Saturday, April 20Modern Manufacturing
×

บรรจุภัณฑ์ไทย… ในยุค SMART PACKAGING

ภายในงาน FTPI Conference 2016 ‘Bright Future for Printing and Packaging 4.0’ ซึ่งจัดโดยสหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย ได้มีการพูดกันถึงทิศทางและความอยู่รอดของบรรจุภัณฑ์ภายใต้นโยบาย Thailand 4.0 จากนักวิชาการและผู้ประกอบการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคส่วนอุตสาหกรรมอาหารและยาซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์อย่างใกล้ชิด ชี้ให้เห็นความเป็นไปได้และการยืนหยัดท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของผู้ประกอบการบรรจุภัณฑ์ อันเต็มไปด้วยแง่คิด และมุมองคุณภาพ ที่จำเป็นต้องใคร่ครวญ

บรรจุภัณฑ์ไทย… ในยุค SMART PACKAGING

บรรจุภัณฑ์ไทย… ในยุค SMART PACKAGING

บรรจุภัณฑ์ไทย 4.0 จากมุมมองสถาบันไทย-เยอรมัน

ผ.อ.สมหวัง บุญรักษ์เจริญ ผู้อำนวยการสถาบันไทย-เยอรมัน มองว่าบรรจุภัณฑ์เป็นส่วนที่สำคัญในการแข่งขันของสินค้า ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบและมาตรฐานความสะอาด ซึ่งการดำเนินกิจการเหล่านี้ต้องดำเนินไปควบคู่กับโครงการ Thailand 4.0 ซึ่งจะเป็นตัวผลักดันประเทศให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างยั่งยืน

ผ.อ.สมหวัง กล่าวว่า “ความก้าวหน้าและพัฒนาการของเศรษฐกิจไทยนั้นเป็นผลมาจากความแข็งแรงของภาคเอกชนที่มีอยู่ ซึ่งประเทศไทยกำลังมุ่งหน้าไปยังยุคแห่ง Smart ไม่ว่าจะเป็น Smart Technology, Smart Manufacturing, Smart City และที่สำคัญที่สุด คือ Smart People ซึ่งเป็นส่วนจำเป็นที่จะขาดเสียไม่ได้ ในส่วนของ Packaging ก็ได้เกิด Smart Packaging ขึ้นเช่นกัน ได้แก่ Active Packaging Interactive Packaging และ Intelligent Packaging ซึ่งสามารถตอบสนองต่อการใช้งานได้อย่างหลากหลายและครอบคลุมมากขึ้น”

“Packaging 4.0 คือ การเปลี่ยนจากการผลิตแบบ Mass ไปเป็น Mass Customize ซึ่งอาจไม่ได้ผลิตจำนวนมากมายเท่าเดิมแต่สามารถปรับเปลี่ยนรายละเอียดได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้นตามความต้องการ ซึ่งเครื่องจักรสามารถรายงานสถานะการทำงาน รวมถึงการใช้ Preventive และ Predictive Maintenance ได้” ผ.อ.สมหวัง บุญรักษ์เจริญ

ผ.อ.สมหวัง ได้กล่าวถึงความสามารถที่จำเป็นต่อยุคสมัย 4.0 โดยแบ่งความต้องการออกเป็น 2 ช่วงได้แก่ ช่วงปี 2020 และ ช่วงปี 2015 เพื่อชี้ให้เห็นสถานการณ์และทิศทางความต้องการสำหรับความสามารถแรงงาน ดังนี้

 2015  2020
  1.  ความสามารถในการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน
  2. การทำงานร่วมกับคนอื่น
  3. ความสามารถในการจัดการบุคคลากร
  4. การคิดเชิงวิพากษ์
  5. การเจรจาต่อรอง
  6. การควบคุมคุณภาพ
  7. จัดเสนอการบริการที่ตรงกับความต้องการ
  8. การตัดสินใจและความเฉียบขาด
  9. การเป็นผู้ฟังที่ดี
  10. ความคิดสร้างสรรค์
  1. การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน
  2. ความคิดเชิงวิพากษ์
  3. ความคิดสร้างสรรค์
  4. การจัดการบุคลากร
  5. การทำงานร่วมกับผู้อื่น
  6. ความฉลาดทางอารมณ์
  7. การตัดสินใจที่เฉียบขาด
  8. การให้บริการได้ตรงความต้องการ
  9. การเจรจาต่อรอง
  10. ความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสภาวะเงื่อนไขที่ไม่เคยเจอ

ในการผลักดันและพัฒนาการบุคลากรที่ทำงานในระบบ 4.0 จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ กระทรวงแรงงาน เพื่อพัฒนาศักยภาพแรงงานให้เกิดและก้าวไปสู่ยุคบรรจุภัณฑ์ 4.0 ได้

แผนภาพแสดงกลุ่มความสามารถที่จำเป็นของยุค 4.0

มุมมองจากวงเสวนา ‘สิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์กับโอกาสที่ท้าทายในยุค 4.0’ 

นอกจาก ผ.อ.สมหวัง ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมแล้ว ยังมีผู้ประกอบกิจการที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์โดยตรงมาพูดคุยแบ่งปันแนวคิดและประสบการณ์ภายในวงสัมนาภายใต้หัวข้อ สิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์กับโอกาสที่ท้าทายในยุค 4.0 โดยผู้เชี่ยวชาญและนักประกอบการได้แสดงความคิดเห็นเอาไว้ดังนี้

คุณเกรียงไกร เธียรนุกุล
รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

“นโยบาย Thailand 4.0 ถือเป็นการผลักดันประเทศผ่านนวัตกรรมเพื่อก้าวเข้าสู่กลุ่มประเทศผู้มีรายได้ระดับสูง ซึ่งสำหรับบรรจุภัณฑ์แล้วกลุ่มเป้าหมายที่มีศักยภาพ คือ กลุ่มอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มอาหารเพื่อสุขภาพ เนื่องจากเป็นกระแสตลาดที่กำลังมา ควรให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ ควรดำเนินการควบคู่ไปกับการพัฒนาบุคลากรเพื่อให้ก้าวทันต่อยุค 4.0 ที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาผสมผสานการทำงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการขาย การเข้าถึงสินค้าและตรวจสอบข้อมูลได้อย่างสะดวกสบาย”

อาจารย์มานิตย์ กมลสุวรรณ
รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทคอนติเนนตัลบรรจุภัณฑ์ฯ

“ประเทศไทยถือว่าขาดแคลนนวัตกรรมสำหรับบรรจุภัณฑ์ ส่วนหนึ่งเพราะผู้ประกอบการยังขาดความรู้ซึ่งไม่สามารถตอบโทย์ลูกค้าได้อย่างเหมาะสม ยึดเอาคุณภาพและความปลอดภัยเป็นที่ตั้ง จำเป็นต้องมีการบูรณาการความรู้ โดยเริ่มที่การลงทุนซื้อเทคโนโลยีเพื่อใช้งาน และแรงานต้องมีความรู้ความเข้าใจในขั้นตอนพื้นฐานอย่างแท้จริง ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถต่อยอดได้หากเกิดความต้องการแปลกใหม่จากลูกค้า และจำเป็นต้องใช้เครื่องจักรราคาแพงขอแค่ใช้ประโยชน์ได้ตามเป้าหมายเป็นหลัก”

อาจารย์มยุรี ภาคลำเจียก
ที่ปรึกษาสมาคมบรรจุภัณฑ์ไทย

“บรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารเป็นเรื่องซับซ้อนจำเป็นต้องได้รับความใส่ใจเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง SME ซึ่งหลายครั้งพบว่าขาดความเข้าใจ คำนึงถึงเฉพาะรายได้ เน้นของถูก แต่ขาดคุณภาพทำให้เกิดการใช้งานที่ไม่ถูกต้องขาดความปลอดภัย นอกจากนี้การออกแบบการใช้งานยังขาดการคำนึงถึง Universal Design (UD) ซึ่งเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ เช่น UD สำหรับผู้สูงอายุที่มองเห็นชัด ไม่ต้องออกแรงมากในการใช้งาน รวมถึง Active Packaging และ Interactive Packaging ที่จะเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น เป็นผลให้เกิดการตอบสนองระหว่างบรรจุภัณฑ์และผู้ใช้”

คุณประสิทธิ์ คล่องงูเหลือม
กรรมการผู้จัดการบริษัท Fusion Technology

“ทำความรู้จักอุตสาหกรรมตัวเองเสียก่อนว่าอยู่นระดับไหนของ 1 – 4 เพื่อออกแบบและวางแผนการทำงานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม SME จะต้องใช้ ICT หรือ IoT เข้ามาช่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำธุรกิจในรูปแบบ Startup ซึ่งต้องมีการทำงานและรูปแบบที่ทันสมัย เช่น Interactive Packaging จะต้องทำ Innovation Service เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพบรรจุภัณฑ์ที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพตามกลุ่มเป้าหมาย หลายคนอาจมองว่ามันเป็นวิกฤติการ 4.0 แต่ผมมองว่าแท้จริงแล้วมันเป็นโอกาสที่สามารถฉกฉวยได้เสียมากกว่า”

คุณวรรณา สุทัศน์ ณ อยุธยา
Chief Packaging Specialist บริษัท SCG Packaging

ปรากฏการณ์ปลาใหญ่กินปลาเล็กจะไม่เป็นความจริงเสมอไป ด้วยอิทธิพลของ Startup ที่ส่งผลให้ปลาเล็กมีความปราดเปรียวคล่องตัวฉกฉวยโอกาสทางธุรกิจได้มากกว่า ซึ่งทรัพยากรบุคคลจะเป็นตัวแปรสำคัญในการสร้างและผลักดันสิ่งเหล่านี้อยู่เช่นเคยแม้จะเป็นยุค 4.0 ที่มีการใช้ระบบออโตเมชันกันอย่างแพร่หลาย สำหรับทาง SCG เองเพื่อที่จะก้าวสู่ตลาดโลกจึงได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรรวมถึงการทำงาน R&D และหากต้องดำเนินการในขอบเขตที่ไม่สันทัดนั้น SCG จะหาหน่วยงานอื่นร่วมกันดำเนินการต่อไป การร่วมมือกันทำงานจะเป็นเทรนด์ใหม่สำหรับการดำเนินธุรกิจ”

EXECUTIVE SUMMARY

Thus, Thailand has been driven into Industry 4.0 through Thailand 4.0 policy which focus on smart operation whether manufacturing process, logistics and etc. It looks like technology are becoming more important than anything else but in fact, human resource is still the most important factor as it used to be. The quality of operator is the most essential factor while the entrepreneurs must adapt themselves with this advance technology ages. They must choose to invest in essential matter such as skill development, machinery and technology. Besides, the manufacturers must be reconsidering in ‘What does matter for packaging?’ The entrepreneurs should focus on food safety as the 1st issue while decoration or beauty design are considering later.

Modern Manufacturing on FacebookModern Manufacturing on Youtube
Modern Manufacturing
Web Admin
 
นำเสนอข่าวสารความรู้รอบด้านเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการผลิต เพื่ออุตสาหกรรมไทยก้าวหน้าด้วยวิทยาการสมัยใหม่และเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
READ MORE
×