Thursday, March 28Modern Manufacturing
×

SMART PRODUCT พัฒนาอย่างไรในยุคอุตสาหกรรม 4.0

การสร้างผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ที่มอบประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า จากกระบวนการวิจัยและพัฒนา ผ่านกระบวนการผลิต การจัดจำหน่ายและการบริการหลังการขาย โดยข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่เปลี่ยนแปลงวิธีการผลิตจะได้รับการดูแลเอาใจใส่คุณภาพเป็นอย่างดี การปฏิบัติตามขั้นตอนที่มีแบบแผนหรือโมเดลผลิตภัณฑ์ที่ใช้กระบวนพัฒนาในหลักแนวคิดใหม่ๆ และมีเครื่องมือในการทำงานที่ชัดเจน จะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์อัจฉริยะตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานมากที่สุด

SMART PRODUCT พัฒนาอย่างไรในยุคอุตสาหกรรม 4.0

นอกจากนี้ การมีแบบแผนการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้งานที่สมเหตุสมผล จะส่งผลให้บริษัทผู้ผลิตสามารถลดความเสี่ยงต่อความล้มเหลวของการสูญเสียเงินและเวลาในการลงทุนจำนวนมหาศาลในการพัฒนาผลิตภัณฑ์

ในปัจจุบันสิ่งของเครื่องใช้ทั้งอุปโภคและบริโภคที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้ถูกพัฒนาให้ตอบสนองต่ออารมณ์ของผู้ใช้งานได้อย่างทันสมัย การสร้างคุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ โดยใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างประสบการณ์และการมีส่วนร่วมระหว่างผู้บริโภคกับตัวสินค้า จึงเป็นสิ่งที่บริษัทผู้ผลิตไม่ควรมองข้าม

ขวดเหล้าอัจฉริยะ (Smart Bottle) และ Kolibree Smart Toothbrush ตามลำดับ
รูปที่ 1: ขวดเหล้าอัจฉริยะ (Smart Bottle) และ Kolibree Smart Toothbrush ตามลำดับ
ที่มาข้อมูลภาพ:
http://www.wired.co.uk/news/archive/2014-01/05/kolibree-smartbrush

บริษัท ‘Diageo’ คือ ผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในแบรนด์ ‘Johnnie Walker’ ได้ออกแบบและพัฒนาขวดเหล้าอัจฉริยะ (Smart Bottle) ที่ใช้งานร่วมกับสมาร์ทโฟน โดยที่ตัวขวดเหล้าใช้เทคโนโลยีเซนเซอร์ที่ตรวจสอบได้ว่าขวดเหล้าดังกล่าวมีการถูกเปิดมาก่อนหน้านี้แล้วหรือไม่ ซึ่งขวดเหล้าสามารถส่งข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ที่สำคัญ เช่น อุณหภูมิที่เหมาะสมในการดื่มเหล้าไปยังสมาร์ทโฟน

เพื่อให้เข้าใจถึงปรากฏการณ์ผลิตภัณฑ์อัจฉริยะระดับสากล ศูนย์รู้ทันสำหรับการทำงานในอนาคต (Cognizant’s Center for the Future of Work) ได้ร่วมมือกับหน่วยข่าวกรองเศรษฐศาสตร์ (Economist Intelligence Unit) ได้มีการสำรวจการออกแบบผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมกว่า 200 รายการ ที่ผู้บริหารระดับสูงในสหรัฐอเมริกาและยุโรปได้กำหนดแผนพัฒนาผลิตภัณฑ์อัจฉริยะที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งกุญแจของความสำเร็จที่สำคัญ คือ

ผลิตภัณฑ์อัจฉริยะมอบสิ่งที่ลูกค้าไม่เคยได้รับประสบการณ์นี้มาก่อนได้อย่างลึกซึ้ง

รายละเอียดของข้อมูลทางกายภาพที่อยู่รอบๆ แสดงให้เห็นว่าลูกค้าใช้หรือมีความประสงค์ที่จะใช้ผลิตภัณฑ์อย่างไร ซึ่งบริษัทสามารถใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์ เพื่อชี้ชัดถึงการเชื่อมต่ออย่างมีความหมายและความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน ตลอดจนกระบวนการผลิต เช่น บริษัท ‘Diageo’ คือ ผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในแบรนด์ ‘Johnnie Walker’ ได้ออกแบบและพัฒนาขวดเหล้าอัจฉริยะ (Smart Bottle) ที่ใช้งานร่วมกับสมาร์ทโฟนโดยที่ตัวขวดเหล้าใช้เทคโนโลยีเซนเซอร์ที่ตรวจสอบได้ว่าขวดเหล้าดังกล่าวมีการถูกเปิดมาก่อนหน้านี้แล้วหรือไม่ ซึ่งขวดเหล้าสามารถส่งข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ที่สำคัญ เช่น อุณหภูมิที่เหมาะสมในการดื่มเหล้าไปยังสมาร์ทโฟน

ผลิตภัณฑ์อัจฉริยะใหม่มีการเปลี่ยนแปลงมาก / น้อยไปจากผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิมหรือไม่

ผลิตภัณฑ์จะแสดงข้อมูลรายละเอียดปลีกย่อยมากขึ้นและใช้งานเฉพาะเจาะจงกับผู้ใช้เพียงบางกลุ่มเท่านั้น ซึ่งแตกต่างไปจากอดีตที่มีเป้าหมายไปที่กลุ่มผู้ใช้ทั่วไปโดยผลิตภัณฑ์อัจฉริยะสามารถเปิดเผยข้อมูลเชิงลึก สำหรับกระบวนและวิธีการผลิต รวมไปถึงการกำหนดราคาขายผ่านช่องทางคู่ค้าโดยตรง นอกจากนี้ บริษัทต้องสามารถคาดการณ์ถึงการเอาชนะคู่แข่งขันในผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกัน รวมไปถึงการเอาชนะใจลูกค้า

ความแปลกใหม่ของผลิตภัณฑ์ อาจส่งผลกระทบไม่เพียงพอต่อรายได้และการทำกำไรมหาศาล

ผลิตภัณฑ์อัจฉริยะที่มีความแปลกใหม่เป็นอย่างมาก คือ โอกาสที่อาจมองข้ามโมเดลธุรกิจรูปแบบเดิมๆ ไปได้ แต่ผลิตภัณฑ์ที่แปลกใหม่ อาจไม่สามารถบ่งบอกถึงรายได้และอัตรากำไรขั้นต้นที่เกิดขึ้นได้ ทั้งนี้ เนื่องจากการวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ที่เกิดใหม่ นักออกแบบผลิตภัณฑ์อาจยอมให้ความคิดที่ถกเถียงกันในระหว่างการออกแบบอยู่เหนือข้อเท็จจริง สำหรับการนำผลิตภัณฑ์ไปใช้งานจริงหรือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิมเป็นเพียงแต่ใช้เทคนิคการเล่นแร่แปรธาตุเท่านั้น ซึ่งไม่ได้ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ที่สร้างขึ้นใหม่มีคุณค่าในตัวผลิตภัณฑ์เอง

การเรียนรู้กับข้อมูลผลิตภัณฑ์ และการแบ่งปันบทสรุปแห่งความสำเร็จร่วมกัน

กลยุทธ์ที่ประสบความสำเร็จของผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ คือ สมองกลฝังตัวอัจฉริยะที่ใช้ในการตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับและการแบ่งปันข้อมูลระหว่างของผลิตภัณฑ์ที่อาจจำเป็นต้องใช้งานร่วมกัน รวมถึงความเชื่อมั่นของลูกค้าที่มีต่อผลิตภัณฑ์ โดยผู้ออกแบบต้องสามารถคาดการณ์ทิศทางของตลาดโดยรวมที่ใช้เงินลงทุนจำนวนมหาศาล ความล้มเหลวของกลยุทธ์จะไม่เกิดขึ้น ถ้าผู้ออกแบบมีการแบ่งปันบทสรุปแห่งความสำเร็จร่วมกันระหว่างบุคลากรในองค์กรเดียวกันหรือต่างองค์กรและสามารถนำเทคโนโลยีเซนเซอร์ต่างๆ เข้ามาประยุกต์ใช้ เพื่อเสริมสร้างจุดแข็งของธุรกิจ เทคโนโลยีนี้จะสามารถเข้าสู่ตลาดผู้บริโภคอย่างแท้จริง

แนวโน้มที่สำคัญในการขับเคลื่อนผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ

ปัจจุบันมีอุปกรณ์แกดเจ็ตจำนวนมากที่ควบคุมผ่านแอปพลิเคชั่นโทรศัพท์มือถือและฟีดข้อมูลส่วนบุคคลที่มีคลาวด์เป็นส่วนขับเคลื่อนที่น่าสนใจในการใช้งานบนอินเทอร์เน็ตออฟธิง (Internet of Thing: IoT)ของระบบการใช้งานขนาดใหญ่ เช่น การเชื่อมต่อระบบภายในบ้านอัตโนมัติ (Smart Home) กับโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ หรือ ‘Smart Grid’ ที่เป็นโครงข่ายอัจฉริยะที่เชื่อมโยงระบบไฟฟ้า ระบบสารสนเทศและระบบสื่อสารเข้าไว้ด้วยกัน การเชื่อมต่อระบบคลาวด์กับระบบรถยนต์และสมาร์ทซิตี้ เป็นต้น

เทคโนโลยีของอินเทอร์เน็ตออฟธิงยังออกแบบใช้งานกับอุปกรณ์ใช้งานขนาดเล็ก เช่น ‘Kolibree Smart Toothbrush’ คือ แปรงสีฟันอัจฉริยะที่สามารถเชื่อมต่อกับแอปพลิเคชั่นบนมือถือแบบไร้สาย เพื่อตรวจดูว่าแปรงฟันสะอาดหรือยังสามารถรองรับการใช้งานทั้ง iOS และ Android ดังรูปที่ 1 และไม้เทนนิสอัจฉริยะที่เชื่อมต่อกับแอปพลิเคชั่นบนมือถือแบบไร้สาย สำหรับการวิเคราะห์ท่าทางลักษณะการตีไม้เทนนิส รวมไปถึงคำนวณความเร็วและความแรงของลูกเทนนิสที่ตี เป็นต้น

องค์ประกอบหลัก 3 ส่วนของผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ

  1. Smart Component ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ให้ผลิตภัณฑ์มีรหัสประจำผลิตภัณฑ์เสมือน รวมถึงเซนเซอร์และการประมวลผล การจัดเก็บข้อมูล การควบคุมและซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์จะเก็บข้อมูลในระบบปฏิบัติการสมองกลฝังตัวและการเข้าถึงผ่านระบบยูสเซอร์อินเตอร์เฟซที่เพิ่มหรือผ่านทางแผงควบคุมระยะไกล เป็นต้น
  2. Connectivity พอร์ต เสาอากาศและโปรโตคอลซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้การเชื่อมต่อแบบมีสายหรือไร้สายกับผลิตภัณฑ์ไม่ว่าสถานการณ์และสถานที่ใดๆ ก็ตาม ที่ลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลได้จากแอปพลิเคชั่นและเว็บไซต์ของลูกค้าได้อย่างสะดวกสบาย
  3. Physical Component ชิ้นส่วนทางกายภาพและทางไฟฟ้าของผลิตภัณฑ์จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ยอมรับ โดยชิ้นส่วนทางกายภาพและอุปกรณ์ส่วนไฟฟ้าจะมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มชิ้นส่วนของวัสดุใหม่ๆ เข้าไปในส่วนประกอบหรือกระบวนการที่เกี่ยวข้องในการผลิตที่ทำให้ผู้ใช้งานเกิดความสะดวก โดยใช้ข้อมูลและการวิเคราะห์ของบริษัทที่สามารถคาดการณ์พฤติกรรมผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่สามารถตีความหมายของข้อมูลและการคาดการณ์ได้ว่า ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวนี้ช่วยแก้ปัญหาความต้องการในปัจจุบันและอนาคตได้อย่างไร ฟังก์ชั่นของผลิตภัณฑ์จะเป็นสิ่งที่ถูกควบคุมอย่างเข้มงวดมากขึ้น

รวมไปถึงการเพิ่มประสิทธิภาพ ที่จำเป็นต้องเอาใจใส่ในส่วนของเวิร์กโฟลว์นวัตกรรมที่เชื่อมต่อผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของบริษัทเข้าด้วยกัน อาทิเช่น บ้านที่เชื่อมต่อกับรถยนต์และเชื่อมโยงกับสมาร์ทซิตี้ โดยแต่ละสแต็คของการเชื่อมต่อผลิตภัณฑ์ที่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้งานแบบครบวงจรที่ควบคุมผ่านแพลตฟอร์มเดียวหรืออินเตอร์เฟซที่บูรณาการอย่างเต็มที่และสามารถแก้ปัญหาได้อย่างอัตโนมัติ

การสร้างสรรค์คุณค่าของผลิตภัณฑ์อัจฉริยะจากแก่นแท้

องค์ประกอบหลัก 3 องค์ประกอบ ที่ผู้ออกแบบสามารถนำไปใช้ยกระดับผลิตภัณฑ์สู่สถานะ ‘อัจฉริยะ’ ทั้งนี้ อาจเป็นการนำองค์ประกอบทางกายภาพของผลิตภัณฑ์แบบดั้งเดิมมาพัฒนาให้ทันสมัยขึ้น โดยใช้ ‘ส่วนประกอบดิจิตอล’ ซึ่งส่วนประกอบดิจิตอลเหล่านี้รวมถึงเซนเซอร์และการประมวลผล การควบคุมซอฟต์แวร์และการจัดเก็บข้อมูลที่สามารถเข้าถึงได้ผ่านทางอินเตอร์เฟส และเชื่อมต่อกับ IP ของผลิตภัณฑ์ที่สามารถสื่อสารทุกๆ สถานที่หรือสภาพแวดล้อมทั่วๆ ไป โดยผลิตภัณฑ์อัจฉริยะหมายถึงผลิตภัณฑ์ที่สามารถเชื่อมต่อสื่อสารกันระหว่างอุปกรณ์กับอุปกรณ์หรืออุปกรณ์กับผู้ใช้งานและต่อกับการบริการอื่นๆ

การเข้าใจลูกค้าเป็นหัวใจหลักที่สำคัญของวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์

ข้อมูลที่ใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์อัจฉริยะจัดเป็นข้อมูลแบบเชิงลึก ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากลำบากที่จะนำข้อมูลเหล่านี้ไปสู่การปฏิบัติ เพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้าใจอย่างถ่องแท้ได้ การเอาใจใส่ต่อสิ่งนี้อย่างจริงจังในขั้นตอนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เมื่อนำจำหน่ายออกสู่ตลาด บริษัทที่มีผลิตภัณฑ์ที่ดีจะสร้างความได้เปรียบแหงผลกำไรมากกว่าบริษัทคู่แข่งได้อย่างแตกต่างชัดเจน ดังนั้น การก้าวไปสู่เศรษฐกิจผลิตภัณฑ์อัจฉริยะการเข้าใจลูกค้าบริษัทจึงควรนำมาเป็นวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์

การสร้างประสบการณ์การใช้งานซอฟต์แวร์ให้กับลูกค้า

การเพิ่มประสบการณ์สำหรับการใช้งานของลูกค้าที่จะได้รับอิทธิพลจากคุณภาพของการอินเตอร์เฟซแบบดิจิตอลของผลิตภัณฑ์อัจฉริยะที่ต้องคำนึงถึงการตอบสนองของลูกค้าต่อสินค้าที่สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานของผลิตภัณฑ์ เช่น ไม้เทนนิสสมาร์ทที่มีการโต้ตอบกับแอปพลิเคชั่นที่จะติดตามการแกว่งทางกลศาสตร์ของมือและแขนในการเล่นเทนนิสเป็นต้น ดังนั้น การอินเตอร์เฟซนี้เป็นสิ่งที่ผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์อัจฉริยะไม่ควรมองข้าม

เนื่องจากคุณภาพการปฏิสัมพันธ์ของซอฟต์แวร์จะเป็นสิ่งประกันความสำเร็จของผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบ ทั้งนี้ การอินเตอร์เฟซจำเป็นต้องใช้งานและปรับแต่งได้ง่ายอีกด้วย การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีความแปลกใหม่และไม่ซ้ำกัน เพื่อให้แรงผลักดันนวัตกรรมอัจฉริยะใหม่ให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

บริษัทฯ ควรนำเทคโนโลยีเซนเซอร์ต่างๆ เข้ามาประยุกต์ใช้ เพื่อเสริมสร้างจุดแข็งของธุรกิจเทคโนโลยีนี้ เพื่อให้สามารถเข้าสู่ตลาดผู้บริโภคอย่างแท้จริง แต่อย่างไรก็ตามนักออกแบบผลิตภัณฑ์อัจฉริยะ อย่าพยายามใส่ใจเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์และคุณสมบัติต่างๆ ของผลิตภัณฑ์มากจนเกินไปกว่าการจดจ่อกับความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก ซึ่งอาจส่งผลต่อการใช้งานผลิตภัณฑ์ที่ไม่เกิดความสะดวกสบายและไม่สอดคล้องกับการใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย (Life Styles)

EXECUTIVE SUMMARY

Cognizant’s Center for the Future of Work cooperating with Economist Intelligence Unit investigate design of the product and innovative more than 200 accounts which senior manager from U.S.A. and Europe has settled the development plan for smart product that succeed. The keys for success are smart product gave in – depth experience that the customer never met anywhere before and new smart product has a little / big changed from the old one or not. Product’s innovative could effect on benefit and profit but still lacking in term of mass income, also learning and product’s detail including sharing the conclusion of success together.

Modern Manufacturing on FacebookModern Manufacturing on Youtube
Modern Manufacturing
Web Admin
 
นำเสนอข่าวสารความรู้รอบด้านเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการผลิต เพื่ออุตสาหกรรมไทยก้าวหน้าด้วยวิทยาการสมัยใหม่และเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
READ MORE
×