Thursday, March 28Modern Manufacturing
×

9 แนวทาง ลดต้นทุนสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร

การลดต้นทุนถือเป็นกลยุทธ์สำคัญสำหรับการทำธุรกิจ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอาหารซึ่งมีต้นทุน ทั้งวัตถุดิบ แรงงาน ปัจจัยเหล่านี้ หากได้รับการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพสามารถทำให้ลดต้นทุนลงได้ ซึ่งการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยนั้นถือเป็นหนึ่งในทางเลือกที่มีประสิทธิภาพนอกเหนือจากการปรับรูปแบบการทำงาน

9 แนวทาง ลดต้นทุนสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร

9 แนวทาง ลดต้นทุนสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร

สำหรับแนวทางการลดต้นทุนสำหรับอุตสาหกรรมอาหารนั้นในเบื้องต้น สามารถแบ่งได้เป็น 9 วิธี ดังนี้

1. ระบบดิจิทัลลดค่าใช้จ่ายและประหยัดเวลา

การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายนั้นเป็นวิธีที่หลายบริษัทและโรงงานได้นำเข้ามาใช้แทนที่งานเอกสารทั่วไป ซึ่งในปัจจุบันมีค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างมากมาย อาทิ ค่ากระดาษ ค่าอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายแรงงาน รวมถึงการสูญเสียเวลาทำให้การใช้ระบบดิจิทัลเป็นทางเลือกที่สามารถลดค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมถึงความเสี่ยงได้เป็นอย่างดี

จากข้อมูลผลสำรวจของ GS1 กระบวนการคำสั่งซื้อ (PO) ทางอิเล็กทรอนิกส์การส่งของ หรือการออกบิลสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่าน EDI ซึ่งลดค่าใช้จ่ายลงได้กว่า 2 ใน 3 เมื่อเทียบกับขั้นตอนการทำเอกสารบนกระดาษ

นอกจากนี้ ตามข้อมูลของ Gartner Group พบว่า เวลากว่า 30% ของการทำงานนั้นหมดไปกับการหาเอกสาร หากมีการใช้ระบบดิจิทัลเข้ามาสนับสนุน สามารถลดเวลาการทำงานตรงนี้ได้ถึง 4 เท่า และในส่วนของงานเอกสารนั้น ประหยัดเวลาลงได้ถึง 18 เท่า

สำหรับพื้นที่ปฏิบัติการที่ซับซ้อนนั้น การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้าช่วยสามารถสนับสนุนการทำงานได้เป็นอย่างดี เริ่มต้นตั้งแต่การรับวัตถุดิบไปจนถึงการบรรจุเป็นสินค้าที่สมบูรณ์ โดยระบบดิจิทัลสามารถรายงานผลการทำงานทุกขั้นตอนได้อย่างละเอียดชัดเจน ช่วยให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพลดความสูญเสียต่างๆ รวมถึงข้อผิดพลาดจากการทำงานของมนุษย์ได้อีกด้วย

2. ลดสินค้าคงคลังเกินจำเป็น

การลดสินค้าคงคลังและการตั้งเป้าในด้านงบนั้นหากมีการบริหารจัดการที่เหมาะสมจะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายสำหรับโกดังเก็บสินค้า โดยโกดังเก็บสินค้าหากมีการจัดการที่พอดีจนเกินไปอาจทำให้เกิดปัญหาคอขวดได้ ซึ่งการจัดการบริหารสิ่งเหล่านี้สามารถยกระดับการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การใช้งานระบบ ERP สามารถช่วยให้การทดสอบการทำงานของระบบไปจนถึงการวางแผนในการจัดเก็บวัตถุดิบได้ ไม่เฉพาะเพียงแค่การจัดการคลังสินค้าอย่างอัจฉริยะ แต่ยังสามารถคาดการณ์ปริมาณคำสั่งซื้อและตั้งเตือนได้ สำหรับปริมาณสินค้าระดับต่ำที่สุด ซึ่งสามารถทำให้ครอบคลุมการบริหารจัดการทรัพยากรได้อย่างสมบูรณ์เหมาะสมกับความต้องการและควบคุมงบให้ใช้จ่ายในปริมาณที่น้อย ซึ่งสามารถลดค่าใช้จ่ายสำหรับคงคลังลงได้ถึง 30%

3. ประมวลผลภาพสำหรับอุตสาหกรรม: วัดผลได้อย่างรวดเร็ว ปลอดภัย และแม่นยำ

ใช้การประมวลผลภาพเพื่อการวัดผลได้อย่างปลอดภัยและแม่นยำ ทั้งยังต้องการการดูแลรักษาที่ต่ำในขณะที่มีความปลอดภัยในการปฏิบัติงานสูง รวมถึงการจัดการเรื่องสุขอนามัยด้วยเช่นกัน

ตัวอย่างจากการใช้งาน CSB-Identifier สามารถสร้างระบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบซึ่งสามารถระบุ จัดเรียง และเคลื่อนย้ายตำแหน่งด้วยการวิเคราะห์ภาพ ซึ่งสามารถรับประกันคุณภาพในการตรวจวัดได้เป็นอย่างดี ซึ่งนอกจากควบคุมระบบอัตโนมัติสำหรับการผลิตอาหารแล้วยังสามารถปรับปรุงเข้ากับการบริหารจัดการวัตถุดิบ การจัดการเอกสาร

4. ปรับปรุงสูตร เพิ่มผลกำไร

ในอุตสาหกรรมอาหารนั้นต้นทุน 60% มาจากส่วนของวัตถุดิบ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามกลไกตลาด ในปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ซึ่งช่วยในการจัดการปัญหาเหล่านี้อัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็นข้อจำกัดทางด้านสารเคมีหรือเทคโนโลยี สิ่งเหล่านี้จะถูกคำนวณออกมาเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่มีการจัดการต้นทุนอย่างคุ้มค่าโดยยังรักษาคุณภาพระดับสูงสุดเอาไว้ ซึ่งสามารถประหยัดต้นทุนลงได้กว่า 5% ขึ้นอยู่กับสูตรดั้งเดิม

การปรับปรุงสูตรอาหารนั้นสามารถรักษามาตรฐานของผลิตภัณฑ์ได้ ด้วยสูตรอาหารที่มีความยืดหยุ่น ตอบสนองได้อย่างรวดเร็วเมื่อเกิดการขาดแคลนทรัพยากร บริหารจัดการการจัดซื้อวัตถุดิบได้อย่างมีประสิทธิภาพตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของตลาด รวมถึงความสามารถในการควบคุมปัญหาคอขวดและการบริหารจัดการวัตถุดิบคงคลัง

5. จัดการกลุ่มชนิดสินค้าเพื่อกำไรที่มากขึ้น

แม้ว่าในปัจจุบันกระบวนการผลิตจะมีความปลอดภัยมากขึ้นแล้วก็ตาม ความสามารถในการติดตามข้อมูลการเดินทางของวัตถุดิบนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งมีเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่ความปลอดภัยของอาหารและการปกป้องผู้บริโภค

การลงทุนในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นสามารถเพิ่มศักยภาพในการติดตามวัตถุดิบในกระบวนการได้เป็นอย่างดี การใช้ระบบติดตามวัตถุดิบนั้น เผยให้เห็นกรณีต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย เป็นผลจากความสามารถในการระบุกลุ่มสินค้าหรือวัตถุดิบกลุ่มที่มีปัญหา สามารถจัดการสินค้าได้อย่างเป็นระบบจากห่วงโซ่การผลิต ลดความเสียหายของสินค้าที่เกิดขึ้นจากการคืนสินค้า

การใช้เทคโนโลยีเข้าสนับสนุนการทำงานนั้น ทำให้ได้ข้อมูลสำคัญสำหรับการทำงานได้อย่างรวดเร็ว ตอบสนอง แก้ไข และจำกัดวงของปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยการบริหารจัดการกลุ่มวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมต่อการดำเนินการ

6. ระบบออโตเมชันเพื่อโลจิสติกส์ภายในราคาประหยัด

สำหรับกระบวนการผลิตอาหารนั้นมักจะมีระยะเวลาสำหรับการคืนทุนที่สั้นมากๆ โซลูชันที่เกิดจากซอฟต์แวร์ควบคุมการทำงานลดเวลาที่ใช้ทำงาน เพิ่มปริมาณสินค้าที่สามารถทำได้และลดค่าใช้จ่าย เช่น ช่องเก็บของที่มีความสูงมาก ระบบเรียงสินค้าอัจฉริยะ หุ่นยนต์หยิบจับ นอกจากนี้ ยังช่วยเสริมเรื่องสุขอนามัยอีกด้วย

นอกจากนี้ หากระบบทั้งหมดสามารถเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายได้จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้อย่างมาก รวมถึงคุณภาพสินค้าที่เพิ่มขึ้นในขณะที่ลดรายจ่ายลงซึ่งสามารถเพิ่มศักยภาพการทำงานได้ถึง 99%

แม้การนำระบบออโตเมชันหรือหุ่นยนต์มาใช้สำหรับกระบวนการผลิตและแปรรูปอาหารจะเป็นเรื่องใหม่ แต่การนำมาประยุกต์ใช้สามารถเพิ่มผลิตภาพและกำไร ด้วยคุณภาพที่สูงขึ้นและลดโอกาสสำหรับการปนเปื้อนได้เป็นอย่างมากถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจท่ามกลางปัญหาภาวะแรงงาน

7. ระบบตรวจจับด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ สนับสนุนการคัดแยกวัตถุดิบ

การผสมผสานเทคโนโลยีรุ่นใหม่เข้ากับสายการผลิตสามารถลดเวลาและ เงินทุนที่ใช้ในการหยิบจับคัดแยกวัตถุได้เป็นจำนวนมาก ขั้นตอนการคัดเลือกวัตถุดิบที่ไม่ต้องการกระดาษสำหรับบันทึกการทำงานจะช่วยลดความผิดพลาดและค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการร้องเรียน การหยิบจับและคัดแยกวัตถุดิบหรือสินค้าใหม่ การขนส่งที่ซ้ำซ้อนแม้กระทั่งการยกเลิกคำสั่งซื้อ

ด้วยการป้อนข้อมูลผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่จะทำให้การทำงานในอุตสาหกรรมอาหารนั้นเกิดขึ้นได้อย่างสะดวกและง่ายดาย วิธีเหล่านี้เป็นที่นิยมในการใช้งานนับตั้งแต่เทคโนโลยีบาร์โค้ดถูกปรับใช้ ซึ่งนับเป็นการลงทุนเพียงน้อยนิดแต่ได้ประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงมีตั้งแต่รูปร่างขนาดของวัตถุดิบ ลำดับโครงสร้างคำสั่ง ตำแหน่ง และสำหรับวิธีการคัดแยกนั้นมีหลากหลายรูปแบบวิธี อาทิ การใช้แสงตรวจจับ การจับไปวางไว้ยังตำแหน่งแสง คัดแยกโดยเสียง คัดแยกโดยลักษณะกายภาพอื่นๆ ซึ่งในหลายกรณีพบว่าการนำรูปแบบ วิธีการต่างๆ มาปรับใช้ร่วมกันเป็นแนวทางที่ดีที่สุดในการคัดแยกกลุ่มวัตถุดิบที่มีความหลากหลาย ในกรณีตัวอย่างรายงานว่าสามารถลดเวลาการทำงานได้ถึง 18% และความผิดพลาดที่เกิดขึ้นนั้นอยู่ในระดับที่น้อยมาก

8. ลดระยะเวลารอคอยสินค้าสำหรับลูกค้า

โลจิสติกส์ถือเป็นปัจจัยที่สามารถสร้างความต่างสำหรับการควบคุมงบประมาณได้อย่างชัดเจน ด้วยการวางแผนที่ดี การควบคุมที่มีคุณภาพ และการติดตามข้อมูลอย่างใกล้ชิดในอุตสาหกรรมอาหาร สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ถึง 15%

ด้วยการวางแผนเส้นทางที่มีประสิทธิภาพและการใช้งานระบบอย่างเต็มประสิทธิภาพ จะสามารถกำหนดระยะเวลา ตารางงาน เส้นทาง ปริมาณงานที่สามารถรองรับได้ น้ำหนักและจำนวนของสินค้า เช่นเดียวกันกับการบริหารจัดการยานพาหนะและการมอบหมายหน้าที่ให้ทีมงานด้วยเช่นกัน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้สามารถก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายจำนวนมหาศาลได้แต่หากสามารถควบคุมและบริหารจัดการให้เกิดความสมดุลได้จะเป็นการลดความสูญเปล่าได้เป็นอย่างดี ทำให้ทั้งผู้ผลิตและลูกค้าสามารถวางแผนงานล่วงหน้าเพื่อให้สอดรับกับการทำงานและลดความสูญเปล่าของเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

9. Outsource ซอฟต์แวร์และบริการจาก Cloud

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาการเติบโตของเทคโนโลยี Cloud กลายมาเป็นปัจจัยที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ผลักดันการพัฒนาและการมาถึงของยุคดิจิทัลและเทรนด์ใหม่ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่าง Big Data

การเติบโตของ Cloud ไม่ใช่สิ่งที่น่าแปลกใจ ด้วยการเติบโตควบคู่ไปกับเทคโนโลยีจำลองและเทคโนโลยีเสมือน ซึ่งทำให้ Cloud นั้นแทรกซึมเข้าไปในทุกเทคโนโลยีได้อย่างเป็นรูปร่างชัดเจนมากขึ้น ทั้งเสริมประสิทธิภาพการทำงานให้มีทิศทางแน่นอน และในปัจจุบันการลงทุนสำหรับเทคโนโลยี Cloud นั้น เป็นการลงทุนที่มีมูลค่าน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับการลงทุนด้านอื่น เนื่องจากมีการสนับสนุนด้าน Cloud อยู่ทั่วไป แม้กระทั่งบริการฟรีสำหรับผู้ใช้ทั่วไป เช่น Google Drive

การใช้ Cloud นั้นสามารถแก้ปัญหาได้หลากหลายรูปแบบตั้งแต่การใช้ซอฟต์แวร์สำหรับทำเอกสารได้ฟรีจาก Google Docs ไปจนถึงการประมวลผลผ่านเครือข่าย การสำรองข้อมูล การติดตามข้อมูลการทำงานแบบ Real-Time หรือการควบคุมเครื่องจักรผ่านระบบ ซึ่ง Cloud นั้นสามารถตอบสนองต่อ SME ได้มิใช่เพียงการตอบโจทย์บริษัทยักษ์ใหญ่เพียงเท่านั้น โดยสามารถเพิ่มความสามารถในการให้บริการด้านออโตเมชันได้ถึง 70% ลดค่าใช้จ่ายได้กว่า 72% และเพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจได้ถึง 73% อีกด้วย

ทั้ง 9 ขั้นตอนที่นำเสนอนั้นมุ่งเน้นไปที่การนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ให้เข้ากับการทำงานเดิม ซึ่งการปรับเปลี่ยนในบางตัวเลือกมีการลงทุนที่น้อยมาก โดยเทคโนโลยีที่นำมาปรับใช้ส่วนมากมุ่งเน้นไปที่กำจัดความสูญเปล่าและความเสี่ยงด้านการปนเปื้อน รวมถึงความผิดพลาดจากการทำงาน สร้างเสถียรภาพและคุณภาพของการทำงานที่สามารถไว้วางใจได้ นับเป็นการผสานเทคโนโลยีเข้ากับการทำงานที่สอดรับกับภาวะปัญหาด้านแรงงานและการก้าวเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 หรือ Industry 4.0 ได้เป็นอย่างดี

EXECUTIVE SUMMARY

Nowadays, technology got involved within everyday life which food processing could use this opportunity as advantages. There are 9 methods to apply the technology to production line which reduce the cost and time greatly as follows:

  • Digitize processes
  • Reduce capital commitment for inventory
  • Image processing for food industry
  • Optimize recipe through smart software
  • Traceability
  • Automation for intralogistics
  • Picking system
  • Route and logistics optimization
  • Outsourcing
Modern Manufacturing on FacebookModern Manufacturing on Youtube
Modern Manufacturing
Web Admin
 
นำเสนอข่าวสารความรู้รอบด้านเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการผลิต เพื่ออุตสาหกรรมไทยก้าวหน้าด้วยวิทยาการสมัยใหม่และเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
READ MORE
×