Thursday, April 25Modern Manufacturing
×

ถ้าสงครามการค้าทำให้การผลิตฝืดเคือง หันมาใช้เทคโนโลยี 3D Printing สิ!

จากปัญหาความตึงเครียดจากการนำเข้า-ส่งออกสินค้าไม่ว่าจะเป็นมวยคู่ จีน-อเมริกา หรือ เกาหลีใต้-ญี่ปุ่น รวมถึง Brexit ที่ยังสร้างความกังขาและกังวล ทำให้ความมั่นคงของเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมในปัจจุบันนั้นมีความไม่แน่นอนอย่างมาก ซึ่งการพิมพ์ 3 มิติ หรือเทคโนโลยีการเติมเนื้อวัสดุสามารถแก้ปัญหาบางส่วนให้กับความกังวลของผู้ประกอบการได้

ถ้าสงครามการค้าทำให้การผลิตฝืดเคือง หันมาใช้เทคโนโลยี 3D Printing สิ!

ถ้าสงครามการค้าทำให้การผลิตฝืดเคือง หันมาใช้เทคโนโลยี 3D Printing สิ!

ทำไม 3D Printing ถึงเป็นคำตอบของความไม่แน่นอน?

หลายคนอาจคุ้นเคยกับการพิมพ์ 3 มิติอยู่แล้ว แต่สำหรับคนที่ยังไม่แน่ใจสักเท่าไหร่ต้องบอกเลยว่าความสามารถของการพิมพ์ 3 มิติหรือการเติมเนื้อวัสดุนั้นมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้วัสดุได้หลากหลาย การผสมผสานวัสดุต่างชนิดเข้าด้วยกัน การผลิตแบบรวดเร็ว (Rapid Prototype) และสิ่งที่สำคัญที่สุด การผลิตชิ้นส่วนที่มีความซับซ้อนสูงที่การผลิตในรูปแบบอื่น ๆ ไม่สามารถทำได้

แทนที่จะต้องรับมือกับความผันผวนของการนำเข้า-ส่งออก ทำให้ต้นทุนมีราคาไม่แน่นอน หรือในบางกรณีนั้นไม่สามารถเข้าถึงชิ้นส่วนได้เลย ทำให้กระบวนการผลิตล่าช้าหรือไม่สามารถเกิดขึ้นได้

รูปแบบการผลิตและการทำธุรกิจแบบเดิม ๆ นั้นต้องเผชิญหน้ากับอุปสรรคนานัปการภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นการแปรรูปโลหะหรือการฉีดพลาสติก ซึ่งล้วนแต่ต้องการพื้นที่และอุปกรณ์จำนวนมาก ในขณะที่การพิมพ์ 3 มิติเปลี่ยนความต้องการสำหรับการผลิตเหล่านี้ แน่นอนว่าเครื่องพิมพ์ 3 มิติที่สามารถใช้งานได้ในระดับอุตสาหกรรมนั้นไม่ได้มีราคาที่ถูกหรือเข้าถึงได้ง่ายดาย เครื่องพิมพ์ 3 มิติสำหรับโลหะนั้นอาจมีราคาสูงได้ถึงหลาย 10 ล้านบาท

“คุณไม่ต้องกังวลกับปัญหานำเข้า-ส่งออกอีกต่อไปถ้าคุณมีความสามารถในการผลิตด้วยตัวเอง”
Scott Sevcik, รองประธานฝ่าย Aerospace บริษัท Stratasys

การมีกิจการที่รับผลิตด้วยการพิมพ์ 3 มิติในระดับโรงงานในระดับท้องถิ่นสามารถแก้ปัญหาที่ได้รับผลกระทบจากภายนอกได้ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตชิ้นส่วนหรือผลิตภัณฑ์สำเร็จพร้อมใช้ ดำเนินการได้อย่างง่ายดายเพียงส่งไฟล์เข้ามาที่ระบบ ซึ่งสามารถผลิตได้ทันทีที่ต้องการ

Scott Sevick ได้ยกตัวอย่างกรณีของลูกค้าที่มีชิ้นส่วนสำรองมูลค่ากว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อยู่ในคลังสินค้าทั่วโลกที่ไม่ได้ใช้งานอะไร ด้วยเหตุผลที่ว่าในแต่ละพื้นที่ต้องมีชิ้นส่วนในคลังเพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยง เช่น การที่สินค้าติดอยู่ที่กรมศุลกากรนานเกินไป ซึ่งในกรณีของการพิมพ์ 3 มิตินั้นไม่ต้องรอการพิสูจน์สินค้าจากศุลกากรที่ยาวนาน ทั้งยังมีต้นทุนที่ต่ำกว่าเพราะต้องการเพียงวัตถุดิบไม่ใช่ชิ้นส่วนสำเร็จ

สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์เอง Sevick มองว่าผู้ผลิตจะสามารถสร้างอัตลักษณ์ที่โดดเด่นมีความแตกต่างกันได้มากขึ้นในตลาดทั่วโลกจากการใช้งานการพิมพ์ 3 มิติ ทำให้สิ่งที่เกิดขึ้นจากการใช้งานนั้นเรียกได้ว่าเป็นการยกระดับให้สูงกว่ามาตรฐานดั้งเดิมด้วยการเติมแต่งให้เหมาะสมกับตลาดและความต้องการลงไป

ปัจจุบันเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ นั้นมีการเติบโตและพัฒนาอย่างต่อเนื่องรวดเร็ว ทำให้เทคโนโลยีนี้เข้าใกล้ความสามารถในการผลิตที่ครอบคลุมความต้องการสำหรับการผลิตแบบจำนวนมากในปัจจุบันได้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้วัตถุดิบที่หลากหลายยิ่งขึ้น หรือการผลิตคุณภาพสูงที่รวดเร็ว

สำหรับประเทศไทยในปัจจุบันอาจยังไม่ได้รับผลกระทบด้านลบโดยตรงจากปัญหาสงครามการค้ามากเท่าไหร่ แต่ในขณะเดียวกันปฏิเสธไม่ได้ว่าศักยภาพของการพิมพ์ 3 มิติในระดับโรงงานอุตสาหกรรมนั้นสามารถสร้างความแตกต่างในการแข่งขันให้กับประเทศไทยได้ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการรองรับการเติบโตของ Startup ที่มีความต้องการในการผลิตสินค้าที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจงและมีการผลิตในระดับจำนวนน้อยถึงปานกลาง ซึ่งในการผลิตโดยทั่วไปอาจมีต้นทุนที่สูงเกินกว่า Startup จะสามารถจ่ายได้

ที่มา:

Forbes.com

Thos
"Judge a man by his questions rather than his answers"
Voltaire
READ MORE
×