Thursday, March 28Modern Manufacturing
×

พาชมการสาธิตลิฟท์สู่อวกาศครั้งแรกในอาเซียนกับงาน ME 2017

พาชมการสาธิตลิฟท์สู่อวกาศครั้งแรกในอาเซียนกับงาน ME 2017

หลายคนอาจเคยได้สัมผัสกับภาพยนต์แนว Sci-Fi ที่เหล่ามนุษย์เดินทางไปในห้วงอวกาศอันไกลโพ้น หรืออนิเมชันหุ่นยนต์สุดฮิตทั้งหลายจากประเทศญี่ปุ่น เช่น กันดั้ม ที่เหล่ามนุษย์เริ่มโยกย้ายไปตั้งรกรากในอวกาศ ซึ่งมีทั้งการเดินทางด้วยยานอวกาศแบบไปกลับ หรือแม้กระทั่งการใช้ลิฟท์ที่เชื่อมโยงพื้นโลกกับสถานีอวกาศเพื่อขนส่งมนุษย์และทรัพยากรต่างๆ ไปยังสถานีอวกาศ ซึ่งเมื่อก่อนนี้คงจะเป็นเพียงแค่ความฝันของเหล่านักวิทยาศาสตร์และผู้คนทั้งหลาย แต่ในวันนี้ความฝันดังกล่าวได้ขยับเข้ามาใกล้โลกแห่งความเป็นจริงไปอีกหนึ่งก้าวแล้วด้วยความร่วมมือกันของหน่วยงานต่างๆ ทั่วโลก 

พาชมการสาธิตลิฟท์สู่อวกาศครั้งแรกในอาเซียนกับงาน ME 2017

ในวันนี้ บริษัท รี้ด เทรดเด็กซ์ ร่วมกับสมาคม Japan Space Elevator Association (JSEA) จากประเทศญี่ปุ่นได้นำหุ่นยนต์จากโครงการพัฒนาลิฟท์สู่สถานีอวกาศ (Space Elevator) สาธิตการพัฒนาหุ่นยนต์เคลื่อนที่ต้านแรงโน้มถ่วงของโลก จากภาคพื้นสู่อากาศ สร้างสถิติสูงสุดครั้งแรกในอาเซียน ณ ยอดอาคารภิรัช ทาวเวอร์ ณ ไบเทค บางนา

พาชมการสาธิตลิฟท์สู่อวกาศครั้งแรกในอาเซียนกับงาน ME 2017

การเปิดตัวการสาธิตนี้มีการพูดคุยเกี่ยวกับทิศทางอุตสาหกรรมและผลลัพทธ์ของการพัฒนาลิฟท์สู่สถานีอวกาศในครั้งที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมหลายภาคส่วนของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และอากาศยาน ซึ่งได้รับเกียรติจากดร.ชิต เหล่าวัฒนา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการเตรียมการเศรษฐกิจดิจิทัลและกรรมการซุปเปอร์คลัสเตอร์อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ มร.ชูอีจิ โอโน่ ประธานสมาคม JSEA และนายดวงเด็ด ย้วยความดี รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท รี้ด เทรดเด็กซ์ จำกัด เป็นผู้ให้ความรู้ ความหวัง และวิสัยทัศน์แก่ผู้เข้าร่วมชมการสาธิตในครั้งนี้ MM Thailand ได้เก็บภาพความประทับใจในก้าวเล็กๆ ที่แสนสำคัญยิ่งของมนุษยชาติครับ

ตัวหุ่นยนต์นั้นถูกพัฒนาขึ้นมาโดยทีมพัฒนาชาวญี่ปุ่น ซึ่งได้พัฒนาภายใต้แนวคิดหลัก 3 แนวคิด ได้แก่

  1. การพัฒนาระบบ Sensing หรือระบบการรับรู้ของหุ่นยนต์ที่ทำให้สามารถตรวจจับแรงลม สภาพอากาศและปัจจัยต่างๆ ได้เป็นอย่างดี
  2. การพัฒนาระบบปัญญาอัจฉริยะที่ทำให้หุ่นยนต์สามารถประมวลผลจากข้อมูลสภาพแวดล้อมและปัจจัยต่างๆ เพื่อปรับใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์การทำงานเพื่อให้บรรลุได้ถึงเป้าหมาย
  3. การพัฒนาเรื่องระบบพลังงาน จะทำอย่างไรให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานหรือดึงแหล่งพลังงานภายนอกมาใช้ ซึ่งเป็นปัจจุยที่ต้องคำนึงถึงในอนาคตหากเกิดการขนส่งสินค้า ซึ่งจะเป็นการเพิ่มน้ำหนักบรรทุกและเพิ่มอัตราการใช้พลังงานอย่างมหาศาลเมื่อเทียบกับตัวต้นแบบในปัจจุบันซึ่งมีเพียงการบรรทุกน้ำหนักตัวเองเท่านั้น

พาชมการสาธิตลิฟท์สู่อวกาศครั้งแรกในอาเซียนกับงาน ME 2017

หนึ่งในหุ่นยนต์พระเอกของงานนี้

พาชมการสาธิตลิฟท์สู่อวกาศครั้งแรกในอาเซียนกับงาน ME 2017

อีกหนึ่งพระเอกประจำงาน

ลิฟท์อวกาศขณะกำลังไต่ขึ้นไปยังยอดตึก

การกลับมาสู่พื้นโลกอย่างปลอดภัย

เทคโนโลยีนี้ชี้ให้เห็นถึงการท้าทายขีดจำกัดของมนุษยชาติอีกครั้ง อันจะนำมาซึ่งการพัฒนาและขยายกำลังการผลิตอีกมากมายเพื่อตอบโ๗ทย์ความต้องการที่มากขึ้น เป็นผลจากขีดจำกัดของมนุษย์ที่ถูกขยายออกไป ก่อให้เกิดความเป็นไปได้อีกมากมายทั้งในทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม รวมถึงโลจิสติกส์ ซึ่งลิฟท์อวกาศนี้สามารถตอบโจทย์และจุดประกายความหวังสู่ยุคอวกาศของเหล่ามนุษยชาติได้อย่างน่าสนใจในเชิงพาณิชย์ และอาจกลายมาเป็นการแข่งขันใหม่ในตลาดเศรษฐกิจของโลกในอนาคตก็เป็นได้ ดังนั้นการเตรียมพร้อมบุคคลากรและนักลงทุนในด้านที่เกี่ยวข้องจึงนับเป็นเรื่องที่น่าสนใจหากสามารถก้าวเข้าไปในตลาดใหม่ที่กำลังเริ่มเจิดจ้านี้ได้ก่อน หากสนใจรับชมการสาธิตตัวอย่างสามารถเข้าชมได้ที่งาน Manufacturing Expo ระหว่างวันที่ 21 – 24 มิถุนายนนี้ ณ ไบเทค บางนา โดยจัดแสดงวันละสองรอบ เวลา 11.30 น. และ 15.30 น.

และหากสนใจรับฟังการเสวนาเปิดงานสาธิตลิฟท์อวกาศสามารถย้อนชมได้ที่นี่ครับ

Space Elevator Demonstration First Time in Asean

โพสต์โดย MM Modern Manufacturing เมื่อ วันอาทิตย์ที่ 18 มิถุนายน 2017

ก่อนจากลากันไปในวันนี้ขอทิ้งท้ายไว้ด้วยภาพจากอนิเมชันญี่ปุ่นที่มีตัวอย่างการใช้ลิฟท์อวกาศซึ่งเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนและน่าสนใจตัวอย่างหนึ่ง

พาชมการสาธิตลิฟท์สู่อวกาศครั้งแรกในอาเซียนกับงาน ME 2017
ลิฟท์อวกาศจากอนิเมชัน Gundam: Reconguista in G อนาคตที่อยู่ไม่ไกลอีกต่อไป

Thos
"Judge a man by his questions rather than his answers"
Voltaire
READ MORE
×