Wednesday, April 24Modern Manufacturing
×

สศอ. ชู สารหล่อลื่นชีวภาพเพิ่มค่าปาล์มน้ำมันไทย

สศอ.ชู สารหล่อลื่นชีวภาพ เพิ่มมูลค่า ปาล์มน้ำมัน พร้อมกำหนดแนวทางการพัฒนา ส่งเสริมอุตสาหกรรมโอเลโอเคมี ต่อยอดอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน ในระยะยาว

สศอ. ชู สารหล่อลื่นชีวภาพเพิ่มค่าปาล์มน้ำมันไทย

นายณัฐพล รังสิตพล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)

นายณัฐพล รังสิตพล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า จากการที่กระทรวงอุตสาหกรรมมีมาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพของไทย ปี พ.ศ. 2561-2570 ที่เป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในกลุ่ม New S-Curve เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็น Bio Hub of ASEAN ล่าสุด สศอ. ได้จัดทำแนวทางการพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมโอเลโอเคมีจากปาล์มน้ำมันของไทย โดยเน้นการพัฒนาไปสู่ผลิตภัณฑ์โอเลโอเคมีต่อเนื่อง ในส่วนของสารหล่อลื่นชีวภาพ (Biolubricant) ที่เป็นผลิตภัณฑ์เป้าหมายที่สำคัญและเป็นทางเลือกหนึ่ง เพื่ออนาคตของปาล์มน้ำมันไทยที่นอกเหนือจากผลิตภัณฑ์โอเลโอเคมีพื้นฐาน

สศอ. ชู สารหล่อลื่นชีวภาพเพิ่มค่าปาล์มน้ำมันไทย

ทั้งยังเป็นการเพิ่มขีดความสามารถด้านการผลิตเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) ให้กับผลิตผลปาล์มน้ำมันและยกระดับการผลิตจากผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภคขั้นต้นไปสู่ผลิตภัณฑ์สารตั้งต้นในภาคอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่มีมูลค่าสูงต่อไป โดยจากการศึกษาแนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัตถุดิบปาล์มน้ำมันมาตั้งแต่ปี 2550 พบว่าการส่งเสริมการผลิตโอเลโอเคมี (การผลิตสารเคมีที่สกัดหรือสังเคราะห์ได้จากกรดไขมันต่าง ๆ ที่มาจากพืชน้ำมัน หรือจากสัตว์) ภายในประเทศจะสามารถลดการนำเข้าผลิตภัณฑ์เคมี

และยังสามารถส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมขั้นปลายน้ำของโอเลโอเคมีเพื่อเป็นฐานการผลิตที่สำคัญ จึงจำเป็นต้องมีการจัดสรรการใช้ผลผลิตปาล์มน้ำมันได้อย่างมีคุณค่าต่อเศรษฐกิจท้องถิ่นและเศรษฐกิจโลกได้มากที่สุด และกำหนดยุทธศาสตร์ไปสู่แนวทางปฏิบัติในการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมให้ครอบคลุมถึงการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมโอเลโอเคมีจากปาล์มน้ำมันได้อย่างครบวงจร

อย่างไรก็ตาม คาดการณ์ว่าในปีนี้ ตลาดโอเลโอเคมี ที่นอกเหนือจากไบโอดีเซลในตลาดโลกจะมีมูลค่ากว่า 7.5 แสนล้านบาท และคาดว่า จะขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นเป็น 1.18 ล้านล้านบาท ในปี 2570 โดยมีปริมาณความต้องการใช้เพิ่มจากปัจจุบัน 18 ล้านตัน เป็น 26 ล้านตัน โดยผลิตภัณฑ์กรดไขมันเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีตลาดใหญ่ที่สุด รองลงมา ได้แก่ แอลกอฮอล์ของกรดไขมัน กลีเซอรอล ทั้งนี้ไม่นับรวมผลิตภัณฑ์ เมธิลเอสเธอร์หรือไบโอดีเซลที่ใช้ในกลุ่มพลังงานที่จะมีความต้องการอีกมหาศาลในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก

นอกจากนี้ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และยังเป็นภูมิภาคที่มีอัตราการเติบโตของความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์สูงที่สุดอีกด้วย เช่นเดียวกับ “สารหล่อลื่นชีวภาพ” ซึ่งเป็นสารเอสเทอร์จากกลุ่มกรดไขมันที่มีศักยภาพ โดยประมาณการณ์ว่าในปัจจุบันมีขนาดตลาดอยู่กว่า 85,000 ล้านบาท ในปี 2561 และจะเพิ่มสูงถึง 125,000 ล้านบาท ในปี 2569 หากมีการผลิตได้ในประเทศมากขึ้นจะเพิ่มมูลค่าปาล์มน้ำมันได้อีกทางหนึ่ง

Kanokkarn .T
READ MORE
×