Thursday, March 28Modern Manufacturing
×

การพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรมให้เป็น 4.0… ไม่ใช่เรื่องไกลตัว โรงงานทุกขนาดทำได้ ถ้าเข้าถึงหัวใจสำคัญ

บทความหลัก… ว่ากันด้วย 3 เรื่องจริง ของ INDUSTRY 4.0

การพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรมให้เป็น 4.0 ไม่ใช่เรื่องไกลตัว

ตามแนวคิดของ อ.วรินทร์ นั้น เรื่องของ Industry 4.0 ไม่ใช่สิ่งที่อยู่ไกลตัวจนถึงขั้นเกิดความรู้สึกว่ามันยากต่อการปรับตัวเพื่อการเปลี่ยนแปลง เพราะเพียงแค่ผู้ประกอบการลองปรับ Mind Set บางอย่างของตัวเองก่อนว่าจะมีวิธีคิดและประยุกต์อย่างไรให้อุตสาหกรรมของตัวเองน่าสนใจเท่านี้ 4.0 ก็อยู่แค่เอื้อม

การพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรมให้เป็น 4.0… ไม่ใช่เรื่องไกลตัว โรงงานทุกขนาดทำได้ ถ้าเข้าถึงหัวใจสำคัญ

turn-into-industrial-plant-4.0

“การเป็น Industry 4.0 นั้นผู้ประกอบการส่วนใหญ่มักคิดว่าเป็นเรื่องที่ต้องก้าวไปทีละขั้น ต้องผ่านการทำ Automation (3.0) ให้สมบูรณ์แบบก่อนถึงจะเริ่ม 4.0 ได้ ทั้งที่ความจริงแล้วหากคุณไปอยู่ในจุดของ 4.0 จะรู้เลยว่าขั้นบันไดที่ก้าวมาทีละขั้นนั้นไม่จำเป็นเลย 4.0 อยู่ใกล้คุณนิดเดียว เพียงแต่คุณทำสิ่งที่เป็น Physical ในสารบบของตัวเอง เช่น คน เครื่องจักร เครื่องมือ ฯลฯ ให้เป็นไซเบอร์ใส่ความเป็นดิจิทัลเข้าไปเพื่อสร้าง Value Added ให้เกิดขึ้นเพียงเท่านี้อุตสาหกรรมของคุณก็จะกลายเป็น 4.0 ไปเองโดยอัตโนมัติ”

อ. วรินทร์ ยังบอกอีกว่าสิ่งที่จะสร้างให้อุตสาหกรรมเข้าสู่ 4.0 นั้น ขึ้นอยู่กับการวางกรรมวิธีในการทำงานในลักษณะที่เรียกว่า ลีน (Lean) เสียก่อนที่จะเกิดการทำ Automation จากนั้นค่อยพัฒนาสู่การเป็นไซเบอร์หรือการทำให้ได้ข้อมูลในกระบวนการทำงานโดยไม่ต้องผ่านมือคน ด้วยวิธีง่ายๆ เช่น นำเซ็นเซอร์หรือบาร์โค้ดเข้ามาใช้ในกระบวนการทำงานเป็นต้น

“เมื่อคุณมีกระบวนการที่เป็นไซเบอร์ เป็นดิจิทัลแล้ว คุณจะได้การทำงานที่เป็น Real Time ซึ่งถ้าเรียงให้เห็นภาพ คือ

เมื่อไรก็ตามที่อุตสาหกรรมของคุณเกิดคำว่า Real Time จะถือว่าเพอร์เฟ็กต์แล้วโดยไม่ต้องกังวลเลยว่าในกระบวนการจะยังมีการใช้แรงงานคนสลับกับเครื่องจักรเพราะคุณ Lean ทุกอย่างไปหมดแล้วจนไม่เกิดความสูญเสีย (Waste) แม้จะยังมีแรงงานคนในกระบวนการผลิต คุณได้ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจาก Labor Product Activity เต็มที่ไปแล้ว ซึ่งในขั้นต้นผมมองว่า SMEs บ้านเราทำแค่นี้ก่อนก็เพียงพอแล้ว

แต่สิ่งที่ต้องทำหลังจากนี้ คือ การวิเคราะห์ข้อมูล (Analytic) ว่าในแต่ละวันการผลิตของคุณมีอะไรที่เป็นนัยสำคัญ ซึ่งต้องกลับไปแก้บ้าง ซึ่งเมื่อคุณมีข้อมูลที่ Real Time จะทำให้สามารถเลือกข้อมูลมาอ่านแล้ววิเคราะห์ย้อนกลับไปดูได้ว่าเกิดปัญหาที่กระบวนการใด เพื่อกลับไปแก้ไข ซึ่งการรู้ปัญหาและแก้ไขแบบ Real Time แล้ว สิ่งที่คุณจะได้รับ คือ ต้นทุนที่ต่ำ และสินค้าที่มีคุณภาพ

อย่างไรก็ตาม ยังมีสิ่งที่ต้องระวัง คือ เมื่อสินค้ามีคุณภาพ ออร์เดอร์จะเพิ่มขึ้น อาจทำให้การส่งมอบงานล่าช้า เนื่องจากสายการผลิตยังมีแรงงานคนและเครื่องจักรสลับกันไป ส่งผลให้ Productivity ยังไม่สูงพอในเบื้องต้น” อ.วรินทร์ กล่าว

การพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรมให้เปน 4.0

เรื่องต้องรู้ของนักอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการก้าวเข้าสู่ยุค 4.0

การจะปรับตัวเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 นั้น การลงเครื่องมือเครื่องจักรในลักษณะของ Automation ยังไม่สามารถตอบโจทย์ได้ทั้งหมด แต่ผู้ประกอบการจะต้องรู้ว่าสิ่งที่นำเข้ามาสู่อุตสาหกรรมของตัวเองนั้นสามารถตอบโจทย์ในระบบที่วางไว้ตั้งแต่แรกได้ นั่นคือ Lean ได้ และ Real Time ด้วย ดังนั้น สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องรู้และพยายามควบคุมให้ได้ก็คือ อุปกรณ์เครื่องจักรต่างๆ และ Big Data

  • อุปกรณ์ เครื่องจักร เครื่องมือที่ลงทุนเพิ่มต้องอยู่ในรูปแบบดิจิทัล เช่น เครื่องวัดชิ้นงาน 1 ตัวต้องเป็นแบบดิจิทัลที่สามารถเชื่อมต่อข้อมูลออกไปยังเครื่องจักรและเซิร์ฟเวอร์ในกระบวนการผลิตได้ ซึ่งวิธีนี้จะทำให้เกิดข้อมูลจำนวนมหาศาล (Big Data)
  • เมื่อระบบเต็มไปด้วยข้อมูล (Big Data) สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องมีก็คือ ความรู้เกี่ยวกับเซิร์ฟเวอร์ และ Analytic Technology เพราะความยุ่งยากซับซ้อนในการวิเคราะห์ข้อมูลที่มากขึ้น

“คุณต้องทำ Lean Digital Data เมื่อมี Lean Automation ขั้นตอนถัดๆ ไปจะเกิดขึ้นเอง ความรู้เรื่องดิจิทัลและเทคโนโลยี และความสามารถในการอยู่กับเครื่องไม้เครื่องมือที่เป็นดิจิทัลได้ด้วยเป็นสิ่งสำคัญมาก

นอกจากเรื่องของความรู้ด้านเทคโนโลยีแล้ว ผมมองว่าผู้ประกอบการของไทยจำเป็นต้องมี Road Map ให้กิจการของตัวเอง คุณต้องมองให้ออกว่าจากนี้ไปอีก 5 ปีรูปแบบโรงงานของคุณจะเป็นอย่างไร ทั้งในด้านโครงสร้าง ระบบการผลิต การบริหาร และระบบโลจิสติกต์ ต้องมีการวางแผนล่วงหน้าระยะยาว ต้องวิเคราะห์ให้ได้ ซึ่งในบ้านเรามักพบว่าผู้ประกอบการไม่ค่อยวางแผน พอนึกขึ้นได้ก็รีโนเวทโรงงาน เปลี่ยนอันนั้น รื้ออันนี้ ซึ่งมันคือต้นทุนทั้งสิ้น”

บทความที่เกี่ยวข้อง เรื่องที่ 2 และ 3


Source:

อาจารย์วรินทร์ รอดโพธิทอง
ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีการผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์ สถาบันไทย-เยอรมัน

Modern Manufacturing on FacebookModern Manufacturing on Youtube
Modern Manufacturing
Web Admin
 
นำเสนอข่าวสารความรู้รอบด้านเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการผลิต เพื่ออุตสาหกรรมไทยก้าวหน้าด้วยวิทยาการสมัยใหม่และเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
READ MORE
×