Friday, April 19Modern Manufacturing
×

สสว.ปั้น 5 ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ยกระดับเครือข่าย SME กลุ่มสับปะรด-กระเทียม

สสว. ร่วมกับสถาบันอาหาร อวดโฉม 5 ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ เครือข่าย SME ปี 2562 เตรียมติวตลาดออนไลน์ ต่อยอดเชิงพาณิชย์ ผลักดันผลิตภัณฑ์ออกทดสอบตลาด ตั้งเป้าเจาะตลาดญี่ปุ่น ฐานตลาดส่งออกอาหาไทย

สสว.ปั้น 5 ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ยกระดับเครือข่าย SME กลุ่มสับปะรด-กระเทียม

นางลักขณา ตั้งจิตนบ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมธุรกิจ SMEs สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.)

นางลักขณา ตั้งจิตนบ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมธุรกิจ SMEs สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) กล่าวถึงความคืบหน้าของ “กิจกรรมพัฒนาเครือข่ายสับปะรดและเครือข่ายกระเทียม ภายใต้โครงกาสนับสนุนเครือข่าย SME ปี 2562” ซึ่งได้มอบหมายให้สถาบันอาหาร หน่วยงานเครือข่ายกระทรวงอุตสาหกรรม ดำเนินการมาตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมาว่า ภายหลังจากได้จัดอบรมและพัฒนาศักยภาพเชิงลึกให้แก่สมาชิกเครือข่าย และผู้นำเครือข่าย ด้านการพัฒนากระบวนการผลิต และการบริหารจัดการ โดยการนำนวัตกรรม หรือเทคโนโลยีมาสนับสนุน เพื่อยกระดับศักยภาพการผลิต ลดต้นทุนการผลิต ปรับปรุงกระบวนการเพาะปลูกเพื่อให้ได้ผลผลิตมากขึ้น หรือปรับปรุงกระบวนการแปรรูปเพื่อให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและสามารถจัดจำหน่ายได้ รวมทั้งการจัดทำมาตรฐานการผลิตเพื่อส่งออก และมาตรฐานรสชาติอาหาร ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจ

สสว.ปั้น 5 ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ยกระดับเครือข่าย SME กลุ่มสับปะรด-กระเทียม
สสว.ปั้น 5 ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ยกระดับเครือข่าย SME กลุ่มสับปะรด-กระเทียม

“สมาชิกเครือข่ายต่างๆ ได้ร่วมกันพัฒนาผลผลิตสับปะรด และกระเทียม เป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปต้นแบบที่มีศักยภาพในการแข่งขันได้ทั้งหมด 5 ผลิตภัณฑ์ แบ่งเป็นผลิตภัณฑ์จากสับปะรด 4 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ 1) “ผงสับปะรด” สำหรับหมักเนื้อนุ่ม เพื่อปรุงอาหาร ใช้เทคโนโลยีการทำแห้งแบบแช่เยือกแข็งเพื่อคงคุณสมบัติของเอ็มไซม์สับปะรด จาก“กลุ่มเครือข่ายสับปะรดสินสมุทร” (ชลบุรี ระยอง และตราด) 2) “สับปะรดแช่เยือกแข็ง”พร้อมรับประทาน ใช้เทคโนโลยีแช่เยือกแข็ง จาก “กลุ่มเครือข่ายสับปะรดสยามโกลด์” (ประจวบคีรีขันธ์) 3) “สับปะรดอบน้ำผึ้ง”(แช่อิ่มอบแห้ง) ใช้เทคโนโลยีการแช่อิ่ม และนำมาอบแห้งเพื่อยืดอายุผลิตภัณฑ์ จาก“กลุ่มเครือข่ายสับปะรดภาคเหนือ” (พิษณุโลก อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี) 4) “ไอศกรีมไวน์สับปะรด” จาก “กลุ่มเครือข่ายสับปะรด 3 บุรี” (ราชบุรี เพชรบุรี และกาญจนบุรี) สำหรับผลิตภัณฑ์จากกระเทียม 1 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ “กระเทียมผง” สำหรับปรุงอาหารใช้นวัตกรรมการทำแห้งแบบแช่เยือกแข็งเพื่อคงกลิ่น และรสชาติของกระเทียม จาก“กลุ่มเครือข่ายผู้ปลูกกระเทียมจังหวัดเชียงใหม่”

สสว.ปั้น 5 ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ยกระดับเครือข่าย SME กลุ่มสับปะรด-กระเทียม

ล่าสุดได้จัดอบรมผู้นำเครือข่าย หรือผู้ประสานเครือข่าย(Cluster Development Agent-CDA) จำนวน 15 ราย ซึ่งเป็นตัวแทนจากเครือข่ายสับปะรด 4 กลุ่ม และเครือข่ายกระเทียม 1 กลุ่ม ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกรวมราว 700 ราย จาก 11 จังหวัด เพื่อพัฒนาศักยภาพในการดำเนินธุรกิจด้านต่างๆ ครอบคลุมถึงการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่เครือข่าย โดยให้ข้อมูลความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการร่วมมือและส่งเสริมแนวคิดในการพัฒนาเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง และเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างเครือข่ายกับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

สสว.ปั้น 5 ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ยกระดับเครือข่าย SME กลุ่มสับปะรด-กระเทียม

นางนิตยา พิระภัทรุ่งสุริยา รองผู้อำนวยการสถาบันอาหาร หน่วยงานเครือข่ายกระทรวงอุตสาหกรรม

นางนิตยา พิระภัทรุ่งสุริยา รองผู้อำนวยการสถาบันอาหาร หน่วยงานเครือข่ายกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า หลังจากนี้จะเป็นการจัดอบรมให้ความรู้เรื่องการตลาดแบบครบวงจรทั้งออนไลน์และออฟไลน์เพื่อต่อยอดเชิงพาณิชย์ ขณะเดียวกันเตรียมสร้างการรับรู้ให้กับผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศได้รู้จักผลิตภัณฑ์ต้นแบบทั้ง 5 ผลิตภัณฑ์ รวมทั้งผลิตภัณฑ์แปรรูปอื่นๆ ของสมาชิกเครือข่ายที่ได้รับการยกระดับด้านมาตรฐานการส่งออกเรียบร้อยแล้ว เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดใหม่ๆ ซึ่งมีแผนจะนำผลิตภัณฑ์ดังกล่าวออกทดสอบตลาด และจับคู่เจรจาธุรกิจภายในเดือนกันยายนนี้ โดยต่างประเทศมีญี่ปุ่นเป็นตลาดเป้าหมาย เนื่องจากในภาพรวมญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสินค้าอาหารอันดับ 1 ของไทยที่มีศักยภาพ ในปี 2561 มูลค่าการส่งออกอาหารของไทยไปญี่ปุ่นราว 132,130 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 12.8 ที่สำคัญไทยมีจุดแข็งที่เป็นผู้ผลิตและส่งออกสับปะรดกระป๋องและน้ำสับปะรดรายใหญ่ของโลก ที่มีมาตรฐานการผลิตในระดับสากล มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในตลาด โดยโรงงานแปรรูปสับปะรดของไทยมีทั้งหมด 62 แห่ง ร้อยละ 74 เป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอี

สสว.ปั้น 5 ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ยกระดับเครือข่าย SME กลุ่มสับปะรด-กระเทียม

ในปี 2561 เฉพาะสับปะรดกระป๋องไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกอันดับ 1 ของโลก มีส่วนแบ่งการตลาดสูงถึงร้อยละ 40.8 (มูลค่า 12,933 ล้านบาท) ตลาดส่งออก 5 อันดับแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา(29.43%) สหภาพยุโรป(26.5%) รัสเซีย(7.1%) จีน(3.2%) และญี่ปุ่น(3.1%) ส่วนผลิตภัณฑ์ประเภทอื่นๆ ได้แก่ น้ำสับปะรดเข้มข้น (มูลค่า 3,601 ล้านบาท) สับปะรดแช่อิ่ม/เชื่อม(มูลค่า 2,198 ล้านบาท) สับปะรดสด/อบแห้ง(มูลค่า 332 ล้านบาท) สับปะรดแช่เย็นแช่แข็ง (มูลค่า 38 ล้านบาท) เมื่อรวมผลิตภัณฑ์ทุกประเภท ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับ 2 ของโลก มีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 15.1 รองจากประเทศคอสตาริกาที่มีส่วนแบ่งร้อยละ 26.9

สสว.ปั้น 5 ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ยกระดับเครือข่าย SME กลุ่มสับปะรด-กระเทียม
Kanokkarn .T
READ MORE
×