Tuesday, April 23Modern Manufacturing
×

ยุคระบบอัตโนมัติกับการ Reskill ของแรงงาน

เมื่อธุรกิจอุตสาหกรรมก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ที่เต็มไปด้วยระบบอัตโนมัติและเทคโนโลยีอัจฉริยะแรงงานจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงทักษะให้เกิดความเหมาะสมต่อการทำงานรูปแบบใหม่

ยุคระบบอัตโนมัติกับการ Reskill ของแรงงาน
ยุคระบบอัตโนมัติกับการ Reskill ของแรงงาน

อุตสาหกรรมที่เรา ‘เคย’ รู้จักกำลังจะตายลง แต่นอนว่าไม่ใช่เพราะไวรัสเพียงอย่างเดียวครับเป็นเพราะการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในวงกว้างของภาคการผลิต เป็นผลมาจากความไม่แน่นอนในการทำธุรกิจในปัจจุบัน ทำให้หุ่นยนต์และเทคโนโลยีอัจฉริยะต่าง ๆ เข้ามามีบทบาทมากขึ้น ในขณะเดียวกันผู้คนต่างรู้สึกไม่ปลอดภัยในหน้าที่การงาน การมาถึงของเทคโนโลยีใหม่ ๆ ทำให้ผู้คนรู้สึกหวาดกลัวการถูกแทนที่

หากลองพิจารณาให้ดีจะพบว่าบทบาทแรงงานของมนุษย์นั้นเหมือนเป็นสิ่งที่ต้องเกิดความเปลี่ยนแปลงทุกครั้งไปเมื่อเกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมขึ้น แต่แน่นอนมนุษย์ในบทบาทการผลิตก็ไม่ได้หายไปไหนสักครั้งนับตั้งแต่การมีเครื่องจักรไอน้ำเป็นต้นมา แต่สำหรับการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 นี้นั้นอาจจะแตกต่างจากครั้งก่อน ๆ ออกไปบ้างที่ความรวดเร็วในการปรับเปลี่ยนนั้นสูงเสียเหลือเกิน ความเร็วในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้นั้นรวดเร็วกว่าการฝึกอบรมทักษะใหม่ให้เหมาะสมกับความต้องการมากนัก ภายใต้สภาพแวดล้อมเหล่านี้บริษัทเทคโนโลยัมีหน้าที่รับผิดชอบในการฝึกทักษะใหม่ให้แรงงานของตัวเองรวมถึงแรงงานที่ได้รับผลจากผลิตภัณฑ์ของพวกเขาเหล่านั้นด้วย

สถานการณ์ปัจจุบันของระบบอัตโนมัติโรงงาน

เทคโนโลยีอัตโนมัติใหม่ๆ นั้นได้รับความสนใจมากขึ้นในทุก ๆ ปี ในปี 2018 มีหุ่นยนต์อุตสาหกรรมมากกว่า 40,000 ตัวติดตั้งในโรงงานทั่วสหรัฐอเมริกาฯ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 22% จากรายงานของ World Economic Forum’s Future Jobs Report รายงานว่าหุ่นยนต์และ Algorithm ต่าง ๆ จะมีส่วนในชั่วโมงทำงานถึง 42% ในปี 2022

แม้ว่าบริษัทผู้ผลิตเทคโนโลยีจะทำให้เกิดโซลูชันที่ใช้งานต้นทุนได้อย่างคุ้มค่าและเป็นกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูง แต่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่ตั้งใจอย่างการแทนที่แรงงานนั้นจะทำให้เกิดช่องว่างขึ้นในเศรษฐกิจทั่วโลกเช่นกัน

ในขณะที่แรงงานหนึ่งคนอาจควบคุมเครื่องจักร 1 – 2 เครื่องในวันนี้ แต่ในอนาคตอาจต้องคุมเครื่องจักรถึง 10 หรือ 20 เครื่องเมื่อ CNC, 3D Printer, หุ่นยนต์, AGV, คลังสินค้าอัตโนมัติ รวมถึงซอฟต์แวรอิจฉริยะเกิดการแพร่หลายมากขึ้นกว่านี้ในโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการถูกแทนที่ของแรงงานโดยหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติกว่า 20 ล้านตำแหน่งในกิจการอุตสาหกรรมในปี 2030 (ข้อมูลจาก Oxford Economics)

โอกาสใหม่สำหรับผู้ผลิต

แทนที่จะต้องใช้ระบบอัตโนมัติมาแทนที่แรงงาน ผู้ผลิตควรใช้แนวทางการทำงานที่ทันสมัยเป็นพื้นฐานในการเปลี่ยนแรงงานให้ทำงานที่มีผลลัพธ์และมีประโญชน์มากกว่าเดิม ที่จริงแล้วมีการคาดากรณ์ไว้ว่าจะมีตำแหน่งงานใหม่ถึง 133 ล้านตำแหน่งเกิดขึ้นในขณะที่บริศัทสนับสนุนให้ใช้ระบบอัตโนมัติและเผยให้เห็นถึงโอกาสใหม่ ๆ ในการที่มนุษย์ทำงานเคียงคู่ไปกับเครื่องจักร

ความสัมพันธ์ระหว่างแรงงานกับเครื่องจักรนั้นต้องการทักษะเฉพาะบางอย่าง แรงงานไม่สามารถฝึกอบรมแค่การเปิดปิดสวิตช์ได้ การปรับทักษะใหม่ให้เป็นเชิงรุกจะเห็นผลได้ดียิ่งกว่าตามระยะเวลาการทำงานไม่ว่าจัเป็นความปลอดภัยของแรงงานและการสนับสนุนในความต้องการอื่น ๆ ในอนาคตสำหรับบริษัทที่มีเทคโนโลยีล้ำสมัยในการผลิต

การฝึกอบรมเหล่านี้ไม่ได้มีไว้เพื่อแรงงานเท่านั้น แต่จะทำหน้าที่รับใช้ประชากรทั่วทั้งโลกที่ได้รับผลกระทบจากการที่บริษัทจ้างแรงงานที่ตอบสนองต่อนวัตกรรมได้รวดเร็วยิ่งขึ้นสำหรับแรงงานที่ถูกฝึกมาดี

ผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นว่า ‘การฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องและการจ้างงานเต็มอัตรา’ เป็นกำไรที่เกิดขึ้นจากการผลิตที่ก้าวหน้า ทำให้เกิดความเข้าใจและการแบ่งปันทักษะข้อมูลอย่างเท่าเทียมกันในหมู่แรงงาน ผู้บริโภค หุ้นส่วนต่าง ๆ และสังคม

หลายบริษัทได้เริ่มใช้การเปลี่ยนแปลงทักษะแรงงานด้วยแนวคิดประยุกต์แบบสร้างสรรค์ เช่น Amazon ที่มีโปรแกรมการฝึกอบรม 16 สัปดาห์ที่ให้แรงงานเติมเต็มโอกาสในการเรียนรู้ทักศะใหม่ ๆ ในขณะที่ทำงานไปด้วยและได้ค่าจ้างที่มากขึ้น

หรือบริษัทอย่าง Stanley Black & Decker ผู้ผลิตอุปกรณ์เครื่องมืออุตสาหกรรมและเครื่องใช้ในบ้านได้ตั้งเป้าฝึกทักษะใหม่ให้กับแรงงานอุตสาหกรรมกว่า 10 ล้านคนภายในปี 2030 ผ่านโปรแกรมพิเศษที่ครบเครื่องเรื่องพื้นฐานเพื่อให้ความรู้กับพนักงานในทุกระดับ โดยปัจจุบันผู้ผลิตกว่า 1 ใน 4 ที่สหรัฐอเมริกานั้นได้ฝึกฝนทีมเสียใหม่เพื่อทำงานที่เกี่ยวข้องกับ AI และหุ่นยนต์ ทำให้มีความสามารถในการบริหารจัดการแรงงานหุ่นยนต์ขึ้น

เทคโนโลยีจะช่วยในส่วนใดได้บ้าง

การฝึกอบรมทักศะใหม่ให้กับแรงงานทั้งหมดไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ และไม่ใช่หน้าที่รับผิดชอบของหน่วยใดหน่วยหนึ่ง ความสำเร็จนั้นขึ้นอยู่กับการสนับสนุนจากเครือข่ายที่ซับซ้อนของสถาบันจากภาครัฐไปยังอุตสาหกรรมจนถึงหน่วยงานการศึกษา กระนั้นบริษัทเทคโนโลยีสามารถเล่นบทเชิงรุกด้วยบการพิจารณาปัจจัยเหล่านี้

  • งานวิจัย: การเข้าใจในผลกระทบที่แท้จริงของเทคโนโลยีอัตโนมัติของตัวเองนั้นเป็นความสำคัญเร่งด่วนสำหรับการให้ข้อมูลในการเปลี่ยนแปลงทักษะ การเปิดช่องทางการสื่อสารให้กับลูกค้าสามารถช่วยบริษัทติดตาม ระบุ และเฝ้าดูช่องว่างทักษะและความต้องการอื่น ๆ อันเป็นผลมาจากการวางขายสินค้านั้น ๆ
  • พันธมิตร: การระบุและสร้างพันธมิตรร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่ เช่น วิทยาลัยเทคนิคหรือสหภาพเป็นต้น สามารถทำให้แรงงานที่อยู่ภายใต้ความเสี่ยงสามารถเข้าถึงการฝึกอบรมและเข้ารับการอบรมที่มีการรับรองได้ เช่น Manufacturers Resource Center ใน Pennsylvania นั้นให้การสนับสนุนผู้ผลิตด้วยการฝึกอบรมและโปรแกรมการแนะนำธุรกิจรวมถึงการสนับสนุนด้านการเงิน
  • โครงการนำร่อง: การสร้างพันธมิตรกับลูกค้าโดยปรับใช้โปรแกรมการอบรมทักษะใหม่แบบโครงการนำร่องสามารถสร้างการฝึกฝนที่เป็นเรื่องพื้นฐานและใช้ได้จริงสำหรับแรงงาน ทำให้สามารถใช้เครื่องมืออัตโนมัติใหม่ ๆ เหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แล้วบริษัทด้านเทคโนโลยีจะฝึกฝนทักษะใหม่ได้อย่างไร?

การเข้าถึงการเปลี่ยนแปลงสู่เทคโนโลยีอัตโนมัตินั้นเป็นการผลักดันให้เกิดโซลูชันที่สดใหม่ เช่น บริษัท Shimmy ใน New York ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านแฟชันได้นำการใช้ AI และข้อมูลในการฝึกฝนทักษะใหม่ที่ถูกเทคโนโลยีแทนที่ไปทั้งหมด ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ที่ทำให้แรงงานด้านสิ่งทอมีทักษะด้านดิจิทัล รวมถึงสร้างแพทเทิร์นแบบดิจิทัลและการขึ้นโมเดลสามมิติ แน่นอนว่าทำให้มีต้นทุนค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นซึ่งมาพร้อมกับบทบาทหน้าที่ที่มีความสำคัญมากขึ้นในอุตสาหกรรมแฟชันเช่นกัน ด้วยการฝึกอบรมเหล่านี้แรงงานสามารถเปลี่ยนจากการทำงาน เช่น การใช้จักรเย็บผ้าเป็นงานด้านเทคนิคที่ระบบอัตโนมัตินั้นเป็นภัยคุกคามได้น้อยกว่านัก

หากไม่นับจากมายาคติที่เชื่อกันนักว่ากระบวนการฝึกอบรมเปลี่ยนแปลงทักษะเป็นเรื่องยากสำหรับแรงงานที่มีความสามารถจำกัดในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล การฝึกอบรมโดยทั่วไปนั้นเป็นเรื่องง่าย ๆ และประสบความสำเร็จได้เป็นอย่างดี จากกรณีของ Shimmy ผู้ทดสอบส่วนมากสำเร็จการฝึกอบรมดิจิทัลในเวลา 40 นาที รวมถึงผู้คนที่มาจาก 10 ใน 11 ประเทศที่ไม่เคยใช้คอมพิวเตอร์มาก่อนด้วย

แนวคิดที่ให้ ‘มนุษย์’ มาก่อนนั้นมีประโยชน์หลากหลายด้าน ในกรณีของอุตสาหกรรมสิ่งทอนั้นมันสามารถปกป้องแรงงานได้เป็นอย่างดี ทั้งทำให้ผู้ผลิตสามารถเพิ่มกำลังผลิตได้โดยการลดความเสี่ยงของการซื้อเครื่องจักรใหม่และบริหารจัดการเงินสำหรับแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ระบบอัตโนมัติจะสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ แทนที่แรงงานนับล้านในทศวรรษที่กำลังมาถึง บริษัทด้านเทคโนโลยีนั้นถือเป็นแนวหน้าในการเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ต้องพิจารณาบทบาทในเรื่องราวที่กำลังมาถึงนี้ให้ดีและช่วยเหลือในการก่อรูปร่างโซลูชันที่กำลังมาถึง

ที่มา:
Weforum.org

Thos
"Judge a man by his questions rather than his answers"
Voltaire
READ MORE
×