Thursday, April 18Modern Manufacturing
×

Exponential Manufacturing | เราจะผลิตอะไรกันในอนาคต

จะเปลี่ยนไปทางไหนล่ะถ้ายังไม่รู้อนาคต? ในฐานะผู้บริหาร เรามีวิสัยทัศน์ไกลพอไหม คมพอไหม หรือยังไม่มีเลย!

เพราะเรื่องของ Disruption ไม่ได้มีอยู่แค่ในธุรกิจไอที สตาร์ทอัพหรืออีคอมเมอร์ซ จะเกิดอะไรขึ้นถ้าโรงงานคุณสุดไฮเทคคะแนนเต็ม 4.0 แต่ดันผลิตสินค้าที่ไม่มีใครซื้อ!

ช่วงนี้มีสินค้าอะไรขายดีบ้าง?

คุ้น ๆ คำถามแบบนี้ไหมครับ หรือที่จริงคุณก็เป็นอีกคนที่ติดกับดักของการเป็นผู้ตามในแบบ me-too products รอดูว่าลูกค้าจะสั่งอะไร ใครผลิตอะไรขายดีแล้วก็ทำตามเขา

อย่าเข้าใจผิด ผมไม่ได้บอกว่ามันเป็นเรื่องเสียหายนะครับ เพราะผู้บริหารบางท่านทำสิ่งนี้อย่างเป็นกลยุทธ์แล้วประสบความสำเร็จทางธุรกิจได้เหมือนกันครับ ซึ่งต้องอาศัยการเป็นคน ‘เสาอากาศ’ กว้างไกล หมั่นดูงานตามติดเทรนด์ บางอย่างผลิตเองแต่บางสิ่งก็จ้างผลิตหรือซื้อมา-ขายไป รู้จังหวะลงทุน เข้าเร็ว-ออกเร็ว เรียกว่าเข้าใจหลัก Product Life Cycle นั่นเอง

Exponential Manufacturing | เราจะผลิตอะไรกันในอนาคต

แต่มันจะดีกว่าไหม ถ้าเรานำหน้าคนอื่นได้เร็วกว่านั้นอีก อาจจะหนึ่งก้าวหรือสิบก้าว ทีนี้มันต้องอาศัยแรงบันดาลใจหรือวิสัยทัศน์ละครับ เพราะการจะ create ทำอะไรที่คนอื่นเขายังไม่ทำกันมันย่อมมีความเสี่ยงอีกทั้งยังต้องต่อสู้กับแรงต่อต้านของทีมงานอีก – แต่ผมเชื่อว่าทุกท่านต้องเคยได้ยินมาแล้ว พวกไอเดียที่ไม่มีใครเชื่อแต่พอทำจริงจังแล้วรวยไม่รู้เรื่อง เข้าทำนอง high risk – high return

ลองดูสมการนี้ครับ ความคิดสร้างสรรค์ = จินตนาการ + การเชื่อมโยง

Exponential Manufacturing | เราจะผลิตอะไรกันในอนาคต

วัตถุดิบที่เราต้องการคือ ‘Contents’ หรือเรื่องราวนั่นเองเองครับ ซึ่งควรเป็นเรื่องราวที่มีคุณภาพ ทันสมัย แปลกใหม่ และที่สำคัญคือห่างไกลจากธุรกิจเดิม ๆ ของเรา ไม่เช่นนั้นการเชื่อมโยงจะไม่เกิด

เกริ่นมาหลายบรรทัด คือจะชวนเจ้าของโรงงาน ผู้บริหาร นักธุรกิจ นักประดิษฐ์ มาร่วมฟังสุดยอด Summit ครั้งแรกในประเทศไทยที่จัดเพื่อ ‘นักอุตสาหกรรม’ โดยเฉพาะ

EXPONENTIAL MANUFACTURING THAILAND 2019

15-16 พฤษภาคม 2019 ณ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ

Exponential Manufacturing | เราจะผลิตอะไรกันในอนาคต

งานนี้จัดโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมกับ Singularity University ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มความรู้ที่โด่งดังที่สุดของโลก ‘SU’ ได้ Disrupt วงการการศึกษาโดยทำลายกรอบโบราณของ ‘มหาวิทยาลัย’ ให้กลายเป็นแพลตฟอร์มที่เชื่อมโยงเครือข่ายเทคโนโลยีระดับก้าวกระโดดเพื่อรองรับความท้าทายของโลกอนาคต ดังนั้น มันไปไกลยิ่งกว่าวาทกรรมเดิม ๆ อย่างเรื่อง ไทยแลนด์ 4.0 หรือทรานส์ฟอร์เมชั่น ที่ภาครัฐพูดจนเราเบื่อจะฟัง ไม่ใช่ว่าคนไทยไม่เก่งนะครับ แต่ถ้าเราจะไปให้สุดต้องไม่หยุดแค่แถวนี้ ลองดูตัวอย่างของ Speakers ระดับโลกของ SU ครับ ว่าน่าสนใจแค่ไหน

เดวิด โรเบิร์ตส

ศาสตราจารย์พิเศษ ด้านนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกผัน

Exponential Manufacturing | เราจะผลิตอะไรกันในอนาคต

เดวิด โรเบิร์ตส เป็นผู้นำในด้านการพัฒนาระบบล้ำสมัยที่ซับซ้อนที่สุดเท่าที่เคยสร้างมาโดยนำดาวเทียม โดรน และศูนย์รวมข้อมูลอัจฉริยะเข้ามาประกอบกัน

เดวิดเป็นประธานบริษัท HaloDrop บริษัทล้ำสมัยที่ให้บริการโดรนทั่วโลก เขายังเป็นประธานบริษัท 1Qbit ซึ่งเป็นบริษัทซอฟต์แวร์สำหรับคอมพิวเตอร์ควอนตัมแห่งแรกของโลก และได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัท Made-In Space ซึ่งเป็นผู้ผลิตวัตถุชิ้นแรกในอวกาศด้วยเครื่องพิมพ์ขึ้นรูปแบบสามมิติที่สถานีอวกาศ


เจสัน ดันน์

ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Made In Space

Exponential Manufacturing | เราจะผลิตอะไรกันในอนาคต

ตรงตามชื่อบริษัทเลยครับ Made In Space (MIS) ได้ชื่อว่าเป็นองค์กรแรกที่ทำการผลิตนอกโลก นับตั้งแต่ได้เริ่มก่อตั้งขึ้น MIS ก็ได้เป็นผู้นำในด้านอุตสาหกรรมอวกาศ โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีการผลิตในอวกาศเพื่อที่จะปลดล็อคภารกิจใหม่ ๆ ทางอวกาศ

เจสัน จบการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท สาขาวิศวกรรมการบินและอวกาศจากมหาวิทยาลัย University of Central Florida เป็นคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านเทคนิคองค์กร Space For Humanity และคณะกรรมการบริหารมูลนิธิ Future Space Leaders Foundation

เขาเชื่อว่าการที่จะแก้ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดของโลกได้นั้น เราต้องทลายกำแพงที่ขวางการเติบโตบนโลกที่จำกัดใบนี้ แล้วนำมนุษยชาติก้าวข้ามไปสู่อวกาศให้จงได้


สก็อต ซัมมิท

ผู้ก่อตั้งบริษัทที่ปรึกษาด้านการออกแบบ Summit ID

Exponential Manufacturing | เราจะผลิตอะไรกันในอนาคต

ซัมมิท ได้ก่อตั้งบริษัท Bespoke Innovations ในปี 2551 โดยได้รับเงินสนับสนุนจาก Venture Capitalist เพื่อศึกษาว่าการสแกนหรือการพิมพ์แบบสามมิติจะช่วยรองรับความต้องการของมนุษย์ที่มีความซับซ้อนได้อย่างไร เช่น การนำไปประยุกต์ใช้ในกรณีของการสูญเสียอวัยวะแขนขา กายอุปกรณ์ โรคกระดูกสันหลังคด และการใส่เครื่องช่วยพยุงหลังการผ่าตัด ในปี 2555 บริษัท Bespoke ได้ถูกซื้อกิจการโดยบริษัท 3D Systems และเขาก็ได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการฝ่ายออกแบบ โดยรับผิดชอบศึกษาทิศทางใหม่ ๆ ในการออกแบบและการพิมพ์แบบสามมิติ

ซัมมิทเป็นเจ้าของสิทธิบัตรด้านการออกแบบกว่า 25 ฉบับ และยังเป็นหนึ่งในคณะกรรมการบริษัทหลายแห่ง เช่น eNable (มือเทียมที่ออกแบบด้วยระบบการพิมพ์ขึ้นรูปแบบสามมิติเพื่อช่วยเหลือเด็ก)


เทอร์ลิฟ วิลบรันดท์

ผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยการสร้างวัสดุเชิงดิจิทัล

Exponential Manufacturing | เราจะผลิตอะไรกันในอนาคต

เทอร์ลิฟเป็นทั้งนักประดิษฐ์ ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการบริษัท Uform ที่ซึ่งเขาสร้างสรรค์เทคโนโลยีจำลองภาพสามมิติโดยใช้วิธีการเชิงปริมาตรที่คิดค้นขึ้นใหม่ เทคโนโลยีฐานตัวใหม่นี้มุ่งที่จะรองรับความซับซ้อนเชิงกายภาพทางเรขาคณิตระดับสูง อภิวัสดุ การหาจุดที่เหมาะสมที่สุดทางเทคโนโลยี การจำลองทางชีวแพทย์ การออกแบบในลักษณะที่มีเงื่อนไข การจำลองแบบหลายระดับ และการผลิตแบบเพิ่มเนื้อวัสดุ กล่าวโดยสรุปก็คือ การสร้างวัสดุเชิงดิจิทัล

เทอร์ลิฟใช้เวลามากกว่าสองทศวรรษในการค้นคว้ากระบวนการออกแบบใหม่ ๆ ที่สามารถแจกแจงความซับซ้อนทางกายภาพและคุณภาพของวัตถุจริงตามธรรมชาติได้อย่างแม่นยำ


ทิม เกอร์เทนส์

Co-Founder ของ MX3D

Exponential Manufacturing | เราจะผลิตอะไรกันในอนาคต

ทิม เคิร์ทเจนส์ คร่ำหวอดอยู่ในวงการวิศวกรรมเครื่องกล และการออกแบบผลิตภัณฑ์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 โดยดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ด้านเทคโนโลยี ให้กับยอริส ลาร์แมน แล็บ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในด้านงานออกแบบการทดลองเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่กำลังจะได้รับการพัฒนาในอนาคต

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเขาได้พัฒนาความรู้ด้านวัสดุที่แปลกใหม่อย่างกว้างขวาง ทิมยังเป็นผู้ร่วมก่อตั้งและเป็นอดีต CEO ของ MX3D บริษัทที่พัฒนาเครื่องพิมพ์ 3 มิติขนาดใหญ่ที่ใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรม 6 แกนซึ่งพวกเขาได้พิมพ์สะพานเหล็ก 3 มิติชิ้นแรกของโลก และสะพานนี้กำลังจะถูกนำไปติดตั้งบนหนึ่งในคลองที่เก่าแก่ที่สุดในกรุงอัมสเตอร์ดัมในปี พ.ศ. 2563

ปัจจุบัน ทิมกำลังทำงานร่วมกับแล็บนี้ในโครงการใหม่และน่าตื่นเต้น และหวังว่าจะได้เห็นสิ่งใหม่ๆ เพื่อจุดประกายโลกในไม่ช้านี้


ดาร่า ดอทซ์

หัวหน้างานออกแบบและผู้ร่วมก่อตั้ง Field Ready

Exponential Manufacturing | เราจะผลิตอะไรกันในอนาคต

ดาร่า ดอทซ์ เป็นผู้บุกเบิกด้านการใช้งานออกแบบและเทคโนโลยีแบบก้าวกระโดดในการแก้อุปสรรคต่าง ๆ ในสภาพแวดล้อมที่จำกัด เธอเดินทางทำงานและศึกษาในประเทศต่าง ๆ กว่า 37 ประเทศ กระทั่งได้ร่วมก่อตั้ง Field Ready ซึ่งเป็นองค์กร NGO ที่มุ่งที่จะจัดการห่วงโซ่อุปทานเพื่อให้ความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรม

Field Ready ได้นำเทคโนโลยีที่สร้างความเปลี่ยนแปลงแบบพลิกผันเข้ามาและสอนให้คนในท้องถิ่นรู้จักนำไปใช้เพื่อผลิตเวชภัณฑ์ที่จำเป็น อะไหล่สำรองในคลินิก อุปกรณ์ต่อท่อน้ำ และอื่น ๆ อีกมากมายในหลายประเทศ เป้าหมายในระยะยาวของ Field Ready ไม่เพียงแต่ช่วยแก้ไขปัญหาความต้องการที่เร่งด่วนเท่านั้น แต่ยังต้องการส่งเสริมให้ชุมชนร่วมมือกันสร้างสรรค์และปรับตัวตามสถานการณ์ต่าง ๆ และเปลี่ยนความช่วยเหลือให้เป็นการค้าได้ด้วย

งานของดาร่ามุ่งไปที่การช่วยให้คนที่อยู่ในสภาวะแวดล้อมที่คับขันสามารถดำรงชีวิตได้ไม่เพียงแต่บนโลกใบนี้แต่รวมไปถึงนอกโลกด้วย

ดาร่ามีความเชี่ยวชาญในด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ ปัจจัยมนุษย์ การสร้างทีม ภาวะผู้นำ และการคิดเชิงออกแบบ จนได้รับยกย่องจากฝ่ายบริหารของประธานาธิบดีโอบาม่าที่ทำเนียบขาวให้เป็น Champions of Change

นอกจากนี้ยังมี Speakers ระดับโลกอีกมากมาย ดูอัพเดทเพิ่มเติม คลิก


บัตรราคาสามหมื่นกว่า แต่คุ้มแน่นอน!

งานนี้ mmthailand.com เราไม่ได้รับจ้างมาเขียนเชียร์แต่อย่างใด ที่บอกว่าคุ้มเพราะนี่คือ ‘อาหารสมอง’ ระดับผู้บริหารที่ต้องการก้าวสู่การเป็น Industrialist ระดับโลก

การได้เจอนักคิด/นักอุตสาหกรรมระดับโลกตัวเป็น ๆ การพบปะคนชั้นนำในแวดวงอุตสาหกรรมไทยที่มีวิสัยทัศน์ ฯลฯ มันคือสภาพแวดล้อมระดับสุดยอดที่หาโอกาสไม่ได้ง่าย ๆ ในประเทศไทย จะเห็นได้ว่า  Speakers งานนี้ต่างจากงาน Technology Summit อื่น ๆ ตรงที่ไม่ได้มาพูดแต่เคสเดิม ๆ เรื่องไอทีแพลตฟอร์มหรืออีคอมเมอร์ซ แต่พวกเขาคือตัวจริงด้านการผลิต ประดิษฐ์คิดค้น ที่มุ่งตอบโจทย์ระดับโลก

ถ้าจะพูดในมุมธุรกิจอุตสาหกรรม ผมคงต้องบอกว่าพวกเขากำลัง ‘สร้างโจทย์ใหม่ ๆ’ ให้กับโลกการผลิตนั่นเอง แล้วจะเป็นอย่างไรถ้าเราสามารถหยิบเอา แนวคิด บางอย่างแค่สัก 5% กลับมาเพื่อต่อยอดไอเดียในแบบของเราเอง

เปลี่ยนจากคำถามเดิม “ช่วงนี้อะไรขายดี” 

เป็น “อนาคตเราจะผลิตอะไรกันดี”

…มา Disrupt ตัวเราเองกันเถอะครับ…

ซื้อบัตรได้ที่ www.singularityuthailandsummit.org

MISTERTEERA
Data is head. Content is heart. My mission is to create the 'Intelligent Industrial Media Platform' which is powered by Data x Contents.

Teera Kittiteerapornchai
Contents Director & CEO of GREENWORLD
READ MORE
×