Thursday, March 28Modern Manufacturing
×

กนอ.จับมือพันธมิตรเปิดเวที ECO INNOVATION FORUM 2019

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับ สถาบันน้ำและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) จัดงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2562 “Eco Innovation Forum 2019” ภายใต้แนวคิด Circular Economy: Way to Smart and Sustainable Eco Industrial Town

กนอ.จับมือพันธมิตรเปิดเวที ECO INNOVATION FORUM 2019

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศภายใต้หลักการของเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เน้นการใช้ทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อสอดรับกับการขยายตัวของประชากรโลกในอัตราที่สูงขึ้น ภายในงานจะมีการสัมมนาให้ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ทั้งจากภาครัฐ ผู้ประกอบการ และสถาบัน การศึกษา พร้อมพิธีมอบโล่เกียรติยศและใบประกาศเกียรติคุณให้กับสถานประกอบการในประเภทต่างๆ ณ ห้องมิราเคิลแกรนด์บอลรูม ชั้น 4 โรงแรม มิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ

กนอ.จับมือพันธมิตรเปิดเวที ECO INNOVATION FORUM 2019

นายธีระยุทธ วานิชชัง ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวภายหลังเป็นประธาน เปิดงานว่า กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ดำเนินงานอย่างใกล้ชิดกับภาคอุตสาหกรรม มีเป้าหมายที่ชัดเจนที่จะยกระดับกลุ่ม OTOP, SME, อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ อุตสาหกรรมในอนาคตและทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับภาคอุตสาหกรรม พัฒนาภายใต้โมเดลเศรษฐกิจใหม่ของไทยที่มุ่งสู่ BCG Model โดย B คือ Bio Economy หรือเศรษฐกิจชีวภาพ, C (Circular Economy) หรือ เศรษฐกิจหมุนเวียน และ G (Green Economy) หรือเศรษฐกิจสีเขียว ในการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนและอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ

กระทรวงอุตสาหกรรมและสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้มีการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการพัฒนาอุตสาหกรรมภายใต้นโยบาย Factory 4.0 เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2561 เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาภาคธุรกิจอุตสาหกรรมไทยให้เติบโตอย่างมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน ผลักดันให้เกิดการปรับเปลี่ยนภาคอุตสาหกรรมไทยตามแนวคิด Thailand 4.0 ภายใต้นโยบาย “Factory 4.0” ภายใต้ “BLISS” Project ประกอบด้วย

การสร้างแรงบันดาลใจในการนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนไปขับเคลื่อนและขยายผลตลอดห่วงโซ่คุณค่า การสร้างมูลค่าเพิ่มจากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ผ่านการเรียนรู้และลงมือปฏิบัติจริง มุ่งเน้นการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้เอื้อต่อการนำผลิตภัณฑ์ไปรีไซเคิล ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการผลิตที่ใช้นวัตกรรมในการลดใช้ทรัพยากร วัตถุดิบ พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ในส่วนของการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ซึ่งกระทรวงเป็นหน่วยงานหลัก กนอ.มีแผนงานให้นิคมอุตสาหกรรมที่เปิดดำเนินการแล้วได้รับการรับรองเป็นระดับ Eco-Championเพื่อจะยกระดับ Eco-Excellence และ Eco-World Class รวมถึงต่อยอดการพัฒนาเป็นนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ 4.0

นางสาวสมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เป็นหน่วยงานแรกของประเทศไทยที่ริเริ่มการนำแนวคิดเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศมาพัฒนาจนเป็นรูปธรรม สิ่งหนึ่งที่ท้าทายความสามารถของ กนอ. คือการสร้างสมดุลของการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพราะ กนอ. ให้ความสำคัญต่อคุณภาพชีวิตชุมชน และคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นลำดับต้นควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยพยายามนำเรื่องการเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy มาสนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ และปัจจุบัน กนอ. ได้นำแนวคิดอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมร่วมกับการนำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ ขับเคลื่อนเพื่อปฏิรูปการดำเนินงานบนหลักการอุตสาหกรรม 4.0 เพื่อเข้าสู่การเป็น Smart Eco 4.0 อันจะช่วยอำนวยความสะดวก และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการนิคมอุตสาหกรรมให้อยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวเสริมว่า ส.อ.ท. ให้ความสำคัญการสร้างสมดุลทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถอยู่ร่วมกับชุมชน สังคมอย่างยั่งยืน โดยได้นำแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ การพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy มาใช้ในการกำหนดนโยบายและทิศทางการดำเนินงานของ ส.อ.ท. ในการส่งเสริมความร่วมมือ และพัฒนาให้ผู้ประกอบการมีความรู้ด้านการบริหารจัดการน้ำและสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม ควบคู่กับการดำเนินธุรกิจด้วยธรรมาภิบาลและมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งการดำเนินงานภายใต้กรอบแนวคิด Circular Economy ได้แก่ การส่งเสริมการผลิตสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้โรงงานอุตสาหกรรมปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตให้เป็นโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Factory)

พร้อมผลักดันให้เกิดการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Town) ภายใต้หลักการ Circular Economy อย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่ “smart city : บ้านฉางโมเดล” การพัฒนาเมืองใหม่เชิงนิเวศ จังหวัดระยอง เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมอนาคตพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยมีเป้าหมายหลักของการพัฒนาเมืองแห่งนวัตกรรม และเพื่อการยกระดับอุตสาหกรรมให้มีการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสังคม นำไปสู่การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศที่ถูกกำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

Kanokkarn .T
READ MORE
×