Wednesday, April 24Modern Manufacturing
×

จับตานโยบาย 4.0 จาก 7 ประเทศยุโรป

เพราะอุตสาหกรรม 4.0 ไม่ใช่เทรนด์ แต่เป็นแนวทางการผลิตและงานอุตสากรรมสมัยใหม่ที่ขจัดปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ปัญหา การบริหารจัดการที่สะดวกรวดเร็ว ลดปัญหาคอขวดและปัญหาที่มองไม่เห็นได้ สร้างความโปร่งใสให้การทำงาน ทำให้นวัตกรรมหรือเทคโนโลยี 4.0 สำหรับการผลิตกลายเป็นประเด็นสำคัญสำหรับทุกประเทศ ซึ่งรายงานล่าสุดจากเอกสาร 4.0 Sight จะเปิดเผยถึงนโยบายอุตสาหกรรม 4.0 ที่น่าสนใจจาก 7 ประเทศในสหภาพยุโรป

จับตานโยบาย 4.0 จาก 7 ประเทศยุโรป

จับตานโยบาย 4.0 จาก 7 ประเทศยุโรป

จากข้อมูลรายงานว่าผู้ผลิตมากกว่า 70% ในยุโรปให้ความสนใจในเทคโนโลยีการผลิตที่สามารถอัพเกรดกระบวนการทำงานได้ ซึ่งเป็นกรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกเช่นกัน ไม่ว่าจะจีนที่มีนโยบายสนับสนุนเทคโนโลยีการผลิต หรือนโยบาย Smart City ของสิงคโปร์ รวมถึงประเทศไทยที่ยกระดับพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออกสู่นโยบาย EEC ที่มีการสนับสนุนการลงทุนทั้งงานวิจัยและพัฒนา เทคโนโลยีการผลิต อุตสาหกรรมดิจิทัล รวมถึงการส่งเสริมด้านความรู้อีกมากมาย ตอกย้ำความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากผลกระทบของอุตสาหกรรม 4.0 ได้อย่างชัดเจน ซึ่งประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปได้มีการตื่นตัวและปรับปรุงนโยบายที่เกี่ยวข้องซึ่งแน่นอนว่าเยอรมนีเจ้าแห่งความคิด 4.0 นั้นต่างเป็นที่ประจักษ์และรู้จักแนวทางดำเนินการกันเป็นอย่างดี สำหรับนโยบายด้านอุตสาหกรรม 4.0 ในกลุ่มประเทศยุโรปที่น่าสนใจจาก 4.0 Sight นั้นพบว่ามีการนำเสนอข้อมูลนโยบาย 7 ประเทศ โดยมีรายละเอียดดังนี้

MADE Different, Belgium

เบลเยียมนั้นถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 8 ของ Digital Economy and Society Index (DESI) ตั้งเป้าเปลี่ยนแปลงบริษัทอุตสาหกรรมสู่รูปแบบโรงงานอัจฉริยะผ่านการจัดอีเวนท์ต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นการรับรู้และสร้างการเปลี่ยนแปลงซึ่งไม่ใช่การกระจายงบลงมาจากเบื้องบนเหมือนเยอรมนี บริษัทที่สนใจสามารถตอบแบบสอบถามความต้องการผ่าน App ออนไลน์ ซึ่งโครงการนี้สามารถผลักดัน SMEs ซึ่งเป็นภาคส่วนที่ต้องการความช่วยเหลือมากที่สุดได้กว่า 98% ทำให้เห็นว่านอกเหนือจากเงินทุนแล้วแรงส่งที่ดีสามารถผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้เช่นกัน

จุดเด่น:

  1. มอบรางวัล Factory of the Future (FoF) Award เพิ่มความน่าสนใจให้กับการลงทุน
  2. SMEs ได้รับการสนับสนุนจากล่างขึ้นบนและได้รับการแนะนำสนับสนุนตามความต้องการเฉพาะแต่ละบริษัท
  3. ปัจจุบันบริษัทกว่า 265 แห่งได้รับผลประโยชน์จากโครงการและ 16 แห่งได้รับการรับรองจากรางวัล FoF

ข้อสังเกต:

  1. ไม่มีเงินทุนสนับสนุนหลักจากภาครัฐ
  2. บริษัทเป็นผู้แบกรับต้นทุนของการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลทั้งหมด

MADE, Denmark

MADE ย่อมาจาก Manufacturing Academy of Denmark ซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่างเหล่าบริษัทอุตสาหกรรมการผลิตสัญชาติเดนิช ห้ามหาวิทยาลัยในประเทศ และสามองค์กรวิจัยเทคโนโลยี (RTOs) ตั้งเป้าเพื่อเพิ่มพูนความรู้ด้านนวัตกรรมอุตสาหกรรมการผลิตรวมถึงเทคนิคเพื่อสร้างศักยภาพการแข่งขันของประเทศ เป็นการผลักดันจากด้านล่างสู่ด้านบนซึ่งแตกต่างจากเบลเยียมตรงที่มีงบสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชน ความน่าสนใจของเดนมาร์ก คือ การสนับสนุนตั้งแต่ความรู้พื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็ฯการพาชมห้องแล็ป จัดอบรมสัมนาซึ่งผู็เข้าร่วมสามารถสัมผัสกับการปรับแต่งผลิตภัณฑ์ได้เต็มรูปแบบ หุ่นยนต์ที่มีการยืดหยุ่นในรูปแบบการใช้งานเป็นพิเศษ เครื่องพิมพ์ 3 มิติ รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูล

จุดเด่น:

  1. เดนมาร์กอยู่ในลำดับที่ 1 ของ DESI
  2. ประเทศมีความเชี่ยวชาญในการกระจายความรู้ การพาชมแล็ป การจัดอบรม เวิร์คชอปต่าง ๆ
  3. ปัจจุบันมีกิจกรรมด้านนวัตกรรม 34 กิจกรรม 44 โครงการอุตสาหกรรม และ 15 โครงการคลัสเตอร์สำหรับ SMEs

ข้อสังเกต:

  1. เดนมาร์กต้องเผชิญหน้าจากแรงงานต่างประเทศเนื่องจากรายได้ภายในประเทศที่สูง
  2. รูปแบบแพลทฟอร์มควรเป็นการสนับสนุนเงินทุนในระยะยาวมากกว่าพึ่งพาเพียงโครงการที่ได้รับการรับรองแล้วเท่านั้น

Industrie du Futur, France

France’s Industry of the Future Alliance (IdFA) ได้วางนโยบายบนเสาหลักห้าประการ ได้แก่ เทคโนโลยีล้ำสมัย (Cutting Edge Technologies) การเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ (Business Transformation) การฝึกฝน (Training) ความร่วมมือระดับนานาชาติ (International Cooperation) และนโยบายสนับสนุน (Promotion) ฝรั่งเศสนั้นมีศักยภาพที่ดีในการกระจายเทคโฯโลยีดีจิทัลครอบคลุมทั่วประเทศโดยได้รับความร่วมมือจาก McKinsy  โดยรัฐบาลฝรั่งเศสตั้งเป้าพัฒนาในพื้นที่อุตสาหกรรมภายใต้แนวคิดนวัตกรรมล้ำยุค ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งเดินทาง IoT ยารักษาโรค ความปลอดภัยและความยั่งยืน โดยแต่ละโครงการจะมีระยะเวลาและเป้าหมายแยกเฉพาะ ความท้าทายหลักของ Digitalization ในฝรั่งเศษ คือ การกระจายเงินลงทุนในแต่ละภาคส่วนอย่างเหมาะสมในระดับพื้นฐาน และการขาดแคลนแรงงานทักษะเฉพาะรวมถึงทักษะด้านดิจิทัล

จุดเด่น:

  1. 3,400 บริษัทยืนยันเข้าร่วมในการปรับปรุงสายการผลิตให้ทันสมัย
  2. มีผู้เชีย่วชาญกว่า 300 รายจาก 18 ภูมิภาคทั่วประเทศ
  3. ให้เงินกู้ยืมกับบริษัทกว่า 800 แห่ง

ข้อสังเกต:

  1. มีการกระจายเงินทุนที่ไม่เท่าเทียมกันในระดับพื้นฐาน
  2. ช่องว่างระหว่างทักษะที่อุตสาหกรรมต้องการและคุณสมบัติที่เหมาะสม

Industria 4.0, Italy

โครงการของอิตาลีนั้นยังคงเป็นเหมือนภาพฝันเนื่องจากเพิ่งเริ่มเปิดตัวในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2017 เริ่มต้นโครงการด้วยการพัฒนาคุณภาพเครือข่ายอินเตอร์เน็ทซึ่งเป็นพื้นฐานของ IoT เพื่อดึงดูดการลงทุนจากทางภาคเอกชน โดยมีหัวใจหลักของโครงการ คือ ช่วยให้บริษัทปรับตัวเข้าสู่ยุคการทำงานดิจิทัลได้และพัฒนาทักษะผ่านฮับนวัตกรรมดิจิทัล (Digital Innovation Hub)

จุดเด่น:

  1. คาดการณ์ภาคเอกชนลงทุนเพิ่มกว่า 1 หมื่นล้านยูโรในปี 2017/2018
  2. คาดว่านักศึกษา 2 แสนคนและผู้จัดการ 3 พันคนจะถูกพัฒนาให้มีความพร้อมสำหรับอุตสาหกรรม 4.0

ข้อสังเกต:

  1. เนื่องจากเป็นโครงการที่ใหม่มาก ทำให้ยังคงต้องจับตามองและพัฒนาทิศทางของโครงการให้มีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น
  2. การพัฒนาเกิดขึ้นจากแนวนโยบายด้านบนลงล่าง ทำให้ปัจจัยขึ้นอยู่กับดอกเบี้ยและการซื้อสินค้าอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่ม SMEs

Smart Industry, Netherlands

รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ได้ให้คำจำกัดความ Smart Industry ไว้ดังนี้ “Smart Industry คือ อุตสาหกรรมที่มีความสามารถการผลิตมีความยืดหยุ่นการปรับตัวสูง ในแง่มุมของความต้องการตลาด ปริมาณ ระยะเวลา การใช้ทรัพยากรและต้นทุนอย่างคุ้มค่า สามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างยอดเยี่ยมตามความต้องการของลูกค้า โดยสามารถใช้ซัพพลายเชนทั้งหมดสร้างคุณค่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถทำได้โดยการให้ความสำคัญกับระบบเครือข่ายที่เป็นหัวใจ ใช้ประโยชน์จากข้อมูล ขับเคลื่อนด้วย ICT รวมถึงเทคนิคทางด้านอุตสาหกรรมล่าสุดที่เชื่อถือได้ว่ามีศักยภาพอย่างแท้จริง” โดย VDL NedCar หนึ่งในบริษัทที่ได้รับประโยชน์จาก Smart Industry ที่ได้พัฒนาแนวคิด Warehouse-on-Wheels หรือคลังสินค้าเคลื่อนที่ นำชิ้นส่วนยานยนต์ที่ประกอบแล้วเก็บไว้บนรถเทรลเลอร์ลดปัญหาคอขวดที่เกิดขึ้นกับชิ้นส่วนยานยนต์ เพื่อให้แนวคิดนี้เกิดขึ้นได้จริงบริษัทต้องใช้ซอฟท์แวร์ที่สามารถทำงานควบคู่กับส่วนประกอบของระบบได้เป็นอย่างดีเพื่อสร้างความโปร่งใสของลำดับและสิ่งที่เกิดขึ้นตลอดซัพพลายเชน ทำให้ตอบสนองต่อคำสั่งและความต้องการของลูกค้าได้อย่างเหมาะสม โรงงานและซัพพลายเออร์ไม่ต้องพึ่งพาการคาดการณ์เช่นเคย ซัพพลายเออร์และโรงงานจะเชื่อมต่อและทำงานควบคู่ประสานกัน

จุดเด่น:

  1. รัฐบาลสนับสนุนแล็ปภาคสนามด้วยงบประมาณ 4 ล้านยูโร
  2. งบประมาณ 25 ล้านยูโรปี 2014 – 2017
  3. อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัย พันธมิตรด้านการวิจัยและภาคสาธารณะมีส่วนร่วมในโครงการเป็นอย่างดี

ข้อสังเกต:

  1. เงินทุนของโครงการค่อนข้างน้อย การลงทุนระยะยาวจำเป็นต้องเพิ่มเม็ดเงิน
  2. ควรให้ความสำคัญกับนวัตกรรมที่กำลังดำเนินการอยู่มากขึ้น

Indústria 4.0, Portugal

Indústria 4.0 ของโปรตุเกสนั้นแตกต่างจากชาติอื่นในยุโรป 2 ประการหลัก ได้แก่ การพุ่งเป้าความสำคัญไปยัง SMEs และในขณะที่ประเทศอื่นให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่อย่างรวดเร็ว Indústria 4.0 กลับให้ความสำคัญอย่างมากกับการเพิ่มพูนทักษะทรัพยากรมนุษย์ ทำให้แรงงานนั้นมีศักยภาพรองรับกับเทคโนโลยีใหม่ที่เกิดขึ้นเริ่มตั้งแต่การปรับหลักสูตรให้เหมาะกับตวามต้องการในอนาคต เพิ่มทักษะด้านดิจิทัลเข้าไปในโครงสร้างหลักสูตรรวมถึงการสนับสนุนการฝึกอบรมทักษะแรงงานอย่างต่อเนื่อง โดยภาครัฐตั้งเป้าพัฒนาแรงงานที่มีทักษะ ICT 2 หมื่นคนภายในปี 2020

จุดเด่น:

  1. การพัฒนาเริ่มต้นจากรากฐานโดยให้ความสำคัญกับความต้องการของบริษัทในโปรตุเกสในแบบของช่างตัดเสื้อที่สร้างความเหมาะสมให้กับแต่ละธุรกิจ
  2. SMEs สามารถรับ Voucher สำหรับการสนับสนุนการทำงานด้าน Digitalization มูลค่า 7,500 ยูโร

ข้อสังเกต:

  1. ต้องมีกลไกที่ดียิ่งขึ้นในการสร้างเงินให้กับภาคเอกชน
  2. แก้ไขความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในประเด็นความกลัวของสังคมในการถูกเลิกจ้างจากผลกระทบของ Digitalization

Industria Conectada 4.0, Spain

ปัญหาใหญ่ที่สุดของสเปนในการก้าวเข้าสู่นโยบาย Industria Conectada 4.0 คือ การตื่นตัวและการรับรู้เกี่ยวกับ Digitalization ซึ่งการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากขาดความสนใจและเห็นคุณค่าที่มาจาการเปลี่ยนแปลง การลอกเลียนกิจกรรมหรือนโยบายจากประเทศเพื่อนบ้านแทบไม่สร้างความแตกต่างในประเด็นนี้ เพื่อให้เกิดความสำเร็จขึ้น ภาครัฐจึงได้ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคสาธารณะและภาคเอกชน โดยจัดตั้งกลุ่มกลยุทธ์ของภาคเอกชนซึ่งประกอบด้วยธนาคาร Santander ที่ให้ความรู้ด้านการเงินดิจิทัล Telefonica ในฐานะพันธมิตรด้านการสื่อสารและ Indra ในฐานะที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยี โครงการนี้ถือเป็นอีกหนึ่งโครงการที่เริ่มขึ้นไม่นานทำให้ต้องใช้เวลาในการเติบโตและค้นหาทิศทางที่เหมาะสม รวมถึงการสร้างการตระหนักรู้ที่จำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน

จุดเด่น:

  1. มีการสนับสนุน SMEs และธุรกิจขนาดไมโคร (Microbusiness) อย่างเข้มแข็ง
  2. มีโครงการสำหรับวิจัยและนวัตกรรมเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2016
  3. สนับสุนเงินกู้โดยตรง 68 ล้านยูโรและ 10 ล้านยูโรสำหรับคลัสเตอร์นวัตกรรม

ข้อสังเกต:

  1. การตื่นตัวด้าน Digitalization ยังคงเป็นปัญหาสำคัญ
  2. ภาคเอกชนสามารถต้องความร่วมมือที่ดีกว่าสถานการณ์ในปัจจุบัน

จะเห็นได้ว่าแม้แต่ในกลุ่มประเทศจากสหภาพยุโรปเองก็มีความหลากหลายทางด้านความพร้อมต่ออุตสาหกรรม 4.0 ที่แตกต่างกันอย่างมากตั้งแต่การไร้ซึ่งการตื่นตัวต่อ Digitalization ไปจนถึงการวางแผนดำเนินแนวทาง 4.0 จากภาคเอกชน โดยนโยบายแต่ละประเทศจะมีจุดเด่นและข้อสังเกตที่ต้องพิจารณา หนึ่งในแนวทางนโยบายที่น่าสนใจจากหลายประเทศ คือ การพัฒนาและสนับสนุนจากรากฐานขึ้นสู่โครงสร้างด้านบนหรือจากระดับรากหญ้าสู่หน่วยงานขนาดใหญ่ รวมถึงการให้ความสำคัญกับ SMEs ซึ่งเป็นผู้ประกอบการส่วนมากของประเทศซึ่งเป็ฯกลุ่มที่ต้องการการสนับสนุนมากกว่ากลุ่มทุนขนาดใหญ่ โดยการสนับสนุน SMEs นั้นจะทำให้ประเทศสามารถเกิดการขับเคลื่อนและเปลี่ยนแปลงได้อย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน

ที่มา:

เอกสาร 4.0 Sight

Thos
"Judge a man by his questions rather than his answers"
Voltaire
READ MORE
×