Thursday, March 28Modern Manufacturing
×

Ford ยกระดับความปลอดภัยในโรงงานด้วยโดรนได้อย่างไร?

บริษัทผู้ผลิตยานยนต์รายใหญ่อย่าง Ford นั้น มีการใช้งานเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในพื้นที่การผลิตอย่างต่อเนื่อง และหนึ่งในเทคโนโลยีที่ได้นำมาใช้เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยของการทำงาน คือ โดรน หรืออากาศยานไร้คนขับ (UAV) นั่นเอง

Ford ยกระดับความปลอดภัยในโรงงานด้วยโดรนได้อย่างไร?

ทำไมถึงคิดที่จะใช้โดรน?

Ford นั้นได้มีการใช้ UAV เพื่อตรวจสอบเครื่องจักรในโรงงานของตัวที่ที่ฐานการผลิตในลอนดอนซึ่งมีขนาดสูงตั้งแต่ 10-60 เมตร ซึ่งหุ่นยนต์ที่ทำงานอยู่ต่างมีสายพ่วงมากมายไม่ว่าจะเป็นสายเคเบิลข้อมูล สายนูแมติก หรือสายไฮดรอลิก พร้อมทั้งยังมีรางด้านหลังที่เก็บสายอีกด้วย

ในอดีตนั้นเคยเกิดเหตุการณ์ที่ฐานการผลิต ณ โรงงาน WIndsor ในอเมริกาเหนือที่รางเก็บสายหลุดและสายเหล่านั้นหล่นกระแทกพื้นทำให้มีผู้บาดเจ็บเกิดขึ้น แต่นับว่ายังพอมีโชคอยู่บ้างที่ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บร้ายแรง ทำให้ Ford ทั่วโลกเพิ่มการตรวจสอบความปลอดภัยให้รัดกุมยิ่งขึ้น

หนึ่งในตัวอย่างมาตรการที่มีการทำงานชัดเจน คือ การผลิตที่ Dagenham ซึ่งมีระบบสายเคเบิลที่เดินไปทั่วโรงงานแต่ละชุดนั้นต้องใช้เวลาตรวจสอบชุดละ 120 ชั่วโมงโดยใช้ทีมงานมากถึง 12 คน ซึ่งการตรวจสอบในระหว่างการผลิตนั้นเป็นไปไม่ได้เลย โรงงานจึงได้เริ่มใช้ระบบกล้องเพื่อตรวจสอบความผิดปรกติในแต่ละจุดแต่นั่นก็ยังไม่สร้างผลลัพธ์ที่แตกต่างอย่างมีประสิทธิภาพมากนัก ซึ่งส่วนมากนั้นไม่สามารถครอบคลุมจุดที่ต้องการได้ ซึ่งหนึ่งในทีมงานที่ร่วมทำงานด้วยได้มีแนวคิดสุดบรรเจิดเกิดขึ้น “ทำไมเราไม่หาเฮลิคอปเตอร์แล้วติดกล้องเข้าไปดูมันซะเลยล่ะ!” ซึ่งเป็นที่มาของการใช้โดรนในการตรวจสอบในปัจจุบัน

Ford กับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากโดรน

การพัฒแนวโครงการใช้โดรนในการตรวจสอบนั้นใช้ระยะเวลายาวนานถึง 5 เดือนโดยที่ทีมงานต้องประเมินความเสี่ยงและต้องออกแบบวิธีในการบินออกไปทำงานแต่ละครั้งให้ชัดเจน ต้องมีเจ้าหน้าที่ 2 คนในการปฏิบัติงาน ได้แก่ เจ้าหน้าที่ควบคุมและเจ้าหน้าที่ประจำจุด การใช้เจ้าหน้าที่ 2 คนนั้นเป็นการยืนยันการทำงานที่มีคุณภาพ เนื่องจากการมองผ่านกล้องนั้นอาจทำให้เห็นสถานการณ์ได้ไม่ครอบคลุมอย่างที่ควร และในขั้นตอนการปฏิบัติงานต้องนำคนออกจากพื้นที่ปฏิบัติงานเพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีใครอยู่ใต้โดรนเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการร่วงหล่นของโดรนและอุปกรณ์

โดรนเหล่านี้ทำหน้าที่เก็บภาพต่าง ๆ ในพื้นที่ได้ อาทิกล้องตรวจจับความร้อน ซึ่งสามารถใช้ตรวจสอบกล่องเกียร์ มอเตอร์ และความแตกต่างของพื้นที่รางเก็บสาย ซึ่งในปัจจุบันได้มีการต่อยอดใช้งานกับการตรวจสอบกล่องเกียร์และมอเตอร์ระดับสูง ตรวจสายไฟฟ้าแรงสูง ตรวจเครื่องผลิตไอน้ำ ท่อต่าง ๆ รวมถึงพื้นที่ที่มักจะส่งเจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุงไปตรวจสอบ และหนึ่งในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงมาก อาทิ ภายในเซลล์การผลิตที่มีหุ่นยนต์ซึ่งมีการป้องกันแน่นหนาทำให้ไม่สามารถตรวจสอบจากภายนอกได้ ปรกติจะต้องให้เจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุงเข้าไปอยู่ในพื้นที่นั้นซึ่งนับเป็นความเสี่ยงที่เลี่ยงไม่ได้ แต่ในปัจจุบันโดรนเข้าไปตรวจสอบโดยไม่ต้องให้ทีมงานเข้าไปเสี่ยงในพื้นที่ด้วยตัวเองแล้ว

ความแตกต่างของการใช้โดรนกับมนุษย์นั้น คือ การมองเห็นในรายละเอียดที่มนุษย์ยากจะเข้าถึงหรือดำเนินการ เช่น การตรวจพบเมอเตอร์ที่ทำงานล้มเหลวอยู่สูงขึ้นไปจากพื้น 5 เมตรซึ่งสามารถสร้างผลกระทบต่อสายการผลิตได้ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลา ต้นทุน ความเสียหายจากความล่าช้า เครื่องจักรพัง แต่การใช้โดรนสามารถตรวจจับการทำงานมอเตอร์ที่ช่วง 71 องศาเซลเซียสได้ ทำให้สามารถวางแผนช่วงเวลาที่ไม่มีการทำงานเพื่อซ่อมบำรุงได้ นอกจากนี้ยังสามารถเก็บข้อมูลพื้นที่จากมุมสูงเพื่อคาดคะเนแนวโน้มความล้มเหลวที่เกี่ยวเนื่องกันได้ ซึ่งการใช้งานโดรนนั้นมีความแม่นยำที่สูงกว่าเนื่องจากสามารถซูมเข้าดูภาพได้อย่างชัดเจนและใกล้ชิดมากกว่าสายตาคนทั่วไป และภาพเหล่านั้นไม่โกหกอย่างแน่นอน 

เมื่อโดรนเป็นความท้าทาย!

ความท้าทายหลักในการใช้งานโดรนในโรงงานหนีไม่พ้นเรื่อง ‘สัญญาณ’ ที่คอยรบกวนกันในพื้นที่รวมถึงสัญญาณ GPS ซึ่งสัญญาณที่เครื่องจักรใช้และสัญญาณของโดรนเกิดชนทับซ้อนกัน นอกจากนี้ยังมีการติดตั้งชิ้นส่วนกันกระแทกที่เมื่อเกิดการกระแทกแล้วโดรนจะเด้งออกเบา ๆ ทำให้ไม่เกิดความเสียหาย 

ทรัพยากรด้านบุคคลจำเป็นอย่างมากสำหรับภารกิจเหล่านี้ โดยผู้ปฏิบัติการณ์ต้องมีความเชี่ยวชาญในการควบคุมโดรน ต้องมีความเข้าใจในการวิเคราะห์ภาพว่าต้องดูจุดไหน ปัจจุบันแบ่งการทำงานเป็น 3 กะ กะละ 24 ชั่วโมง

จะเห็นได้ว่าความท้าทายของการใช้งานโดรนนั้นมีทั้งในรูปแบบของสภาพแวดล้อมและผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งหัวใจสำคัญของปฏิบัติการณ์นี้จะอยู่ที่ทักษะและความรู้ของผู้ปฏิบัติงานเป็นหลัก แน่นอนว่าเครื่องมือนั้นถ้ามีงบถึงหรือขอความร่วมมือก็สามารถมีใช้ได้ แต่การมีทักษะแรงงานที่เข้าใจลักษณะพื้นที่ของโรงงานรวมไปถึงความสามารถในการสังเกตและวิเคราะห์นั้นเป็นสิ่งที่ต้องฝึกฝนอย่างใส่ใจ

ในตอนแรกที่ทีมของ Ford ได้นำโดรนมาใช้นั้นพวกเขาคิดว่ามันเป็นเพียงของเล่นชิ้นหนึ่ง แต่ในที่สุดมันกลายเป็นส่วนหนึ่งของทีมซ่อมบำรุงที่มีประสิทธิภาพในฐานะกุญแจสำคัญสำหรับการป้องกันอันตรายและความล้มเหลวที่เกินความคาดหมาย ลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในปฏิบัติการณ์ทั้งในภาพรวมของธุรกิจและผู้ปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี

ที่มา:
Commercialdroneprofessional.com

Thos
"Judge a man by his questions rather than his answers"
Voltaire
READ MORE
×