมาถึงโค้งสุดท้าย ถึงขั้นใช้ พ.ร.บ.ปลดล็อก พ.ร.บ. มาสู่ พ.ร.บ. รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2560 ความสำคัญอยู่ที่กฎหมายลูกของกระทรวงมหาดไทยว่าจะแก้ปัญหาได้จริงอย่างที่เจ้ากระทรวงประกาศไว้หรือไม่คอลัมน์ RENEWABLE ENERGY ฉบับนี้ ขอก้าวข้ามไปเรื่องขยะของไทยไปให้ไกลสุดขอบฟ้า สู่ภาคพื้นยุโรปโดยเฉพาะยุโรปเหนือ ไม่ได้ไปนั่งเฝ้าดูแสงเหนืออันเกิดจากสนามแม่เหล็กของโลกกระทบกับแสงอาทิตย์ แต่เราตามไปดูเชื้อเพลิงทดแทนฟอสซิลจากขยะเกรดพรีเมี่ยมที่เขาเรียกกันว่า SRF: Solid Recovered Fuel ฟังดูไม่คุ้นหูแต่เมืองไทยเราก็มีการผลิตและใช้บ้างแล้ว

กระแสนักวิชาการที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล โดยเฉพาะกระทรวงพลังงานที่นำเอาขยะมาเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าว่าเป็นคนละเรื่องกัน ขยะต้องกำจัด ขยะไม่ใช่เชื้อเพลิงวาระแห่งชาติก็ไม่ได้ชัดเจนว่าการแก้ไขปัญหาขยะต้องนำไปผลิตไฟฟ้า… ถูกต้องเลย… แต่ควรทราบว่าในโลกนี้มีหลักในการบริหารจัดการขยะกว้างๆ อยู่ 2 รูปแบบ คือ1) เก็บค่ากำจัดแพงๆ จากประชาชน ตันละ 2,000 – 4,000 บาท เน้นการกำจัดขยะโดยรัฐไม่ต้องอุดหนุนค่ากระแสไฟฟ้าถึงแม้เราจะใช้เชื้อเพลิงจากขยะก็ตาม 2) เก็บค่ากำจัดขยะถูกและรัฐไปอุดหนุนราคารับซื้อกระแสไฟฟ้าที่ใช้ขยะเป็นเชื้อเพลิง (RDF,SRF) ซึ่งประเทศไทยนั้นใช้แบบที่สองอยู่ จะถูกหรือจะผิดแล้วแต่มุมมองของประชาชนซึ่งรัฐเองก็ค่อยๆ ปรับราคาค่าทิ้งขยะสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พ.ร.บ. รักษาความสะอาดฯ พ.ศ. 2560 ได้เพิ่มค่าทิ้งขยะสูงขึ้นหลายเท่าตัว โดยคาดหวังว่าประชาชนจะเกิดจิตสำนึกในการคัดแยกขยะตามหลัก 3R

เดินลัดเลาะหลบปัญหาขยะไทยโกอินเตอร์ไปรับรู้-เรียนรู้การจัดการขยะของยุโรป ซึ่งนาทีนี้กำลังจะกลายเป็นแม่แบบของการจัดการขยะไทย ทั้งๆ ที่แตกต่างกับทางยุโรปทั้งชนิดขยะ วัฒนธรรมการทิ้งขยะ การจัดเก็บค่ากำจัดและนโยบายรัฐ… แฟนพันธุ์แท้ของขยะอ่านจบแล้วขอคำแนะนำด้วยครับ tinsuntisook@gmail.com

 RDF: Refuse Derived Fuel UNI 9903
 คุณสมบัติหลัก
 RDF คุณภาพสูง
 UNI 9903  (Table2)
 RDF คุณภาพสูง UNI 9903  (Table1)
 และ DM 05/02/98
 คุณลักษณะ
 ค่าความร้อน  KJ/Kg  > 20,000  > 15,000
 ค่าความชื้น  tq  < 18%  < 25%
 คลอรีน  ss (dry matter)  < 0.7%  < 0.9%
 กำมะถัน  ss  < 0.3%  < 0.6%*
 ขี้เถ้า  ss  < 15%  < 20%
 ธาตุโลหะหนัก  mg/kg dm  < 70%  < 100%
 ทองแดง  mg/kg dm  < 50%  < 300%
 Manganese (แมงกานีส)  mg/kg dm  < 200  < 400
 Nickel (นิกเกิล)  mg/kg dm  < 30%  < 40%
 Arsenic (สารหนู)  mg/kg dm  < 5  < 9
 Cadmium (แคดเมียม)  mg/kg dm  < 3  < 7
 สารปรอท  mg/kg dm  < 1  < 7
 สารตะกั่ว  mg/kg dm  < 100  < 200
 *ค่า % เป็นสารตั้งต้นที่อยู่ในเนื้อวัสดุ

WDF: Waste Derived Fuel กรมควบคุมมลพิษ ให้คำนิยามไว้ว่า ‘เชื้อเพลิงจากของเสีย ซึ่งอาจเป็นชิ้น เศษอาหาร หรือพลาสติก หรืออัดเป็นก้อน เชื้อเพลิงจากของเสียมีค่าความร้อนต่ำกว่าถ่านหิน ใช้เป็นเชื้อเพลิงเสริมถ่านหิน หรือใช้พ่นเข้าไปในเตาที่ดัดแปลงเป็นพิเศษ รวมทั้งเชื้อเพลิงจากของเสียอื่นๆ อาจเป็นกากจากการเกษตร เช่น เปลือกข้าว ขี้เลื่อย เศษไม้ และฟาง เป็นต้น’

สำหรับในยุโรปได้ให้ความหมายกว้างๆ ไว้ว่า WDF หมายถึง ขยะไม่อันตราย (Non-Hazardous) ทั้งชุมชนอุตสาหกรรม และพาณิชยกรรม ที่สามารถเผาไหม้ได้ดีเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนฟอสซิล (ถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ) และก่อเกิดมลพิษน้อยกว่าบ่อฝังกลบ WDF อาจแยกออกได้เป็น 3 ชนิด ดังต่อไปนี้

  1. RDF: Refuse Derived Fuel หมายถึง ขยะไม่อันตรายที่ปรับปรุงคุณภาพโดยผ่านกระบวนการย่อย-คัดแยกขยะที่เผาไหม้ได้ออกจากขยะอินทรีย์และขยะอื่นๆ เพื่อให้ได้เชื้อเพลิงที่ปรับปรุงคุณภาพแล้วและมีค่าความร้อนสูงขึ้น โดยไม่เจาะจงว่าจะต้องเป็นขยะชุมชนหรือขยะอุตสาหกรรม
  2. SRF: Solid Recovered Fuel ต้องผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพเช่นเดียวกับ RDF แต่มีการคัดแยกขยะบางชนิดออก SRF เป็นเชื้อเพลิงทดแทนฟอสซิลที่มีคุณภาพสูง ส่วนใหญ่มาจากขยะเชิงพาณิชย์ เช่น กระดาษ ไม้ ผ้า พลาสติก ค่าความร้อนระหว่าง 4,000 – 5,000 กิโลแคลอรี่ต่อกิโลกรัม (17-22 เมกะจูลต่อกิโลกรัม) และมีความชื้นน้อยกว่า 15% ค่าความร้อนของ SRF ประมาณ 1.5 ตัน เท่ากับถ่านหิน 1 ตัน SRF สามารถใช้ทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลได้ดีทั้งในโรงงานอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์และการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานความร้อน จึงได้มีการกำหนดมาตรฐานขึ้นในยุโรป สำหรับประเทศไทยอาจจะ
    ต้องมีการร่างมาตรฐานขึ้นมาให้เหมาะกับขยะแบบไทยๆ
  3. BF: Biological Fuel หมายถึงชีวมวลที่เป็นเศษเหลือทิ้งจากภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมการเกษตรรวมทั้งอุตสาหกรรมป่าไม้ สำหรับประเทศไทยนิยมนำชีวมวลเหล่านี้มาสับและย่อยเป็นชิ้นเล็กๆ (Wood chip)เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงชีวมวล หรือนำไปอัดแท่งเป็นเชื้อเพลิงทั้งขนาดเล็ก (Pellets) และขนาดใหญ่ (Briquettes) โดยนิยมเรียกชื่อรวมๆ ว่า Wood Pellets หรือ Biomass Pellets

มาตรฐาน SRF ในยุโรป

  1. BS EN 15359: 2011 (รวมขยะอุตสาหกรรมที่ไม่อันตราย) ข้อกำหนดของยุโรปได้พัฒนาขึ้นโดยคณะกรรมาธิการมาตรฐานยุโรป (CEN) คณะกรรมาธิการด้านเทคนิคการแปรรูปขยะเป็นเชื้อเพลิง (CEN TC 343) เป็นข้อกำหนดที่ครอบคลุม SRF ที่มาจากขยะไม่อันตรายรวมถึงขยะชุมชน ขยะอุตสาหกรรม ขยะจากการพาณิชย์ไม่รวมถึงขยะจากการก่อสร้าง ขยะจากการรื้อถอน และกากตะกอนของเสีย
  2. BS EN 14961: 2010 (ไม่รวมขยะอุตสาหกรรม) เป็นมาตรฐานสำหรับเชื้อเพลิงชีวภาพแข็ง มีการพัฒนาโดยคณะกรรมาธิการด้านเทคนิค (CEN) เพื่อเชื้อเพลิงชีวภาพแข็ง (CEN TC 335) ให้สามารถใช้กับกลุ่มผู้ใช้ที่มีขนาดเล็ก อาทิ ครัวเรือน ร้านค้าขนาดเล็ก หน่วยงานราชการ เป็นต้น (เศษไม้จากการรื้อทำลายอาคารและงานโยธาไม่รวมอยู่ในขอบเขตมาตรฐานนี้)
  3. BS EN 15358: 2011 SRF QMS BS EN 15234-1: 2011-Solid Biofuel-(QA) ขั้นตอนที่ต้องให้ความมั่นใจกับผู้ใช้งาน การแปรรูปขยะเป็นพลังงานนั้น ต้องมีคุณสมบัติตรงตามคุณภาพมาตรฐานเมื่อเราเข้าใจ WDF (เชื้อเพลิงจากของเสีย) ในเบื้องต้นแล้ว หากเหลียวหลังแลหน้าออกไปจะเห็นได้ว่า BF หรือเชื้อเพลิงจากชีวมวล ไทยเราเดินหน้าไปไกลถึงขึ้นส่งออกปีละนับแสนตันมาหลายปีแล้ว ส่วน RDF หรือเชื้อเพลิงทดแทนฟอสซิลจากขยะยังคงต้องฝ่าฟันอุปสรรคอีกมากบ้างก็ถือโอกาสที่ขยะเป็นวาระแห่งชาติหาประโยชน์จากงบประมาณของรัฐบ้างก็ไม่มีการปรับปรุงคุณภาพขยะแล้วอ้างว่าเป็น RDF ส่งเข้าเตาเผาโดยตรง ก่อมลพิษจนรัฐสั่งปิดไปแล้วก็มีส่วน SRF เชื้อเพลิงทดแทนสายพันธุ์เดียวกับ RDF คือ ต้นน้ำมาจากขยะ แต่ SRF เป็นเชื้อเพลิงทดแทนเกรดพรีเมี่ยม มีค่าความร้อนสูงและสม่ำเสมอกว่า มีการคัดแยกวัสดุบางชนิดที่อาจก่อมลพิษออก ประเทศไทยมีการผลิตเชื้อเพลิงทดแทนระดับพรีเมี่ยม SRF: Solid Recovered Fuel อยู่หลายแห่งเช่น กลุ่มอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ และกลุ่มบริหารจัดการขยะอุตสาหกรรมที่ภาครัฐถือหุ้นอยู่ แต่เนื่องจากประเทศไทยยังไม่ได้กำหนดมาตรฐานของ SRF ขึ้นมาเราจึงอาจไม่ทราบว่าอะไรคือ SRF

ปริมาณขยะชุมชน

ประเทศไทยพร้อมไปสู่ SRF หรือไม่อย่างไร 

การผลิตเชื้อเพลิงทดแทน SRF คือ การรีไซเคิลที่มีประสิทธิภาพแบบหนึ่ง ไม่เพียงแต่ได้ค่าความร้อนที่สูงมลพิษต่ำ แต่ขี้เถ้าจาก SRF ยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อีกด้วย ถึงแม้ไทยจะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะมากมาย และยังไม่สามารถรวมเป็นองค์กรเดียวได้ แต่ศูนย์รวมของการจัดการขยะก็คือภาคเอกชน ซึ่งเป็นทั้งนักลงทุนและผู้ใช้เชื้อเพลิงทดแทนฟอสซิลและหลายปีที่ผ่านมาภาคเอกชนก็มีการพัฒนาการผลิตเชื้อเพลิงจากขยะหลายๆ รูปแบบ จนเกิดเป็นธุรกิจขึ้นแล้วในประเทศไทย รอเพียงความชัดเจนด้านนโยบายของรัฐ ถนนทุกสายก็จะมุ่งตรงสู่ RDF และ SRF และในที่สุดการเผาตรงด้วยเตาเผาและบ่อฝังกลบแบบเทกองก็จะค่อยๆ หมดไป

รางวัลสำหรับผู้ช่วยสร้างโลกสีเขียวด้วยการลงทุนลงแรง ผลิตเชื้อเพลิงทดแทนฟอสซิล SRF นอกจากความภูมิใจแล้ว ผลตอบแทนอย่างเป็นรูปธรรม ยังประกอบด้วยโรงไฟฟ้าพลังงาน SRF ที่ผลิตไฟฟ้าได้ตามเป้าหมายอย่างมั่นคงไม่ต้องหยุดพักในฤดูฝน ใช้มาตรฐานการตรวจสอบอากาศ แบบโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงทดแทนไม่ใช่แบบเตาเผาขยะ และจำหน่ายไฟฟ้าให้รัฐในอัตรา Firm เป็นต้นขอขอบคุณข้อมูลจาก ดร.จุลพงษ์ ทวีศรี และขอให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม บรรลุเป้าหมายการพัฒนาขยะเป็นเชื้อเพลิงทดแทนฟอสซิลสู่เป้าหมาย Zero Landfill ต่อไป

EXECUTIVE SUMMARY

SRF: Solid Recovered Fuel is the RDF (Refuse Derived Fuel) premium grade. It has high calorific value which could replace the fossil fuel. Mostly the SRF comes from commercial wastes such as paper, wood, fabric, and plastic that has heating value ranged between 4,000 – 5,000 kcal/kg, or 17 – 22 Mj/kg. The SRF moisture content is less than 15%. Basically, 1.5 tons of SRF is equivalent to 1 ton of coal. In addition, The SRF can replace coal in both cement kilns and thermal power plant. Currently, Thailand is drafting our own standard using EU as the reference. The SRF production is one of the most effective recycle procedure, which is not only high calorific value but also the ashes from the process is useful as well.


Source:

  • RDF: Refuse Derived Fuel UNI 9903 ข้อมูล: http://www.promeco.it
  • ปริมาณขยะชุมชน ที่มา: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ข้อมูล ณ วันที่ 7/09/59
Modern Manufacturing on FacebookModern Manufacturing on Youtube
Modern Manufacturing
Web Admin
 
นำเสนอข่าวสารความรู้รอบด้านเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการผลิต เพื่ออุตสาหกรรมไทยก้าวหน้าด้วยวิทยาการสมัยใหม่และเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
READ MORE
×