Saturday, April 13Modern Manufacturing
×

เติมเต็มความฝันกับขั้นตอนการผลิตสุดยอดหุ่นยนต์ Gundam!

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าผู้ชายจำนวนไม่น้อย (รวมถึงผู้หญิง) ในยุคปัจจุบันที่ชื่นชอบในการ์ตูน (Animation) หุ่นยนต์เลื่องชื่ออย่าง Gundam และก็ผู้คนอีกไม่น้อยเช่นกันที่ได้รับแรงบันดาลใจจากทั้งการ์ตูนรวมถึงของเล่นจาก Gundam และวันนี้ผมขอพาทุกคนมาดูขั้นตอนการผลิต ‘กันพลา (Gunpla)’ ของเล่นสุดฮิตที่พ่อบ้านใจกล้าต้องเม้มตังค์ไว้รอกันครับ

เติมเต็มความฝันกับขั้นตอนการผลิตสุดยอดหุ่นยนต์ Gundam!

เติมเต็มความฝันกับขั้นตอนการผลิตสุดยอดหุ่นยนต์ Gundam!

โมเดลหุ่นยนต์ Gundam หรือที่นิยมเรียกกันว่า Gunpla โดยมีที่มาจาก Gundam + Plamo (Plastic+Model) มีต้นกำเนิดจาก Series สุดฮิต Gundam ที่ฉายในปี 1979 และเริ่มมีการผลิตครั้งแรกขึ้นในปี 1980 โดยมีราคาอยู่ที่ 300 เยน (ประมาณ 100 บาท)

Gunpla ในอดีตนั้นแตกต่างกับยุคปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง ไม่ว่าจะรูปแบบการผลิต วัสดุ จุดขยับ สีสัน ฯลฯ ซึ่งโมเดลที่ออกมาจะมีลักษณะแข็ง ๆ ทื่อ ๆ แต่ในปัจจุบันด้วยการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทำให้ Gunpla มีรายละเอียดมากยิ่งขึ้น ชิ้นส่วนแต่ละชิ้นบนแผงประกอบถูกออกแบบมาอย่างละเอียดเพื่อให้สามารถขยับและจัดท่าทางได้

โรงงานนำมาให้ชมนั้นตั้งอยู่ที่ Shizuoka ประเทศญี่ปุ่น ภายใต้ชื่อ B.H.C หรือ Bandai Hobby Center ที่มีแนวคิดสำคัญว่า

‘The spirit of a digital workman’

จากในคลิปจะสังเกตได้ว่ามีการใช้งานโปรแกรมจำลองการออกแบบเพื่อดูภาพรวมภายนอกและชิ้นส่วนภายในซึ่งเป็นผลลัพธ์สุดท้ายที่เกิดจากการประกอบ จากนั้นจึงทำการออกแบบแผงชิ้นส่วนสำหรับประกอบ

จะเห็นได้ว่าในการเก็บรายละเอียดหรือซ่อมบำรุงแม่พิมพ์นั้นยังเป็นการใช้แรงงานมนุษย์ในการดำเนินการอยู่  หรืออาจเรียกได้ว่ากิจกรรมส่วนใหญ่ของโรงงาน Gunpla นั้นเป็นการใช้แรงงานก็ไม่ผิดนัก และถ้าหากใครสังเกตดี ๆ ในส่วนของรถขนส่งในงานคลังจะรถขนส่งสีแดงที่เชื่อกันว่าแรงอีก 3 เท่าอีกด้วย!

จะเห็นได้ว่าการผลิตทั้งกระบวนการตั้งแต่ออกแบบไปจนถึงจัดเก็บล้วนมีมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น โดยขนาดและการบริหารจัดการในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันไป โดยพื้นที่สำหรับการฉีดพลาสติกด้วยเครื่องจักรจะมีพื้นที่ขนาดใหญ่และมีความโปร่งเพื่อความสะดวกในการทำงานและความปลอดภัย แต่ในพื้นที่สำหรับการออกแบบและการแก้ไขปรับปรุงแม่พิมพ์เป็นพื้นที่ที่เน้นความคล่องตัวในการทำงานอยู่กับที่ทำให้เหมาะกับพื้นที่ที่มีขนาดจำกัดมากกว่า ทำให้เห็นถึงการให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการที่เหมาะสมในการทำงานจริงเป็นอย่างดี

Thos
"Judge a man by his questions rather than his answers"
Voltaire
READ MORE
×