Tuesday, April 16Modern Manufacturing
×

‘การพัฒนา’ ทางออกของแรงงาน 4.0 กับ Steven Lee

‘การพัฒนา’ ทางออกของแรงงาน 4.0 กับ Steven Lee

“คุณย้ายคนออกจากสภาพแวดล้อมที่อันตราย ให้เขาอยู่ในสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนให้เขามีความคิดสร้างสรรค์ ให้ได้สร้างคุณค่า พวกเขาไม่จำเป็นต้องมาควบคุมเครื่องจักรก็ได้นะแทนที่จะควบคุมเครื่องจักรก็เขียนซอฟท์แวร์ควบคุมเครื่องจักรแทน” Steven Lee รองประธานฝ่ายขายและบริการ Shieh Yih Machinery Industry Co., Ltd.

‘การพัฒนา’ ทางออกของแรงงาน 4.0 กับ Steven Lee

ความหวาดกลัวของผู้คนที่มีต่อระบบ Automation ในประเทศไทยถูกส่งผ่านบทความและการแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก หนึ่งในข้อมูลที่ชัดเจน คือ ผลสำรวจของ MM Thailand ‘คุณคิดว่าสายงานของคุณจะถูก “แทนที่” ด้วยระบบอัตโนมัติหรือไม่’  ผ่าน Facebook พบว่ากว่า 95% ของผู้ร่วมกิจกรรม 313 ท่าน คิดว่าสายงานของตัวเองนั้นถูกแทนที่ ในขณะที่มีเพียง 5% คิดว่าไม่ถูกแทนที่อย่างแน่นอน ตอกย้ำความไม่เข้าใจถึงบทบาทที่แท้จริงของ Automation ที่เข้ามาเพิ่มความสามารถในการทำงานและลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้น

‘การพัฒนา’ ทางออกของแรงงาน 4.0 กับ Steven Lee

Steven Lee รองประธานฝ่ายขายและบริการ Shieh Yih Machinery Industry Co., Ltd. จากประเทศไต้หวัน ได้พูดคุยกับ MM Thailand ในประเด็นด้านความกังวลเกี่ยวกับการเข้ามาของ Automation จากแฟนเพจ MM Modern Manufacturing (https://www.facebook.com/ModernManufacturingNews) ซึ่งคุณ Steven Lee ได้แสดงความเห็นที่น่าสนใจในหลากหลายประเด็นที่เกี่ยวข้อง

 

‘การพัฒนา’ ทางออกของแรงงาน 4.0 กับ Steven Lee
คุณ Steven Lee รองประธานฝ่ายขายและบริการ Shieh Yih Machinery Industry Co., Ltd.

ความกังวลของแรงงานในการถูกแทนที่

ภายใต้สภาวะแวดล้อมการทำงานที่เต็มไปด้วยเสียงดังวุ่นวาย บั่นทอนสุขภาพทั้งกายและใจ ส่งผลเสียต่อทั้งหู ตา และจมูกของมนุษย์ ภาระงานเหล่านี้ควรเปลี่ยนให้เครื่องจักรทำแทนอย่างรวดเร็วที่สุดโดยไม่ต้องเหลือมนุษย์ทำงานประเภทนี้เลย การแก้ปัญหาดังกล่าวเป็นการเปลี่ยนถ่ายแรงงานจากกระบวนการผลิตทั่วไปสู่กระบวนการผลิตอัจฉริยะ (Smart Production) แรงงานจะใช้ความรู้ความสามารถในการควบคุมงานโดยไม่ต้องลงไปหยิบจับงานด้วยตัวเอง เป็นการใช้เครื่องจักรลงไปทำงานแทนแรงงานเดิมในขณะที่แรงงานเดิม

ประเทศไทยกับการขาดแคลนแรงงานฝีมือ

ไม่ว่าที่ใดในโลกแรงงานฝีมือขาดแคลนทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นจีน อินโดนีเชีย ประเทศไทย หรืออินเดียก็ตามแต่ ทุกที่มีปัญหาเดียวกันกับการขาดแคลนแรงงานฝีมือ เมื่อกล่าวถึงแรงงานฝีมือนั้นมนุษย์มีการเรียนรู้ หลงลืม ป่วยบ้าง บางคนไม่ปฏิบัติตามมาตรการที่วางไว้ มนุษย์จึงเป็นสิ่งที่หาความแน่นอนไม่ได้ในขณะที่เครื่องจักรไม่มีปัญหาเหล่านี้

สำหรับงานที่ต้องทำขั้นตอนซ้ำๆ การใช้เครื่องจักรเป็นทางเลือกที่จำเป็น ใช้เครื่องจักรอัจฉริยะสำหรับงานที่ไม่ใช่การปฏิบัติขั้นตอนซ้ำไปมา และสำหรับงานที่มีคุณค่ากว่านั้นให้แรงงานเป็นคนสร้างมูลค่าขึ้นมา ทุกประเทศมีปัญหาเดียวกัน

ประเทศไทยในปัจจุบันมีความท้าทายด้านพลังงานไฟฟ้า การขาดแคลนแรงงานฝีมือ การลงทุน รวมถึงสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัย ทำให้กระบวนการผลิตอัจฉริยะจะเป็นคำตอบของปัญหาที่เกิดขึ้น แรงงานยังคงเป็นมูลค่าสำคัญในกระบวนการทำงาน ปรับเปลี่ยนการทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมที่อันตรายให้เป็นการทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมที่สนับสนุนให้เกิดมูลค่า ผลักดันความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่จำเป็นว่าต้องควบคุมเครื่องจักรเพียงเท่านั้น แต่การเขียนซอฟท์แวร์สำหรับควบคุมเครื่องจักรนั้นเป็นสิ่งที่มีมูลค่าเช่นกัน การทำงานรูปแบบใหม่มีความปลอดภัยมากกว่า สามารถเพิ่มผลผลิต และเป็นการทำงานที่ต้องอาศัยความรู้ความสามารถเป็นหลัก

จุดแข็งประเทศไทย

ประเทศไทยมีอุตสาหกรรมยานยนต์ที่เข้มแข็งพร้อมประสบการณ์ที่มีมายาวนาน ปัญหาสินค้าเฟ้อล้นตลาดไม่มีอยู่จริง สิ่งเหล่านั้นแสดงให้เห็นถึงวาระที่ต้องยกระดับคุณภาพสินค้าขึ้นไปอีกขั้นด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้น ซึ่งเครื่องจักรจาก SEYI สามารถพัฒนาความศักยภาพในการผลิตเพิ่มคุณภาพของสินค้า ซึ่งการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการละวางสิ่งเก่าที่ไม่ได้คุณภาพลง

ประเทศไทยมีจุดแข็งหลายประการเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน เทคโนโลยีที่ดี สภาพการเมืองที่มั่นคง แรงงานที่มีความสามารถ หากสามารถจัดการกับปัญหาสภาวะการลงทุนในปัจจุบัน แก้ไขปัญหาส่วนแบ่งตลาด การแก้ปัญหาเหล่านี้สามารถเปิดโอกาสไปสู่สิ่งใหม่ได้ การพยายามเก็บรูปแบบเก่าและสร้างสิ่งใหม่ขึ้นมาในเวลาเดียวกันไม่ทำให้ธุรกิจไปรอดหรือเติบโต ทุกผลิตภัณฑ์สามารถอัพเกรดเทคโนโลยีสำหรับการผลิตหรือเพิ่มมูลค่าได้ เช่น การขึ้นรูปโลหะด้วยเครื่อง Servo Press จาก SEYI ที่ใช้การขึ้นรูปเพียงครั้งเดียวด้วยแรงกดที่มากกว่าทำให้ได้วัสดุที่แข็งแรงมากขึ้น และเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยทำให้ลดค่าใช้จ่ายลงได้เป็นอย่างมาก ลดพลังงานลงกว่า 50%  เช่น ชิ้นงานตัวอย่างด้านล่างที่มีขนาดเท่าฝ่ามือแต่สามารถรับน้ำหนักกดทับได้มากกว่า 100 กิโลกรัมโดยไม่เกิดการเปลี่ยนรูปของวัสดุ

‘การพัฒนา’ ทางออกของแรงงาน 4.0 กับ Steven Lee

เมื่อเปรียบเทียบประเทศไทยกับไต้หวันเมื่อ 40 ปีก่อน จากประเทศที่ไม่มีจุดเด่นใดสู่ผู้ส่งออกเครื่องจักรรายใหญ่ สิ่งที่เกิดขึ้น คือ ไต้หวันละทิ้งบางสิ่งเพื่อนำสิ่งที่ใหม่และดีกว่าเข้ามา ประเทศไต้หวันมีลักษณะครอบครัวเป็นคนจีน เกิดการเรียนรู้จากญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและอีกหลากหลายประเภท ก่อให้เกิดการหลอมรวมการเปลี่ยนผ่านจากสถานะหนึ่งสู่อีกหนึ่งสถานะผ่านการเรียนรู้และปรับตัว สิ่งที่ดีเก็บเอาไว้ เลือกเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่ยังสามารถพัฒนาได้ ประเทศไทยต้องค้นหาสิ่งใหม่ๆ ค้นหาคนที่จะช่วยเหลือแนะนำโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงเพราะมีวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งการเรียนรู้ การศึกษา และเทคโนโลยีเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะรูปแบบการจัดการที่เรียนรู้จากหลากหลายประเทศที่จะช่วยพัฒนาการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Ev กับการคุกคามอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย

ยามที่ EV เกิดขึ้นบริษัทรถยนต์ทั้งหลายเหมือนตายไปครึ่งตัว อย่ากังวลเกี่ยวกับ EV  ประเทศไทยมีจุดแข็งสำหรับการแข่งขันในประเทศมากมาย กว่า 60 ล้านคนมีความต้องการที่จะซื้อรถยนต์ ทั้งยังมีทรัพยากรมากมายในการเปลี่ยนเป็นทุนทรัพย์ ทั้งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ยังเป็นเหมือนไข่แดงของ ASEAN กว่าครึ่งหนึ่งของยานยนต์ที่ผลิตในไทยถูกส่งออก ดังนั้นการปรับตัวของผู้ผลิตจึงเป็นสิ่งสำคัญเนื่องจากฐานคู่ค้าเดิมมีเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งหมดเป็นผลมาจากการแข่งขันในตลาดและความต้องการยกระดับคุณภาพชีวิตของแรงงาน สิ่งที่ควรกังวลไม่ใช่ความกลัวต่างๆ การมองปัญหาอย่างเป็นเหตุเป็นผล การตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน และการพัฒนาความสามารถทั้งในระดับองค์กรรวมถึงพนักงานเป็นสิ่งที่ควรใส่ใจมากที่สุดรองจากความปลอดภัย การปรับเปลี่ยนจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ การยอมรับปัญหาและแก้ไขอย่างเป็นระบบเป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและนำไปสู่ทางรอดของธุรกิจได้ในระยะยาว

สามารถติดตามอ่านบทความที่เกี่ยวข้องได้ที่: ระบบ Automation และบทบาทที่เปลี่ยนไปของแรงงาน

Thos
"Judge a man by his questions rather than his answers"
Voltaire
READ MORE
×