Thursday, April 25Modern Manufacturing
×

‘AUTOMATION EXPO 2019’ เน้นประสบการณ์อุตฯ ปักธง EEC พร้อมขยายผลดัน SMEs ทั่วไทยเข้าถึงเทคโนโลยีอัตโนมัติ

งานแสดงเทคโนโลยีและโซลูชันระบบอัตโนมัติที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกครั้งที่ 2 ปีนี้พบกับสินค้า สําหรับระบบอัตโนมัติ (Automation) มากมาย อาทิ หุ่นยนต์อุตสาหกรรม อุปกรณ์ออโตเมชัน ระบบการควบคุม การผลิต-แรงงาน ระบบคลังสินค้า บาร์โค้ด จากซัพพลายเออร์ชั้นนํากว่า 80 รายที่นําไปจัดแสดงเต็มพื้นที่ กว่า 5,000 ตร.ม. การสัมมนาฟรี 45 หัวข้อจากวิทยากรชั้นนําของเมืองไทย และการสาธิตเชิงปฏิบัติการของ ระบบการผลิตแบบดิจิทัล เตรียมพร้อมยกระดับสู่ SMART FACTORY โดย Automation Expo จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 14-16 มีนาคม 2562 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาตินงนุช พัทยา จ.ชลบุรี

‘AUTOMATION EXPO 2019’ เน้นประสบการณ์อุตฯ  ปักธง EEC พร้อมขยายผลดัน SMEs ทั่วไทยเข้าถึงเทคโนโลยีอัตโนมัติ

‘AUTOMATION EXPO 2019’ เน้นประสบการณ์อุตฯ  ปักธง EEC พร้อมขยายผลดัน SMEs ทั่วไทยเข้าถึงเทคโนโลยีอัตโนมัติ

คุณเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และประธานสายงานส่งเสริม และสนับสนุนอุตสาหกรรม กล่าวถึงระบบอัตโนมัติ (Automation) ซึ่งจะมีผลมากยิ่งขึ้นต่อภาคอุตสาหกรรมใน อนาคตว่า “การเกิด Disruptive Technology ในปัจจุบัน ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องปรับตัว เพิ่ม ประสิทธิภาพในภาคการผลิตและพัฒนากระบวนการผลิต เพื่อยกระดับไปสู่อุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนํานวัตกรรมที่ทันสมัย เช่น ระบบอัติโนมัติ (Automation) เข้ามา ใช้ในกระบวนการผลิต พร้อมให้ความสําคัญกับการวิจัยและพัฒนา (R&D) นําเทคโนโลยีด้านสารสนเทศมาช่วยอํานวย ความสะดวกในการดําเนินธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) และการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) อย่างเป็นระบบ จะช่วยให้ธุรกิจก้าวผ่านวิกฤตและเกิดความยั่งยืนได้”

ทั้งนี้ จากผลการสํารวจ CEO Survey จาก “นิด้าโพล” ร่วมกับ “สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย” (ส. อ.ท.) ล่าสุดระบุว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจอีอีซีจะเป็นตัวชูโรงดันเศรษฐกิจ ไทยให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ผู้บริหารระดับสูงส่วนใหญ่ถึง 64.55% ฟันธงว่าปัจจัยที่ส่งผลดึงดูดการลงทุนทาง เศรษฐกิจและอุตสาหกรรมจากนานาชาติเข้ามาในไทย คือ ความคืบหน้าของการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ของภาครัฐที่เข้าสู่ช่วงการก่อสร้างมากขึ้น ส่วนแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยในปี 2562 คือ นโยบายส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

ความคืบหน้าล่าสุดของโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี ซึ่งเป็นอีกหนึ่งอภิมหาโปรเจกที่รัฐบาลตั้งใจจะใช้เป็นแรงดึงดูดเม็ดเงินลงทุนและเรียกความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ โดยขณะนี้ คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานได้อนุมัติแผนปฏิบัติการ 8แผนงาน ประกอบด้วย แผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ แผนการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา ท่าเรือสัตหีบ และ บริหารโลจิสติกส์ต่อเนื่อง,แผนการพัฒนา 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย,แผนการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเท่ยีว, การพัฒนาศูนย์กลางธุรกิจ และศูนย์กลางการเงิน, แผนการพัฒนาบุคลากร การศึกษา วิจัย และเทคโนโลยี, แผนการ พัฒนาเมืองใหม่ และชุมชน เป็นต้น

นอกจากนี้ยังได้กําหนดโครงการจําเป็นและเร่งด่วนขึ้นมา (ต้องเร่งทําก่อน) เช่น โครงการรถไฟควา มเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา เป็นเมืองการบินภาคตะวันออก โครงการท่าเรือแหลมฉบัง ระยะ ที่ 3 โครงการท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3 และโครงการรถไฟทางคู่เชื่อม 3 ท่าเรือ รวมถึงการพัฒนาเขตนวัตกรรม ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรืออีอีซีไอ และการพัฒนาเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล หรือ อีอีซีดี ฯลฯ

อย่างไรก็ดี ยังมีการรับรู้ที่ไม่ถูกต้องนักเกี่ยวกับระบบอัตโนมัติและอีอีซี โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบการ ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กหรือ SME นั่นคือ บางรายคิดว่านี่เป็นเฉพาะเรื่องของธุรกิจในอีอีซีที่จะได้รับผล บาง รายคิดว่าการลงทุนหรือการปรับตัวเป็นเรื่องของ Large Enterprise การลงทุนคือต้องซื้อหุ่นยนต์ราคาหลายล้านโดยไม่รู้จะคืนทุนเมื่อใด หลายรายรอลอกสูตรสําเร็จจากคู่แข่ง หรือหนักหน่อยก็เพียงแต่เฝ้ารอว่าเมื่อไหร่เศรษฐกิจจะดีขึ้น จะมีออเดอร์ใหม่ ๆ เข้ามาจากต่างประเทศหรือโครงการขนาดใหญ่ ฯลฯ

SME ไทยวันนี้จะมัวแต่รอไม่ได้ ไม่ว่าจะอยู่ในอีอีซีหรือไม่ จะได้รับผลกระทบจากการแข่งขันระหว่างประเทศ หรือยัง แนวคิด Industry 4.0 ของเยอรมนีหรือ Connected Industry ของญี่ปุ่นไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป การ ปรับตัวไม่ใช่แค่เรื่องหุ่นยนต์และสามารถเริ่มได้เร็วกว่าที่คิด

สําหรับการปรับตัวของ SME ไทยที่เราอยากเห็นอาจเป็นได้ด้วยแรงผลักดันต่าง ๆ เช่น การตลาด เทคโนโลยี หรือประสิทธิภาพ

ด้านการตลาด

ให้เริ่มก้าวแรกของการหลุดจากวงจร OEM ให้เร็วที่สุด จะไปในทาง ODM หรือ OBM ก็ได้ ขอแค่เริ่มก้าวแรกเดี๋ยวหนทางจะเกิดแน่นอน ขอเพียงอดทนและให้เวลากับมัน การเดินทางนี้ตอ้ ง เสาอากาศกว้างไกล รู้จักทั้งคู่แข่ง คู่ค้า ลูกค้า และหน่วยงานวิจัยสนับสนุนต่าง ๆ ให้มาก ก็จะช่วยลด ภาระหรือความเสี่ยงในการลงทุนด้านการพัฒนาสินค้าด้วยตัวเอง

ด้านเทคโนโลยี

ปฏิเสธไม่ได้ว่าการผลิตในยุคใหม่นี้บางอย่างต้องลงทุนเทคโนโลยีจริง ๆ เช่น การผลิต สินค้าที่ Precision สูงมาก ๆ จนเครื่องจักรเดิมไม่อาจรองรับหรือทํามาตรฐานได้ไม่สูงพอ ไปจนถึง ระบบการผลิตที่เครื่องจักรเดิมทําไม่ได้เลย การเดินทางนี้อาจเสี่ยงหน่อยเพราะต้องอาศัยความเร็ว แต่ก็ เป็น High-Risk High-Return เพราะมีโอกาสกําไรและสร้างความได้เปรียบแบบ First-Comer Advantage

ด้านประสิทธิภาพ

เป็นเรื่องที่ควรตัดสินใจลงทุนได้ง่ายที่สุด ซึ่งที่จริงผู้ประกอบการไทยหลายรายทํามา ตลอด โดยเฉพาะ OEM ที่ส่งงานลูกค้าต่างประเทศ เพราะต้องควบคุมต้นทุนให้แข่งขันได้ แต่เมื่อคุมไป ได้แล้วครั้งหนึ่งก็ยังไม่พอยังโดนกดลงอีกทุกปี ๆ แต่สําหรับ SME แทบจะยังไม่มีการปรับใช้วิทยาการ ใหม่ ๆ เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพหรือลดของเสียในการผลิตเลย ยังอาศัยมนุษย์ในงานที่มนุษย์เองก็มี ขีดจํากัดหรือใช้นโยบายรัดเข็มขัดเพียงอย่างเดียว องค์ความรู้ที่เป็นโมเดลการจัดการด้านประสิทธิภาพ นั้นมีมานานแล้วและมีอยู่มากมาย เช่นเรื่องเกี่ยวกับ Lean ซึ่ง SME ไทยต้องนํามาใช้อย่างเป็นระบบเสียที แม้เราจะเล็กแต่ต้องเป็นเล็กพริกขี้หนู SME จะไม่ได้หมายถึงแค่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาด ย่อม แต่ต้องเป็น Smart Management Enterprise

ผู้ประกอบการต้องลองศึกษาและเลือกว่าประสิทธิภาพด้านใดที่จําเป็นต่อกิจการ เช่น เลือกว่าต้องการ ลดของเสียจากการผลิต ลดเวลาในคลังสินค้าหรือการลําเลียง ลดความเสี่ยงจากการ Turnover ของ คนงาน ลดพลังงาน หรือเลือกเพิ่มความสามารถในการ Monitor การผลิตแบบ Real Time ฯลฯ แง่มุม เหล่านี้สามารถเริ่มได้ไม่ยาก ลงทุนไม่มาก อาจคืนทุนได้ในระยะกลางและคุ้มค่าในระยะยาว

“ขอย้ำว่าผู้ประกอบการไทยต้องเริ่มเรียนรู้ลงทุนเวลากับเทคโนโลยีใหม่ ๆ เมื่อเข้าใจแล้วต้องกลา้ลงทุน

อย่ารอให้ชัวร์ 100% เพราะคู่แข่งจะแซงไปหมด”

‘AUTOMATION EXPO 2019’ เน้นประสบการณ์อุตฯ  ปักธง EEC พร้อมขยายผลดัน SMEs ทั่วไทยเข้าถึงเทคโนโลยีอัตโนมัติ

สุดท้าย คุณเกรียงไกรได้กล่าวถึงงาน AUTOMATION EXPO ว่ามีกลยุทธ์ที่น่าสนใจ เลือก Automation Technology เป็น Core ของการจัดงาน ซึ่งยังสามารถต่อยอดได้อีกหลายมิติ อีกทั้งเริ่มต้นด้วย การจับพื้นที่ใหม่ที่อยู่ในกระแส EEC ซึ่งแม้จะไม่ใช่ Center เหมือนในกรุงเทพฯ แต่ด้วยเป้าหมายที่อยากพัฒนา SME ทั่วประเทศก็นับเป็นการเริ่มต้นที่น่าชื่นชม และหวังว่าจะขยายการจัดงานได้ทั้งขนาดและปริมาณในอนาคต เพื่อประเทศไทยเป็นศูนย์กลางระบบอัตโนมัติได้จริง ๆ ในวันหน้า วันนี้เริ่มจากเป็นผู้ใช้ที่เชี่ยวชาญกันก่อน

คุณธีระ กิตติธีรพรชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรีนเวิลด์ พับลิเคชั่น จํากัด ผู้จัดงาน AUTOMATION EXPO 2019 เผยถึงคอนเซปต์การจัดงานครั้งนี้ว่า บริษัทฯ ยังคงเห็นถึงโอกาสการเติบโตอีกมหาศาลของเทคโนโลยี ระบบอัตโนมัติซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องหุ่นยนต์เท่านั้น แต่ลงลึกไปในเรื่องการปรับสายการผลิตให้ Lean มีประสิทธิภาพ มุ่ง เผยแพร่องค์ความรู้เชิงประยุกต์ให้แก่ผู้ประกอบการและ System Integrators ที่จะหนุนประเทศไทยให้ต่อยอดจาก การเป็นผู้ใช้เทคโนโลยีสู่การพัฒนาเทคโนโลยี

“เราศึกษาเรื่อง Automation Fair ในประเทศที่พัฒนาแล้ว พบว่ามันเป็นเหมือนแหล่งรวม System Integrators ที่มาพบปะแลกเปลี่ยนความรู้ มันไม่ใช่แค่เรื่องหุ่นยนต์หรือเป็นงานแสดงสินค้าเพียงอย่างเดียว แต่ เทคโนโลยีของชิ้นส่วนเครื่องมือหรือเครื่องจักรนั้นถูกนําเสนอในรูปแบบของ Solutions ใหม่ ๆ ที่ช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพสายการผลิตของอุตสาหกรรมต่าง ๆ”

ผู้ประกอบการมองหา Contents ที่ใช่

งาน Automation Expo มีจุดเด่นแตกต่างจากงานแสดงสินค้าทั่วไป เราบริหารจัดการ Database Marketing เพื่อศึกษาความต้องการและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเป็นรายคนรายบริษัท ทําให้เราจับคู่ความต้องการด้าน สินค้าและหัวข้อความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้เรายังนําเสนอระบบ Interactive Registration ที่ผู้ชมงาน สามารถใช้เป็น Electronic Business Card ได้สะดวกกว่าเคย นอกจากนี้ยังใช้ track การเช็คอินเข้าชมจุดต่าง ๆ ในงาน จึงสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ทั้งผู้ชมงานและผู้แสดงสินค้า แนวคิด Contents x Database Marketing ของ กรีนเวิลด์ฯ จึงทําให้ผู้ร่วมงานอย่างมีความมุ่งหมายทีชัดเจนคาดหวังผลลัพธ์ได้

“การที่เราเริ่มต้นในพื้นที่เฉพาะ และจับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะเจาะจงทั้งผู้แสดงสินค้าและผู้ชมงาน แม้จะไม่มี ปริมาณคนมากมาย แต่ทําให้เราโฟกัสการเข้าถึง insight ของแต่ละรายได้อย่างละเอียด ซึ่งแนวทางเหล่านี้เป็นผลมา จากการจัด Business Matching Event และการผลิตสื่ออุตสาหกรรมสิบกว่าปีที่ผ่านมา วงการ B2B อาจไม่หวือหวา เท่า B2C แต่ก็มีขนาดทางเศรษฐกิจที่ใหญ่มหาศาลมาก”

ยังปักหลัก EEC เหมือนเดิม เพิ่มเติมคือ Showcase ใหม่ ๆ

เรายังอยากนําเอาเทคโนโลยีไปนําเสนอให้ใกล้กับผู้ประกอบการหรือแหล่งอุตสาหกรรมในต่างจังหวัด จากข้อมูลที่ผ่านมาเราพบว่ากลุ่มเป้าหมายให้ความสนใจอย่างยิ่งกับการจัดงานในพื้นที่ เพราะแม้วันนี้การเดินทางจะ สะดวกขึ้นประกอบกับช่องทางการสื่อสารออนไลน์ก็เร็วขึ้น แต่การได้สัมผัสได้พูดคุยต่อหน้ายังมีความสําคัญต่อการ สร้างแรงบันดาลใจและการตัดสนิใจทั้งนี้เรายังเป็นผู้นําสื่อออนไลน์ด้านอุตสาหกรรมที่มีการผลิต Contents และรีวิว ต่าง ๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตมาโดยตลอดจึงสามารถวัด Feedback และตอบสนองความสนใจของนัก อุตสาหกรรมได้ดียิ่งขึ้น ปัจจุบันเวบไซต์ mmthailand.com (Modern Manufacturing) มี Traffic เป็นอันดับหนึ่ง ด้วยยอด Pageview กว่า 300,000 views/เดือน และมี SEO ที่ดีมาก ๆ (bounce rate ไม่เกิน 4%)

“สื่อออนไลน์จะไม่เข้ามาแทนที่สื่ออีเวนท์ จะเห็นได้ว่าสื่อออนไลน์พยายามพัฒนาเทคโนโลยีที่จําลอง ประสบการณ์ของสื่ออีเวนท์หรือ human touch ให้สมจริงที่สุดต่างหาก ดังนั้น กรีนเวิลด์จึงมุ่งพัฒนา Omni Channel คือผสาน Online-to-Offline ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด โดยในงาน Automation Expo 2019 ครั้งนี้ เราจัดเตรียม Showcase ดี ๆ เพื่อสร้างประสบการณ์และวิสัยทัศน์แก่ผู้ประกอบการ เรากําลังจะ ได้ระบบ Warehouse จากบริษัทระดับโลกมาจําลองให้เห็นการทํางานการเคลื่อนไหวแบบเหมือนจริง และไฮไลท์ของ เราคือโซน iN-EXPERIENCE ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการ ผู้จัดการโรงงาน วิศวกร ได้สัมผัสประสบการณ์และเห็นภาพของ การประยุกต์ใช้ Automation และ Digital Manufacturing ในส่วนต่าง ๆ ของอุตสาหกรรมแบบบูรณาการ ตั้งแต่ การออกแบบ การผลิต การควบคุม การซ่อมบํารุง การฝึกอบรม ระบบคลังสินค้าอัจฉริยะ ที่ช่วยลดต้นทุนและเพิ่ม ประสิทธิภาพได้จริง”

เดินหน้าพัฒนา Marketplace & Media Platform สินค้าอุตสาหกรรม

“ในแพลตฟอร์มของเรา นักอุตสาหกรรมจะได้รับความรู้ที่ตรงความต้องการ เข้าถึงเทคโนโลยีที่ใช้ได้จริงกลุ่ม Suppliers ก็สามารถจําหน่ายเครื่องมือเครื่องจักรอุตสาหกรรมได้อย่างตรงเป้ารวดเร็ว เป็นวงจรคุณค่าแบบ Win-Win-Win เพราะการพัฒนาอุตสาหกรรมคงปฏิเสธการลงทุนใหม่ ๆ ไม่ได้ สําหรับในงาน Automation Expo 2019 นี้ เราเป็นผู้จัดรายแรกที่กล้าเสนอ แคมเปญ Cash Back สําหรับการสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมสูงสุดถึง 2% ที่ผ่านมาเราเข้าใจดีว่าสินค้าสําหรับโรงงานหรือเครื่องจักรต้องอาศัยเวลาในการตัดสินใจ แคมเปญนี้จึงครอบคลุม ตั้งแต่ช่วงก่อนงาน-จนถึงหลังงานประมาณ 4 เดือน นี่เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ฝั่ง Marketing ที่เราทําเพื่อกระตุ้นการซื้อ-ขาย และคืนกําไรแก่ผู้ประกอบการ” สุดท้ายนี้จึงอยากเชิญชวนผู้ประกอบการ วิศวกร Start-up ในพื้นที่ EEC และจังหวัดใกล้เคียง ร่วมเข้าชม เทคโนโลยีและงานสัมมนาดี ๆ ที่ให้ความรู้ด้าน Automation การลงทุน และเพิ่มผลผลิต เรายังคงมีสัมมนา FREE ที่ มีการปรับเสริมจากปีที่ผ่านมากว่า 45 หัวข้อจากกูรูชั้นนําด้านอุตสาหกรรมของประเทศไทย อาทิ สถาบันไทย- เยอรมัน สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ฯลฯ สามารถติดตามและลงทะเบียนได้ทาง www.automation-expo.asia

Thos
"Judge a man by his questions rather than his answers"
Voltaire
READ MORE
×