Friday, March 29Modern Manufacturing
×

จุดเปลี่ยนอุตสาหกรรมในวิกฤตพลังงาน

คุณบงกช กิตติสมพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักวิเคราะห์และติดตามประเมินผล องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) อบก. กล่าวว่า พลังงานมีบทบาทเกี่ยวข้องต่อชีวิตของมนุษย์ อาทิ การผลิต การขนส่ง การดำเนินธุรกิจต่างๆ หรือแม้แต่ความเป็นอยู่ ทั้งนี้ สถานการณ์พลังงานโลกเกี่ยวกับเชื้อเพลิงฟอสซิลมีแนวโน้มขาดแคลนและมีราคาสูง ขึ้น ซึ่งจากการประมาณการปริมาณน้ำมันสำรองโลกคาดว่าเหลือน้ำมันใช้ได้ต่อไปอีก ประมาณ 38 ปี เมื่อวิกฤตนั้นมาถึงเราจำเป็นต้องหาทางออกด้านพลังงาน

จุดเปลี่ยนอุตสาหกรรมในวิกฤตพลังงาน

จุดเปลี่ยนอุตสาหกรรมในวิกฤตพลังงาน

หากเมื่อเปรียบเทียบสถานการณ์การใช้พลังงานในไทยหลายไตรมาสระหว่างปี พ.ศ.2555-2557 พบว่ามีอัตราการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งประเทศไทยพึ่งพาน้ำมันสำเร็จรูปค่อนข้างมาก ในขณะเดียวกันกลับไม่มีแหล่งน้ำมันเป็นของตนเอง และพึ่งพาก๊าซธรรมชาติซึ่งนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านเป็นส่วนใหญ่

สำหรับภาคอุตสาหกรรมของไทยมีการใช้พลังงานค่อนข้างสูง รองลงมา คือ ภาคการขนส่ง ซึ่งพึ่งพาพลังงานฟอสซิลเป็นส่วนใหญ่ โดยผลกระทบจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน (Global Warming) โดยเกิดจากกระบวนการที่มีก๊าซเรือนกระจกเกิดขึ้น ซึ่งมักเกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น น้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ เมื่อก๊าซลอยสูงขึ้นไปในชั้นบรรยากาศของโลก จะทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่รังสีความร้อนถูกกับเก็บไว้ในบรรยากาศโลก ที่เรียกว่า ปรากฏการ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) ซึ่งเป็นประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมที่มีการพูดถึงมากที่สุด โดยในปี พ.ศ.2543 ประเทศไทยมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคโรงงานอุตสาหกรรมประมาณ 70% ซึ่งข้อมูลระหว่างปี พ.ศ.2543-2552 อัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในไทยเพิ่มขึ้นกว่า 3.9% ต่อปี และหากทุกภาคส่วนยังไม่มีการบริหารจัดการด้านพลังงาน จากการประมาณการในปี พ.ศ.2590 พบว่าประเทศไทยจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 1,331 ล้านตัน ดังนั้น หากประเทศไทยดำเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจะสามารถลดให้เหลือประมาณ 883 ล้านตันได้

โดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกได้จัดตั้ง โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

  • เพื่อส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจขึ้นในประเทศ
  • เพื่อส่งเสริมให้เกิดตลาดคาร์บอนในประเทศเพื่อรองรับสถานการณ์ในการซื้อขายคาร์บอนเครดิตในอนาคต
  • เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับทุกภาคส่วนในการรับมือกับพันธกิจในการมีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ

นับ ว่าภาคอุตสาหกรรมมีบทบาทในมิติของความร่วมมือปรับเปลี่ยนแนวทางการใช้ พลังงานอย่างมีนัยสำคัญ เพื่อลดวิกฤตโลกร้อนอันเป็นภาระที่นานาชาติต้องร่วมมือกันแก้ปัญหา โดยเริ่มจากการมองหาพลังงานทดแทนอื่นๆ เช่น พลังแสงอาทิตย์ พลังงานลม หรือชีวมวล ซึ่งประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตพลังงานทดแทนที่เพียงพอเมื่อเปรียบเทียบกับ บางประเทศ ในบริบทที่ภาครัฐและภาคเอกชนต้องตระหนักให้มาก คือ ต้องบริหารจัดการอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเกิดความมั่นคงทางด้านพลังงานอย่างยั่งยืน

Modern Manufacturing on FacebookModern Manufacturing on Youtube
Modern Manufacturing
Web Admin
 
นำเสนอข่าวสารความรู้รอบด้านเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการผลิต เพื่ออุตสาหกรรมไทยก้าวหน้าด้วยวิทยาการสมัยใหม่และเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
READ MORE
×