Thursday, April 25Modern Manufacturing
×

5 ประเด็นหลักที่ทำไม Daimler ต้องจับมือกับ BMW

ความร่วมมือกันระหว่าง BMW Group และ Daimler AG นั้นอาจเป็นสิ่งที่หลายคนไม่คาดฝัน แต่ในความเป็นจริงแล้วท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในยุคปัจจุบันความร่วมมือกันถือเป็นทางออกอันชาญฉลาด เรามาดูกันว่า 5 ประเด็นหลักของความร่วมมือนี้คืออะไรจากแนวคิดของ Dieter Zetsche, Chairman of the Board of Management of Daimler AG และ Head of Mercedes-Benz Cars

ZS_BMW-Daimler-Joint-Venture-6
Source: Daimler

“เราแข็งแกร่งขึ้นเมื่อเราร่วมมือกัน นั่นคือเหตุผลที่เรารวมวิสัยทัศน์หลากหลายแง่มุมต่าง ๆ ของ Mobility Service เข้าด้วยกันไม่ว่าจะการขับเคลื่อนยานยนต์เพื่อจอด การเติมพลังงาน และการแบ่งปันอื่น ๆ “

5 ประเด็นหลักที่ทำไม Daimler ต้องจับมือกับ BMW

ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงในโลกของปัจจุบันที่เปิดโอกาสให้ใครก็ได้สามารถก้าวเข้ามามีส่วนแบ่งในตลาดของทุกกิจกรรมผ่าน Startup สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีผู้ใช้จำนวนมาก แน่นอนว่าแนวคิดสำหรับการตอบสนองความต้องการต่าง ๆ ก็มีมากขึ้นเช่นกัน แต่จะทำอย่างไรจึงจะสามารถตอบสนองความต้องการเหล่านั้นได้ นั่นทำให้การแข่งขันของอุตสาหกรรมยานยนต์มีความเข้มข้นสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีดิจิทัลเข้ามาเป็นตัวแปรด้วยแล้วยิ่งส่งทำให้สิ่งต่าง ๆ ชัดเจนและเข้าถึงง่ายยิ่งขึ้น ถ้าหากอยากรั้งตำแหน่งผู้นำหรือรักษาตลาดไว้ ทำไมผู้นำตลาดถึงจะไม่จับมือกันเองเพื่อไปสู่จุดที่ไม่มีใครสามารถแข่งขันด้วยกันได้… นอกจากเหล่าพันธมิตรล่ะ

5 ประเด็นหลักสำหรับความร่วมมือระหว่าง Daimler AG และ BMW Group

1. การเสริมความแข็งแกร่ง Sustainable Mobility

ความร่วมมือในครั้งนี่เป็นรากฐานของการยกระดับวิถีทางที่ผู้คนจะใช้อยู่รวมกับสภาพแวดล้อมของเมือง ผู้ซื้อหน้าใหม่จะให้ความสำคัญกับโลกที่เดินทางด้วยระบบอัตโนมัติและยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจะลดการปล่อยก๊าซที่เกิดจากปัญหามลภาวะทางการจราจรและเพิ่มความสะดวกสบายให้ผู้ใช้

2. การเสนอการบริการรอบด้านสำหรับรายบุคคล

BMW และ Daimler นั้น คือ ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์สำหรับ Push-Button Mobility การบริการร่วมกันของทั้งสองบริษัททำให้สามารถตอบสนองได้ครอบคลุมทั้ง Value Chain ไล่ตั้งแต่การผลิตยานยนต์ไปจนถึงรายละเอียดตามความต้องการเฉพาะบุคคลด้าน Mobility ซึ่งตั้งเป้าในการขยายขอบเขตและศักยภาพอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงแนวคิดเกี่ยวกับ Smart Cities ที่มี Mobility มาเกี่ยวคล่อง ไม่ว่าจะเป็นระดับเมือง เทศบาล หรือภูมิภาค

3. ความแข็งแกร่งด้านเงินทุนที่เพียงพอ

BMW และ Daimler ลงทุนมากกว่า 1 พันล้านยูโรสำหรับ JV ทั้งห้าหน่วยที่ได้ร่วมมือกัน ได้แก่ ReachNow, ChargeNow, FreeNow, ParkNow และ ShareNow ซึ่งการลงทุนนี้ครอบคลุมตั้งแต่การเริ่มต้นโครงการ ซึ่งเป็นเหมือน Startup ที่ไร้ซึ่งความท้าทายที่ Startup ทั่วไปต้องเจอ นอกจากนี้ทั้งสองบริษัทยังมีแผนเตรียมการในการลงทุนขนาดใหญ่สำหรับการบริการด้าน Mobility ที่ร่วมมือกันนี้ด้วย เปิดโอกาสให้ในอนาคตอาจจะเกิดการแชร์ยานยนต์ที่สามารถใช้งานได้อัตโนมัติด้วยระบบไฟฟ้าได้

BMW-Daimler-Joint-Venture-3
Source: Daimler

4. การเติบโตท่ามกลางยุคสมัยใหม่

ความร่วมมือกันในการให้บริการ Mobility นี้เป็นการร่วมผสานจุดแข็งและองค์ความรู้ของแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จกว่า 14 แบรนด์ ทำให้ในวันนี้นั้นมีลูกค้าในมือที่อยู่ในสภาพแวดล้อมของระบบเครือข่าย Mobility แล้วกว่า 60 ล้านราย และนี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นในการเติบโตและขยับขยายต่าง ๆ นี่คือ เหตุผลที่ต้องการการเติบโตโดยการขยายตำแหน่งงานกว่า 1,000 ตำแหน่งสำหรับ JV ที่เกิดขึ้นในขวบปีที่กำลังมาถึง

5. BMW และ Daimler ยังคงเป็นคู่แข่งกัน

หากใครคิดว่าการแข่งขันระหว่าง Stuttgart และ Munich เป็นเรื่องที่จบไปแล้ว บอกได้เลยว่าคิดผิด! มันเป็นการแข่งขันของสองบริษัทที่ผลักดันให้ทั้งคู่ก้าวขึ้นสู่ระดับแนวหน้าของตลาดผู้ผลิตยานยนต์ระดับพรีเมียม และการแข่งขันเหล่านี้เองที่เป็นปัจจัยในการผลักดันให้เกิดศักยภาพระดับสูงสุดซึ่งสำหรับหัวใจของธุรกิจทั้งสองบริษัทในอนาคต ไม่ว่าอย่างไรก็ตามแรงผลักดันยังคงเดิม คือ ทั้งสองบริษัทต่างต้องการสร้างรถยนต์ที่ดีที่สุดในโลก

เรามองเห็นอะไรจากเรื่องนี้

ความร่วมมือที่เกิดขึ้นในยุคที่ Startup สามารถฉกฉวยโอกาสก้าวขึ้นมาเป็นที่รู้จักและสร้างฐานลูกค้าโดยการฉกฉวยจากส่วนแบ่งตลาดเดิม ปรากฏการณ์เหล่านี้เป็นหนึ่งในผลกระทบของ Disruption ต่าง ๆ ในยุคปัจจุบันที่เปิดประตูให้โอกาสผู้ผลิตรายใหม่ที่มีแค่แนวคิดสามารถนำฝันให้เกิดขึ้นได้จริง แต่สำหรับผู้ผลิตรายเดิมนั้นปรากฏการณ์นี้กลายเป็นการแทรกแซงและสร้างความปั่นป่วนให้เพิ่มขึ้น

หนึ่งในทางออกได้รับความนิยมสำหรับบริษัทเดิม คือ การลงทุนด้าน R&D การซื้อเทคโนโลยี หรือซื้อทั้งบริษัท แต่สำหรับบางรายทางออกที่ดีและรวดเร็ว สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้ คือ การทำ JV หรือความร่วมมืออื่น ๆ ที่สามารถดำเนินการได้เลยโดยไม่ต้องปรับผังองค์กรขนาดใหญ่หรือต้องปรับตัวทั้งโครงสร้าง ซึ่งการทำ JV หรือ MOU ใด ๆ นั้นมีหลากหลายรูปแบบในการเลือกพันธมิตร เช่น หากเป็นความร่วมมือระหว่างบริษัทใหญ่เป็น Startup ก็สามารถใช้ประโยชน์จากกความคล่องตัวได้ของ Startup และใช้ฐานความรู้หรือเงินทุนจากบริษัทใหญ่ได้ แต่หากบริษัทชั้นนำจับมือกันเองสามารถสร้างแหล่งเงินทุนที่มีศักยภาพมาพร้อมกำลังคนที่เพียงพอเหมือนกับความร่วมมือระหว่าง BMW และ Daimler ที่มีความพร้อมรอบด้าน วิสัยทัศน์ รวมถึงฐานลูกค้าที่จะรองรับได้ และในขณะเดียวกันก็สามารถร่วมทำ JV กับหลากหลายบริษัทได้ในเวลาเดียวกันอีกด้วย

ความร่วมมือที่เกิดขึ้นนั้นให้ความสำคัญกับรูปแบบการบริการ Mobility จากสองบริษัทชั้นนำด้านยานยนต์ ซึ่งการจับมือของยักษ์ใหญ่สองรายนี้จะทำให้สามารถทิ้งห่างคู่แข่งอื่น ๆ ไปได้อย่างแน่นอน ทำให้ความสามารถในการตอบสนองต่อรูปแบบการใช้ชีวิตของคนในยุคสมัยใหม่ที่ต้องการเอกลักษณ์ส่วนบุคคล การตอบสนองต่อรูปแบบการใช้ชีวิตรายบุคคล รวมถึงสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยเงินทุนที่หนาพอที่จะทำให้เกิดขึ้นในสัดส่วนใหญ่ได้ผ่านระบบดิจิทัล ซึ่งหากเป็นบริษัทขนาดเล็กอาจไม่มีโอกสาเกิดขึ้นได้เนื่อจากขาดแคลนทุนทรัพย์และกำลังคน ในขณะที่ Daimler มองไกลวางแผนทำ JV โดยแบ่งตามภาคส่วนที่ได้เลือกไว้อย่างชัดเจน เช่น ความร่วมมือด้าน EV กับ Geeley เป็นต้น

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง:

Daimler จับมือ Geeley Holding ผลิต EV และยานยนต์อัจฉริยะ

ที่มา:

Blog.daimler.com

Bmwblog.com

Thos
"Judge a man by his questions rather than his answers"
Voltaire
READ MORE
×