Thursday, April 25Modern Manufacturing
×

Sovereign Cloud เครื่องมือสำคัญในการปกป้องอธิปไตยข้อมูลของธุรกิจยุคดิจิทัล

ธุรกิจจำนวนมากในปัจจุบันหันมาใช้งาน Cloud เพื่อลดต้นทุน เพิ่มความยืดหยุ่น (Resilient) ในการทำธุรกิจ ทั้งยังหมายมั่นปั้นมือในเรื่องของระบบสำรองและความปลอดภัยในการใช้งานต่าง ๆ ทำให้ Cloud กลายเป็นส่วนสำคัญของธุรกิจยุคใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจการผลิตที่ใช้ทั้งการควบคุม บริหารจัดการทรัพยากร การ Monitoring ไปจนถึงการทำ Digital Twin แต่เคยตั้งคำถามกันไหมครับว่า Cloud ที่ใช้งานกันอยู่นั้นมีความปลอดภัยจริงหรือไม่? แล้วถ้าจะลงรายละเอียดเพิ่มเติม ความปลอดภัยที่มีนั้นอยู่ในระดับที่ทำให้ธุรกิจของคุณนั้นปราศจากความเสี่ยงร้ายแรงหรือเปล่า? ลองมาทำความรู้จักกับ Sovereign Cloud กุญแจสำคัญสำหรับอธิปไตยของข้อมูลยุคดิจิทัล (Digital Sovereignty) ในแพลตฟอร์มออนไลน์ของธุรกิจยุคใหม่กันครับ

Sovereign Cloud เครื่องมือสำคัญในการปกป้องอธิปไตยข้อมูลของธุรกิจยุคดิจิทัล
Sovereign Cloud เครื่องมือสำคัญในการปกป้องอธิปไตยข้อมูลของธุรกิจยุคดิจิทัล

การใช้งาน Cloud ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างพื้นฐานสำหรับธุรกิจยุคใหม่ ด้วยเหตุผลด้านความสะดวกสบาย การลดต้นทุน และอีกส่วนที่ผู้คนให้ความสำคัญกันมากที่สุด ‘ความปลอดภัย’ ในปัจจุบันมีผู้ให้บริการ Cloud เกิดขึ้นมากมายทั่วโลก และบริการที่เกิดขึ้นโดยมี Cloud เป็นพื้นฐานนั้นก็มีจำนวนมหาศาลยิ่งกว่า ยกตัวอย่างเช่น แพลตฟอร์มสำหรับ CRM, การใช้งาน ERP, กิจกรรมแบบ Real-time Interactive ไปจนถึงแพลตฟอร์มการบริหารจัดการในโรงงาน โดยหนึ่งในจุดขายของผู้ให้บริการเหล่านี้ คือการใช้งานบนแพลตฟอร์มของ Cloud ที่มีชื่อเสียงเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการรับประกันว่าระบบของตัวเองมีความน่าเชื่อถือและมีความปลอดภัย แต่สงสัยกันหรือไม่ว่าความปลอดภัยที่ว่าในโลกของ Cloud นั้นคืออะไร?

‘Digital Sovereignty’ ความมั่นคงของทุกธุรกิจในยุคดิจิทัล

เมื่อเทคโนโลยีดิจิทัลกลายมาเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการแข่งขันในยุคปัจจุบันความเป็นดิจิทัลมีความเกี่ยวข้องกับทุกธุรกิจไม่ว่าจะเป็น ภาครัฐ, แวดวงการเงินการธนาคาร, โรงงานอุตสาหกรรม, โรงพยาบาล และอื่น ๆ อีกมากมายซึ่งครอบคลุมกระบวนการการทำงานภายในไม่ว่าจะเป็นการจัดซื้อจัดจ้าง บัญชี การผลิต การตลาด การวิจัยและพัฒนา ตั้งแต่เรื่องพื้นฐานอย่างเอกสารไปจนถึงการใช้งานเครื่องจักรอัตโนมัติ แน่นอนว่าในกระบวนการเหล่านี้มีข้อมูลอ่อนไหวหรือข้อมูลลับของบริษัทอยู่จำนวนไม่น้อย ข้อมูลที่เกิดขึ้นเหล่านี้จึงเปรียบเสมือนเป็นน้ำมันแห่งยุคใหม่ กล่าวคือ ข้อมูลมีมูลค่ามหาศาลนั่นเอง

เมื่ออยู่ในยุคที่ใคร ๆ ต่างก็ใช้ข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล แต่หลายคนอาจหลงลืมไปว่าดิจิทัลเองก็ไม่ได้สมบูรณ์แบบไปเสียทุกอย่าง ในข้อดีก็ยังมีข้อพึงระวัง เมื่อส่งไฟล์ง่าย เก็บรักษาได้นาน ก็หมายความว่าถูกทำสำเนาหรือคัดลอกได้ง่ายโดยไม่รู้ตัว ไปจนถึงการเข้าควบคุมสิทธิ์หรือยึดครองระบบอย่างไม่ถูกต้องก็เกิดขึ้นได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามสถานการณ์เลวร้ายสูงสุดเหล่านี้ล้วนเกิดมาจากรอยร้าวหรือรอยรั่วในระบบที่มาจากประเด็นเล็กน้อย ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลหรือการใช้งาน การดูแลและป้องกันความปลอดภัยให้กับแหล่งเก็บข้อมูล ซึ่งหัวใจสำคัญในการจัดการปัญหาเหล่านี้ คือ การมีอธิปไตยด้านดิจิทัล (Digital Sovereignty) อย่างแท้จริง

อธิปไตยด้านดิจิทัลคืออะไร? World Economic Forum ได้ให้ความหมายของ ‘อธิปไตยด้านดิจิทัล’ เอาไว้ดังนี้ ‘อธิปไตยด้านดิจิทัล คือ ความสามารถในการควบคุมและบริหารจัดการสินทรัพย์หรือข้อมูลดิจิทัลของตัวเองได้อย่างครบสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูล ฮาร์ดแวร์ หรือซอฟต์แวร์ที่ใช้หรือสร้างขึ้นมา’

การทำงานยุคปัจจุบันที่เน้นการเชื่อมต่อกับโลกภายนอกเพื่อลดภาระต้นทุนต่าง ๆ ทั้งยังเพิ่มความคล่องตัวในการทำงาน ข้อมูลภายในก็จะสามารถเข้าถึงได้จากภายนอกได้อย่างสะดวกสบาย คำถามที่สำคัญที่กระทบถึงความมั่นคงและปลอดภัยของข้อมูล คือ ใครสามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้บ้าง? ข้อมูลเหล่านี้ถูกเก็บรักษาไว้ที่ไหนหรือถูกคัดลอกไว้ที่ใดบ้าง? สามารถไว้วางใจในการดูแลข้อมูลเหล่านี้ได้มากแค่ไหน? และถ้าหาก Cloud ที่คุณใช้บริการนั้นมีการจัดเก็บข้อมูลนอกประเทศจะมั่นใจได้อย่างไรว่าคุณสามารถครอบครองและบริหารจัดการอธิปไตยของข้อมูลคุณได้อย่างเต็มศักยภาพ หากเกิดสงครามหรือโรคระบาดขึ้นมาข้อมูลเหล่านั้นจะไม่สูญหายไปหรือสามารถสำรองข้อมูลได้ทันท่วงที 

ลองจินตนาการดูว่าหากข้อมูลของเรา เช่น เลขบัตรเครดิต, ข้อมูลการรักษาและสุขภาพ รวมไปถึงข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ หรือประวัติการทำธุรกรรมต่าง ๆ สูญหาย, หลุดไปถึงมือคู่แข่งหรือผู้ไม่ประสงค์ดี คนเหล่านั้นสามารถรู้รูปแบบของพฤติกรรมหรือกิจกรรมของเรามากกว่าที่เราเองรู้จักและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในทางที่ไม่ดีได้ หากคู่แข่งสามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกและต่อยอดได้สำเร็จล่ะ? ความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจก็จะหมดสิ้นลงแทบจะในทันที 

ในกรณีของความเสียหายส่วนบุคคล ข้อมูลที่รั่วไหลหรือถูกผู้อื่นเข้าถึงได้จะสามารถถูกนำไปปลอมแปลงตัวตนเพื่อทำผิดกฎหมายโดยที่เจ้าของข้อมูลอาจไม่รู้ตัว หรือในกรณีที่เลวร้ายที่สุดอาจส่งผลต่อชีวิตได้ไม่ยาก เช่น การเจาะข้อมูลจาก Cloud ที่ Smart Device ส่งข้อมูลขึ้นไปทำให้รู้ถึงข้อมูลสุขภาพ การเดินทาง ไปจนถึงทรัพย์สินดิจิทัลที่ถือครอง เพิ่มโอกาสที่จะเกิดความสูญเสียจากการใช้ข้อมูลเหล่านี้ได้ไม่ยากใช่ไหมครับ?

ในกรณีของโรงงานอุตสาหกรรมสมัยใหม่ หากมีผู้สามารถเข้าถึงการควบคุมระบบต่าง ๆ โดยไม่ได้รับสิทธิ์ ความเสียหายที่เกิดขึ้นคงไม่อาจจินตนาการได้ครบถ้วนกันเลยทีเดียว ยกตัวอย่างเช่น การตัดระบบควบคุมความปลอดภัย การปิดระบบระบายอากาศ การเข้ารหัสข้อมูลสำคัญทำให้ไม่สามารถเข้าถึงหรือใช้งานได้ ตลอดจนการเข้าถึงข้อมูลของคู่ค้าและพันธมิตรต่าง ๆ ซึ่งความเสียหายเหล่านี้เรียกได้ว่าสามารถลุกลามได้อย่างรวดเร็ว เป็นหายนะที่กู้คืนและแก้ไขได้ยาก เพราะเมื่อข้อมูลรั่วไหลเข้าสู่ระบบเครือข่ายสากลแล้วการติดตามเพื่อระงับหรือทำลายข้อมูลทั้งหมดเรียกได้ว่าแทบเป็นไปไม่ได้เลยในยุคปัจจุบัน ความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่ใช่แค่ธุรกิจ แต่ยังเป็นความเสียหายต่อความไว้วางใจในธุรกิจจากคู่ค้าและพันธมิตรอีกด้วย เมื่อเราไม่อาจกำหนดหรือควบคุมสิทธิ์ใด ๆ ในข้อมูลของเราได้ เมื่อนั้นเราก็ไม่ได้มีอธิปไตยเหนือข้อมูลของเราเองอีกต่อไปไม่ว่าจะเป็นข้อมูลส่วนบุคคลหรือภาคธุรกิจ

แนวคิดเรื่องอธิปไตยข้อมูลจึงกลายเป็นประเด็นที่ภาครัฐและเอกชนทั่วโลกต่างตื่นตัวและให้ความสำคัญอย่างมาก ไม่ใช่เพราะมูลค่าเพียงอย่างเดียว แต่ยังหมายรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลและความปลอดภัยในภาพใหญ่อย่างเศรษฐกิจอีกด้วย ซึ่งในกรณีของการใช้งาน Cloud นั้นเรียกได้ว่ามีความเกี่ยวข้องกับอธิปไตยด้านข้อมูลในระดับฝังรากลึกตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐานเลยทีเดียว

ข้อมูลจากสหภาพยุโรปเปิดเผยว่าข้อมูลกว่า 92% ในโลกตะวันตกนั้นอยู่ที่เซิร์ฟเวอร์ในสหรัฐอเมริกา ข้อมูลกิจกรรมทั้งบนช่องทางสื่อออนไลน์ ข้อมูลภาครัฐต่าง ๆ จึงมาพร้อมกับความเสี่ยงที่ไม่อาจมีอธิปไตยในการควบคุมข้อมูลของตัวเองได้ หากพิจารณาตามตำแหน่งที่ตั้งของ Cloud ทางกายภาพ ตลอดจนถึงความสามารถในการตรวจสอบแก้ไขต่าง ๆ ทำให้สหภาพยุโรปเริ่มต้นกระบวนการตั้งเซิร์ฟเวอร์ในพื้นที่ของตัวเองและพยายามโอนถ่ายทรัพยากรต่าง ๆ ให้เกิดการหมุนเวียนในภูมิภาคของตัวเองให้มากที่สุด ซึ่งหนึ่งในแนวคิดที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดคุยกันบ่อยครั้งโดยต่อยอดมาจากอธิปไตยด้านข้อมูล คือ Sovereign Cloud หรือการมีอธิปไตยทางด้านข้อมูลอย่างแท้จริงบน Cloud ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทุกธุรกิจต้องใช้งานในยุคปัจจุบัน

Sovereign Cloud เครื่องมือสำคัญในการปกป้องอธิปไตยข้อมูลของธุรกิจยุคดิจิทัล

Sovereign Cloud ความมั่นใจในอธิปไตยของข้อมูลในการทำธุรกิจยุคดิจิทัล

เพื่อสร้างความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการ ไปจนถึงความปลอดภัยในการดำเนินธุรกิจ หลายองค์กรจึงได้หันมาใช้งาน Cloud เพื่อดูแลรักษาข้อมูลและดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็นการทดแทนระบบออฟไลน์ทั้งหมด การใช้งานแบบผสมผสาน ไปจนถึงการใช้งานในบางส่วนหรือบางแผนก แต่มักไม่ได้พิจารณาถึงแนวคิดด้านความปลอดภัยที่ผู้ให้บริการสามารถดำเนินการได้ ซึ่งแนวคิดด้านความปลอดภัยบน Cloud เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นลำดับแรก  โดยข้อมูลกลุ่ม Workload Data เป็นข้อมูลที่ถูกควบคุมและมีการป้องกันจากข้อบังคับของภาครัฐ ในขณะที่ข้อมูลกลุ่ม Meta Data มักถูกละเลยและกลายเป็นช่องโหว่ในการดูแลอธิปไตยของข้อมูลที่ต้องส่งผ่านเครือข่าย

หากพูดถึงอธิปไตยของ Cloud แล้วต้องนึกถึงหนึ่งในบริษัทผู้บุกเบิกและให้ความสำคัญในประเด็นดังกล่าวเป็นลำดับต้น ๆ อย่าง VMware ผู้เชี่ยวชาญด้านโซลูชันดิจิทัลที่สาย IT หรือสาย Tech รู้จักกันมายาวนาน โดยนิยามความหมายเอาไว้ว่า ‘Sovereign Cloud เป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้เกิดความปลอดภัยและเกิดการเข้าถึงข้อมูลได้ตามความต้องการที่มีความเข้มงวดในแต่ละอุตสาหกรรมซึ่งแตกต่างกันออกไป และต้องเป็นไปตามกฎหมายท้องถิ่นที่ว่าด้วยเรื่องของ ความเป็นส่วนตัวของข้อมูล การเข้าถึงข้อมูล และการควบคุมข้อมูล ทำหน้าที่ปกป้องข้อมูลที่อ่อนไหวไม่ว่าจะเป็นในภาคเอกชนหรือภาครัฐก็ตาม’

การมาถึงของแนวคิด Sovereign Cloud นั้นเป็นการตอบสนองต่อปัญหาความปลอดภัยด้านไซเบอร์ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง การตื่นรู้เรื่องความปลอดภัยรูปแบบนี้จึงกลายเป็นทักษะและความรู้พื้นฐานของโลกสมัยใหม่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รวมไปถึงการสร้างความเชื่อมั่น (Trust) ในฐานะผู้ให้บริการ Cloud ที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยที่นอกจะเป็นไปตามมาตรฐานสากลแล้วยังต้องเป็นไปตามข้อกำหนดหรือกฎหมายของประเทศอีกด้วย ซึ่งประเทศไทยได้มีการกำหนดแนวทางของการบริการ Cloud ตามเอกสาร ประกาศคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง แนวทางการใช้บริการ Cloud พ.ศ. 2562 ซึ่งมีความสอดคล้องกับแนวคิดพื้นฐานของ Sovereign Cloud 

โดย Richard Damoser, Director – Cloud Sales – Strategy and Planning จาก VMware ได้ให้ความเห็นในเรื่องของอธิปไตยด้านข้อมูลในโลกปัจจุบันที่น่าสนใจเอาไว้ ดังนี้

Sovereign Cloud เครื่องมือสำคัญในการปกป้องอธิปไตยข้อมูลของธุรกิจยุคดิจิทัล

“โลกแห่งข้อมูลนั้นได้เปลี่ยนโลกใบนี้ไปตลอดกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการระบาดใหญ่ของ COVID-19 อย่างที่พวกเราได้เผชิญหน้ากันอยู่ในปัจจุบัน ความเข้มข้นของปัญหาอธิปไตยด้านข้อมูลนั้นร้ายแรงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้อธิปไตยด้านข้อมูลกลายเป็นหัวใจสำคัญในทุกเรื่องของยุคปัจจุบันที่ถูกขับเคลื่อนด้วยข้อมูลดิจิทัล”
Richard Damoser, Director – Cloud Sales – Strategy and Planning บริษัท VMware

สำหรับธุรกิจหรือองค์กรต่างๆ เช่น ภาครัฐ, แวดวงการเงินการธนาคาร, โรงพยาบาล หรือโรงงานอุตสาหกรรมที่กำลังมองหา Sovereign Cloud ที่มีความมั่นคงและความปลอดภัยทางด้านข้อมูลและได้รับการรับรองจาก VMware Sovereign Cloud Verified ซึ่งเป็นเครื่องหมายแห่งคุณภาพและความไว้ใจที่ธุรกิจชั้นนำระดับสากลต่างเลือกใช้ จะสามารถรับประกันความปลอดภัยและประสิทธิภาพที่จะเกิดขึ้นได้ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ตลอดจนถึงทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญ ซึ่ง AIS Business เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการน้อยรายจากทั่วโลกที่ได้รับการรับรองดังกล่าว

AIS Business ผู้ให้บริการ Sovereign Cloud รายแรกในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองจาก VMware

Sovereign Cloud เครื่องมือสำคัญในการปกป้องอธิปไตยข้อมูลของธุรกิจยุคดิจิทัล

VMware Sovereign Cloud Verified สัญลักษณ์แห่งความเชื่อมั่นที่สะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพ ความปลอดภัย และอนาคตที่ยั่งยืนของธุรกิจ ซึ่งทั่วทั้งโลกมีผู้ให้บริการเพียง 31 รายเท่านั้นที่ได้รับการรับรองดังกล่าว และ AIS Business ถือเป็น 1 ใน 31 รายและเป็นผู้ให้บริการรายแรกในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองดังกล่าวอีกด้วย

 AIS Sovereign Cloud เป็นส่วนหนึ่งใน AIS Cloud X นิเวศ Cloud อัจฉริยะโดยได้เข้ามาเติมเต็มในส่วนของการปกป้องเรื่องความมั่นคงและความปลอดภัยของข้อมูลเป็นหัวใจสำคัญ เพื่อให้ผู้ใช้งานมั่นใจได้ว่าข้อมูลทั้งหมดที่เกิดขึ้นรวมถึง Meta Data จะถูกจัดเก็บและปกป้องโดยอ้างอิงจากกฎและข้อกำหนดตามกฎหมายของประเทศไทย โดยไม่ถูกควบคุมและแทรกแซงจากต่างประเทศ โดยมีคุณสมบัติที่สำคัญ ดังนี้

Sovereign Cloud เครื่องมือสำคัญในการปกป้องอธิปไตยข้อมูลของธุรกิจยุคดิจิทัล

Data Sovereignty and Jurisdictional Control

ข้อมูลทั้งหมดที่มีการจัดเก็บของ AIS Sovereign Cloud นั้นจะอยู่ภายใต้การควบคุมและอำนาจของประเทศไทยเท่านั้น โดยมี Data Center ความปลอดภัยสูงกระจายตัวอยู่ตามภูมิภาคต่าง ๆ 

Data Access & Integrity

โครงสร้างพื้นฐานของ AIS Sovereign Cloud ถูกออกแบบให้มีความยืดหยุ่น พร้อมรับประกันความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลตลอดเวลาด้วย Data Center อย่างน้อย 2 แห่ง เพื่อป้องกันเหตุการณ์ไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้นได้ มั่นใจได้ในการเชื่อมต่อที่ปลอดภัยและเป็นส่วนตัว

Data Security & Compliance

AIS Sovereign Cloud มีการควบคุมระบบการจัดการความปลอดภัยของข้อมูลที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากล ซึ่งมีการตรวจสอบและอัปเดตสม่ำเสมอเพื่อรับประกันว่า Cloud ที่ให้บริการอยู่นั้นมีความพร้อมและความปลอดภัยระดับสูงสุด

Data Independence & Mobility

ความยืดหยุ่นของสถาปัตยกรรม Multi-Cloud ทำให้ AIS Sovereign Cloud สนับสนุนการเคลื่อนย้ายข้อมูลและแอปพลิเคชันได้ง่าย ป้องกันปัญหาติดสัญญา (Lock-In) กับผู้ให้บริการระบบคลาวด์ ซึ่งเป็นปัญหาที่พบเจอได้บ่อยครั้งในการใช้บริการที่ส่งผลให้การโอนถ่ายข้อมูลเกิดปัญหาและส่งผลต่อต้นทุนในการใช้งาน

Data Innovation & Analytics

AIS Sovereign Cloud สนับสนุนให้เกิดการนำข้อมูลไปวิเคราะห์เพื่อเพิ่มมูลค่าได้อย่างง่ายดาย รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ช่วยให้องค์กรสามารถนำสิ่งที่มีไปต่อยอดความสำเร็จของธุรกิจ

AIS Sovereign Cloud พร้อมต่อยอดโซลูชันมากมายภายใต้ AIS Cloud X นิเวศ Cloud อัจฉริยะ

โซลูชันและบริการจาก AIS Cloud X ที่เป็นพันธมิตรกับ VMware นั้นมีฟีเจอร์ที่โดดเด่นในการใช้งานอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็น NSX Advanced Load Balance (NSX-ALB) ที่เพิ่มความคล่องตัวและความปลอดภัยในการจัดการเครือข่าย, VMware Tanzu ที่ช่วยให้ใช้งาน Container ได้ง่ายขึ้น, VMware Kubernestes ที่ช่วยให้ Deploy และจัดการข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ไปจนถึง AIS Carbon Black Managed Service ที่ช่วยลดเวลาในการติดตามข้อมูล หากเกิดปัญหาขึ้นในระบบจากหลักวันเหลือหลักนาที เรียกว่าเป็น Anti-Virus ยุคใหม่ก็ไม่ผิดนัก และยังมี Backup and DR ที่ช่วยรับประกันความปลอดภัยและการกู้ข้อมูลได้อย่างรวดเร็วด้วย VDCA ของ VMware ที่ทำงานแบบ Cloud to Cloud Backup อีกด้วย

นอกเหนือจากมาตรฐานด้านดิจิทัลจาก VMware ที่เรียกได้ว่าอยู่ในระดับแนวหน้าแล้ว Data Center สำหรับให้บริการของ AIS Cloud X เองยังมีมากถึง 7 แห่งกระจายตัวอยู่ในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ ปทุมธานี สงขลา ขอนแก่น และชลบุรี มาพร้อมกับความปลอดภัยของอาคารระดับสูงด้วยระบบสำรองไฟชั่วคราวยาวนานถึง 15 นาที และมีการดับเพลิงด้วยไนโตรเจนเพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่เกิดความเสียหายของข้อมูลอีกด้วย

สำหรับผู้ที่ต้องการทำ Big Data อาจเจอปัญหาด่านแรก คือ ค่าใช้จ่ายจำนวนมหาศาล ซึ่งเทรนด์ต่าง ๆ เปลี่ยนอย่างรวดเร็ว การลงทุนที่เกิดขึ้นอาจต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงในอีกครึ่งปีถัดมาก็เป็นได้ AIS Business จึงได้ออกแบบการใช้งานแบบ Pay Per Use ที่มีความคุ้มค่าสูง ใช้เท่าไรจ่ายเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องลงทุนโครงสร้างหรือการพัฒนาต่าง ๆ เองจำนวนมาก แต่ต้องเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วอีกต่อไป

หนึ่งในมายาคติที่ผู้บริหารระดับสูงที่ไม่ใช่สาย IT หรือผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยเคยชิน คือ Cloud นั้นปลอดภัยอย่างแน่นอนและเป็นคำตอบของทุกอย่าง แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่มีเทคโนโลยีใดที่เป็น One Solution Fit All ซึ่ง Cloud เองสามารถให้ความปลอดภัยได้มากกว่าแต่ไม่สามารถเป็นทุกคำตอบได้ในตัวเอง แต่การมี Sovereign Cloud จะช่วยยกระดับเรื่องความมั่นคง ปลอดภัยของข้อมูลซึ่ง นับเป็นพื้นฐานของธุรกิจยุคใหม่ที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจการผลิตที่มีข้อมูลจำนวนมหาศาลเกิดขึ้นในเสี้ยววินาทีไปจนถึงเพิ่มความปลอดภัยให้กับโรงงานอุตสาหกรรมได้ในระดับสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ในขณะนี้ให้กับธุรกิจของคุณ

สนใจใช้งาน AIS Sovereign Cloud และบริการ Cloud ครบวงจรติดต่อทีมงาน AIS Business ได้ทันที

AIS Business พาร์ทเนอร์ที่ช่วยตอบโจทย์ทุกเรื่อง ICT & Digital ที่คุณมั่นใจ
“Your Trusted Smart Digital Partner”
ปรึกษาและวางแผนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับการทำงานและต่อยอดธุรกิจได้ที่
Email : business@ais.co.th
Website : https://business.ais.co.th

Thos
"Judge a man by his questions rather than his answers"
Voltaire
READ MORE
×