Thursday, April 25Modern Manufacturing
×

โอกาสของ ELECTRIC VEHICLES ในมุมมองนายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย

ดร.ยศพงษ์ ลออนวล นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย และอาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้บรรยายพิเศษในหัวข้อ ‘เทคโนโลยียานยนต์ สมัยใหม่: ปรับกลยุทธ์ พัฒนาทักษะมองหาโอกาส พร้อมทะยานสู่ประเทศไทย 4.0’ ภายในงาน The Grand Metalex 2016 โดยหยิบยกเรื่องราวของยานยนต์ไฟฟ้ามาบอกเล่าให้เกิดความเข้าใจ รวมถึงโอกาสสำหรับเมืองไทยให้ผู้ประกอบการได้เตรียมตัวรับความเปลี่ยนแปลง

โอกาสของ ELECTRIC VEHICLES ในมุมมองนายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย

โอกาสของ ELECTRIC VEHICLES ในมุมมองนายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย

ดร.ยศพงษ์ ได้ให้คำจำกัดความของยานยนต์ไฟฟ้า คือ ‘ยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์’ โดยสามารถแบ่งชนิดตามรูปแบบการทำงานหลักๆ ได้ 5 ประเภท ดังนี้

  • Hybrid มีเครื่องยนต์ มอเตอร์ ถังน้ำมัน และแบตเตอรี่ ระบบทั้งหมดทำงานพร้อมกัน
  • Plug-in Hybrid มีเครื่องยนต์ มอเตอร์ และแบตเตอรี่ที่มีขนำดใหญ่กว่า Gas Hybrid รวมถึง สำมำรถเสียบปลั๊กเพื่อเติมพลังงานได้
  • Range Extender มีแบตเตอรี่และมอเตอร์ใหญ่ เครื่องยนต์มีขนาดเล็ก
  • BEV ไม่มีเครื่องยนต์ จะมีเพียงมอเตอร์ ใช้แบตเตอรี่กับที่ชาร์จภายนอก
  • FCEV คล้ำยกับระบบ Hybrid แต่เปลี่ยนจากเครื่องยนต์เป็นมอเตอร์ไฟฟ้าและถังเก็บไฮโดรเจน

ยานยนต์ไฟฟ้า

สำหรับสิ่งที่หลายคนคาดหวังในด้านการลดมลภาวะโลกนั้น ดร.ยศพงษ์ ได้ตอบคำถามเอาไว้ดังนี้

EV หรือ FEV นั้น เป็นการลดการใช้พลังงานจากฟอสซิลซึ่งก่อให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งยานยนต์ไฟฟ้าเป็นเพียงฟันเฟืองหนึ่งเท่านั้น ไม่ได้เป็นสัดส่วนที่มากมายอย่างที่คิดกัน”

“การทำงานของ EV หรือ FEV นั้น เน้นไปที่การทำงานของระบบแบบองค์รวมอย่างมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดการใช้งานทุกส่วนอย่างคุ้มค่า”

ดร.ยศพงษ์ กล่าวต่อว่า ยานยนต์ไฟฟ้ากลับฟื้นมีความหวังอีกครั้งจาก Tesla Phenomena ซึ่งทำให้การใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าสามารถเป็นจริงขึ้นมาได้ในหลากหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบ ระยะทางการใช้งาน รวมถึงราคาที่สามารถจับต้องได้ สำหรับประเทศไทยระบบ Hybrid และ Plugin-Hybrid ได้มีการเริ่มจำหน่ายและใช้กันบ้างแล้วในชีวิตประจำวัน แต่รุ่นที่ใช้พลังงานไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวนั้นไม่ได้มีการนำเข้าหรือใช้งานภายในประเทศ เนื่องจากยังไม่มีความพร้อมและข้อมูลไม่เพียงพอต่อการตัดสินใจนโยบาย

สิ่งที่ต้องพิจารณาสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า คือ ระยะทางที่สามารถใช้งานได้ จากข้อมูลพบว่าภายในพื้นที่เก็บเชื้อเพลิงที่เท่ากัน Fuel Cell นั้น สามารถเดินทางได้น้อยกว่าเชื้อเพลิงน้ำมัน ซึ่งการเดินทางโดยเฉลี่ยของผู้ขับขี่นั้นอยู่ที่ไม่เกิน 160 กิโลเมตรต่อวัน เพื่อความรู้สึกปลอดภัยของผู้ขับขี่ยานยนต์ไฟฟ้า การประจุพลังงานไฟฟ้าจนเต็มหนึ่งครั้งควรที่จะเดินทางได้ 300 กิโลเมตรเป็นอย่างน้อย

การท�างานแบบองค์รวมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ

หนทางของยานยนต์ไฟฟ้าสำหรับประเทศไทยนั้น ถือว่าอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลนักเนื่องจากประเทศไทยนั้นมีศักยภาพเป็นทุนเดิม เพียงแต่ว่าการเปลี่ยนแปลงของสายการผลิตที่กำลังจะมาถึงต้องมีการเตรียมตัวและเตรียมพร้อมสำหรับความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อให้ประเทศไทยยังคงสถานะผู้นำในด้านการผลิตและประกอบชิ้นส่วนยานยนต์

EXECUTIVE SUMMARY

Dr. Yossapong Laornuan, President of Electric Vehicle Association of Thailand and instructors of Faculty of Engineering, King Mongkut’s University of Technology Thonburi (KMUTT) revealed his perspectives upon electric vehicles in Thailand that the hope of electric vehicle has brought back to life once gain by Tesla Phenomena that made the dream of using electric vehicle come through in various dimensions including design, driving distance and tangible price. For Thailand, Hybrid and Plug-in Hybrid system has started selling and using in regular basis, but the model using only electrical energy has not been importing or using within the country since the country was not ready and had not enough data for determining the policy

Modern Manufacturing on FacebookModern Manufacturing on Youtube
Modern Manufacturing
Web Admin
 
นำเสนอข่าวสารความรู้รอบด้านเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการผลิต เพื่ออุตสาหกรรมไทยก้าวหน้าด้วยวิทยาการสมัยใหม่และเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
READ MORE
×