มือโปรออกแบบคลังสินค้าอย่างไรให้ปลอดภัยและทำงานได้อย่างรวดเร็ว

Date Post
24.09.2021
Post Views

คลังสินค้ากลายเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันธุรกิจในการแข่งขัน ณ วันนี้ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจด้านโลจิสติกส์โดยเฉพาะหรือผู้ผลิตสินค้าเองก็ต่างมีความต้องการใช้งานคลังสินค้าที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ข้อจำกัดด้านพื้นที่และปริมาณแรงงานกลายเป็นความท้าทายที่เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว การวางแผนโครงสร้างและเลย์เอาท์ของคลังสินค้าที่มีประสิทธิภาพจึงกลายเป็นส่วนสำคัญในการเอาชนะข้อจำกัดที่มีท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ปัจจุบันธุรกิจคลังสินค้าหรือ Warehouse นั้นมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว เป็นผลจากธุรกิจ E-Commerce ที่เปลี่ยนไปเพราะเทคโนโลยีดิจิทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงส่งที่เกิดจากความต้องการท่ามกลางการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ที่ทำให้การซื้อขายออนไลน์ การกักตุนสินค้าต่าง ๆ รวมไปถึงการเตรียมพร้อมวัตถุดิบเพื่อรับมือกับสถานการณ์ไม่คาดคิดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

ความต้องการใช้งานคลังสินค้าที่เพิ่มขึ้นนั้นในระยะสั้นและระยะกลางทำให้ความคล่องตัวสำหรับการบริหารจัดการสินค้าในคลังเกิดปัญหาขึ้นได้ เมื่อปริมาณสินค้าเพิ่มขึ้นจำนวนมากในเวลาอันรวดเร็ว พื้นที่การใช้งานเดิมก็เกิดความคับแคบ นำไปสู่ความล่าช้าในการทำงาน การเพิ่มโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุ และการสูญหายของสินค้าในคลัง ซ้ำร้ายไปกว่านั้นภายใต้สถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ความแออัดนั้นยังหมายถึงโอกาสในการแพร่กระจายและปนเปื้อนของไวรัสไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ของคลังสินค้าเองหรือตัวสินค้าที่ต้องเดินทางผ่านคลังด้วยเช่นกัน

เพื่อแก้ปัญหาความแออัดและการใช้งานคลังสินค้าที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ผู้ประกอบการอาจลงทุนเพื่อเพิ่มพื้นที่หรือจำนวนคลังสินค้าขึ้น แต่การหาสถานที่เพื่อเพิ่มคลังสินค้านั้นมีต้นทุนที่สูงไม่ว่าจะเป็นต้นทุนสำหรับที่ดิน การก่อสร้างคลังสินค้าและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ไปจนถึงการจ้างงานเพื่อบริหารจัดการต่าง ๆ ผู้ประกอบการส่วนหนึ่งจึงให้ความสำคัญกับการลงทุนเพื่อเพิ่มศักยภาพการทำงานของคลังสินค้าเดิม 

แต่ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งวางระบบคลังสินค้าใหม่ หรือการยกระดับคลังสินค้าเดิม การวางเลย์เอาท์และการออกแบบฟังก์ชันการใช้งานที่เหมาะสมกับประเภทของคลังสินค้าเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างประสิทธิภาพและคุณภาพในการทำงานของคลังสินค้ามากที่สุด เนื่องจากการออกแบบที่เหมาะสมกับสินค้าและประเภทของคลังสินค้าจะทำให้เกิดความคล่องตัวในการทำงาน ในขณะที่ความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการทำงานสามารถเกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง

ออกแบบคลังสินค้าอย่างไรให้เกิดความคล่องตัวและปลอดภัยแบบมือโปร

การออกแบบคลังสินค้านั้นสิ่งสำคัญที่สุด คือ ความเข้าใจที่มีต่อความต้องการใช้งานของผู้ประกอบการ บางคนอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องง่ายและบางคนอาจมองว่าเป็นเรื่องยุ่งยาก ดังนั้นเรามาลองทำความรู้จักการออกแบบคลังสินค้าผ่านแนวคิดของผู้เชี่ยวชาญด้านโซลูชันสำหรับคลังสินค้าอย่าง LPI Rack Range กันว่าการออกแบบที่ว่านี้ต้องรู้อะไรบ้างครับ

ในมุมมองของ LPI Rack Range นั้นการออกแบบ Rack ชั้นวางสินค้าที่สามารถตอบสนองต่อการใช้งานของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นต้องเข้าใจความต้องการของผู้ใช้งานให้ได้มากที่สุด อย่าลืมว่าคลังสินค้าแต่ละแห่งนั้นมีโครงสร้างและความต้องการที่แตกต่างกัน ระบบชั้นวางหรือเลย์เอาท์ต่าง ๆ จึงไม่ใช่อุปกรณ์ชุดที่ตายตัวแต่จะมีปัจจัยบางประการที่สอดคล้องกันอยู่ ซึ่งขอเรียกปัจจัยเหล่านี้ว่า LAFFS อันได้แก่

Loading – น้ำหนักและขนาดของสินค้า (เป็นได้ทั้งกล่องและพาเลท) ซึ่งเป็นตัวกำหนดสเป็คของโปรไฟล์สำหรับเสาและคานของชั้นวางสินค้าเพื่อให้ตอบโจทย์เงื่อนไขความต้องการใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น หากสินค้ามีขนาดใหญ่จุดศูนย์ถ่วงและการกระจายน้ำหนักจะแตกต่างกับสินค้าชิ้นเล็ก ๆ จำนวนมาก เป็นต้น

Area – การพิจารณาพื้นที่สำหรับจัดทำชั้นวางสินค้าทั้งแนวกว้าง ยาว สูง รวมถึงสิ่งกีดขวางต่างๆในพื้นที่ที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้เป็นปัจจัยสำคัญในการวางโครงสร้างภาพรวม เช่น เสาอาคาร ตู้ดับเพลิง และท่อแอร์ องค์ประกอบเหล่านี้จะเป็นตัววางโครงสร้างให้กับเงื่อนไขการบริหารจัดการพื้นที่อื่น ๆ อีกด้วย

Forklift – ขนาดของรถฟอล์คลิฟท์และความสูงที่รถสามารถทำงานได้นั้นส่งผลต่อการออกแบบชั้นวาง เพราะการออกแบบเลย์เอาท์ภาพรวมจำเป็นจะต้องเว้นพื้นที่สำหรับช่องทางวิ่งของรถฟอล์คลิฟท์ที่ใช้งาน นอกเหนือจากขนาดของรถแล้วความสูงที่รถฟอล์คลิฟท์สามารถยกได้ยังเป็นตัวกำหนดถึงความสูงของชั้นวางด้วยเช่นกัน ลองจินตนาการว่าหากออกแบบชั้นวางที่สามารถวางได้กว่า 12 เมตรขึ้นมาแต่ติดข้อจำกัดที่ทำได้เพียง 9 เมตร ความสูงที่เพิ่มขึ้นมานั้นก็ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้และอาจกลายเป็นการลงทุนที่สูญเปล่าเกินความจำเป็น

Flow – ปัจจัยที่อาจมองไม่เห็นแต่ช่วยให้การใช้งานคลังสินค้าเกิดความคล่องตัวและสะดวกรวดเร็วได้อย่างเหลือเชื่อ โดย Flow นั้นจะเกี่ยวข้องกับการออกแบบพื้นที่เลย์เอาท์ ซึ่งตรงนี้สามารถคำนวณหรือคาดการณ์ความสามารถในกิจกรรมที่เกิดขึ้นได้ เช่น ในช่วงเวลาหนึ่งนั้นจะสามารถเคลื่อนย้ายหรือดำเนินการกับสินค้าอย่างไรได้จำนวนเท่าไหร่ หากในการออกแบบรู้แล้วว่า Flow การทำงานของคลังสินค้าเริ่มต้นจากจุดไหนและท้ายที่สุดจะไปจบที่จุดใด ข้อมูลเหล่านี้จะทำให้เห็นภาพของกิจกรรมในคลังได้อย่างชัดเจนและสามารถลดการทำงานซ้ำซ้อนที่อาจแฝงตัวอยู่ในการออกแบบที่ผิดพลาด

Storage Capacity – เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่อ้างอิงกับพื้นที่และความต้องการของลูกค้า เนื่องจากลูกค้าบางรายที่เคยใช้งานชั้นวางสินค้ามาบ้างแล้วมักจะมีปริมาณการใช้งานในใจ รวมถึงการคาดการณ์ความต้องการที่จะเกิดขึ้นในอนาคตซึ่งมักจะเป็นแนวโน้มที่สามารถจับต้องได้จริง การวางแผนรองรับปริมาณที่ต้องการให้สอดคล้องกับพื้นที่จึงเป็นสิ่งสำคัญ

ปัจจัยเหล่านี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นที่สามารถใช้เพื่อเตรียมตัวก่อนการออกแบบหรือใช้ในการเจรจากับผู้ให้บริการออกแบบ Rack ชั้นวางสินค้าหรือคลังสินค้าให้มีความเข้าใจที่ชัดเจนยิ่งขึ้น แต่อีกประเด็นหนึ่งที่ผู้ประกอบการหรือผู้จัดการคลังสินค้าควรรู้ คือ ระบบชั้นวางแร็ค หรือ Racking System แต่ละประเภทจะมีข้อจำกัดและการใช้งานที่แตกต่างกัน หลายครั้งที่ผู้คนมักเข้าใจว่าผู้ให้บริการโซลูชันสามารถปรับแต่งคุณสมบัติหรือสเป็คต่าง ๆ ได้ตามความต้องการของผู้ว่าจ้างก็เพียงพอแล้ว แต่ในความเป็นจริงที่เจอหน้างานบางครั้งมีเพียงข้อมูลขนาดพื้นที่หน้างานเพื่อวางเลย์เอาท์ แต่ในทางปฏิบัติแล้วยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องพิจารณาร่วมกันอีกดังที่ได้อธิบายก่อนหน้านี้ การมีข้อมูลที่จำเป็นครบถ้วนนั้นจะทำให้สามารถวิเคราะห์เพื่อจัดวางรูปแบบเลย์เอาท์และฟังก์ชันให้ตรงกับความต้องการใช้งานจริงมากที่สุด ยกตัวอย่างเช่น ลักษณะการจัดเก็บสินค้า ธุรกิจบางที่มีการจัดเก็บ/เบิกจ่ายแบบ Lots Size จะให้ความสำคัญในประเด็นของจำนวนการจัดเก็บเป็นอันดับแรก และการบริหารคลังสินค้าเป็นประเด็นถัดมา ดังนั้นชนิดของ Rack ชั้นวางสินค้านั้นแบบ Lots Sized ก็จะมีความแตกต่างกับธุรกิจที่มี SKU จำนวนมาก และ Throughput หรือปริมาณงานระดับสูงซึ่งมีเงื่อนไขสำคัญ คือ ความสะดวกในการเข้าถึงสินค้าจัดเก็บได้อย่างสะดวกรวดเร็ว การให้ความสำคัญกับรูปแบบการจัดเก็บก็เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงสำหรับประเภทและคุณสมบัติของสินค้าแต่ละชนิดด้วย ซึ่งในกรณีของ LPI Rack Range นั้นการออกแบบคลังสินค้านั้นจะเป็นการทำงานควบคู่กันระหว่างทีมออกแบบที่มีประสบการณ์และทีมงานของลูกค้าเพื่อให้เกิดโซลูชันที่เกิดประโยชน์กับธุรกิจมากที่สุด

อีกประเด็นหนึ่งที่ลืมไม่ได้เสียเลย คือ ลักษณะเฉพาะตัวของธุรกิจคลังสินค้านั้น ๆ  ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจอาหารห้องเย็น การรับฝากจะถูกคำนวณต่อตารางเมตร ซึ่งหมายความว่าทุกตารางเมตรของพื้นที่นั้นมีมูลค่าทั้งสิ้น หากมีพื้นที่ว่างและไม่สามารถจัดเก็บสินค้าได้ ความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นจะส่งผลต่อรายได้ที่ลดลงโดยตรง ลักษณะของธุรกิจห้องเย็นส่วนใหญ่จึงให้ความสำคัญกับการจัดเก็บสินค้าให้ได้สูงที่สุด หรือในกรณีของธุรกิจจัดจำหน่ายสินค้ากลุ่มอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ซึ่งมีความหลากหลายของสินค้าค่อนข้างมาก และมีการไหลเวียนของการจัดเก็บเบิกจ่ายสินค้าสูง การเข้าถึงสินค้าจำเป็นต้องมีความสะดวกในการบริหารคลังสินค้ามาเป็นลำดับที่ 1 จะเห็นได้ว่าทั้ง 2 กรณีนั้นมีลักษณะการจัดเก็บสินค้าและการบริหารคลังสินค้ามีความแตกต่างกัน ทั้ง 2 คุณลักษณะนี้จึงส่งผลถึงการออกแบบเลย์เอาท์การวาง Rack ชั้นวางสินค้ารวมถึงประเภทของชั้นวางสินค้าที่แตกต่างกันด้วย

จะเห็นได้ว่าเมื่อการออกแบบเลย์เอาท์และการติดตั้งต่าง ๆ เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสมกับรูปแบบการใช้งานของธุรกิจ การวัดผลที่สำคัญที่สุดสำหรับคลังสินค้าอย่าง Lead Time ก็สามารถเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และในขณะเดียวกันปัญหาการทำงานซ้ำซ้อนจะลดลงได้อย่างเห็นได้ชัด เป็นการเพิ่มความสามารถในการทำงานและยกระดับความปลอดภัยขึ้นพร้อมกันในการทำงาน และในอีกแง่หนึ่งนั้นยังเป็นการป้องกันการสูญหายหรือความเสียหายของสินค้าในคลังซึ่งส่งผลต่อประสบการณ์ของผู้รับสินค้าอีกด้วย

นึกถึงโซลูชันคลังสินค้า นึกถึง LPI Rack Range

ในการออกแบบคลังสินค้านั้นนอกเหนือจากรายละเอียดที่กล่าวมาเบื้องต้น ยังมีค่าการรับน้ำหนักของวัสดุ การออกแบบชิ้นส่วนโครงสร้างต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกมากมาย ซึ่งแนวคิดที่เสนอมานั้นเหมาะกับการออกแบบคลังสินค้า Manual หรือคลังสินค้าแบบใช้แรงงานซึ่งเป็นพื้นฐานของการทำคลังสินค้า แต่ในกรณีที่ต้องการคลังสินค้าที่มีการประยุกต์ระบบอัตโนมัติเข้าไปเป็นคลังสินค้าอัจฉริยะหรือคลังสินค้าแบบกึ่งอัตโนมัติแล้วล่ะก็ รายละเอียดที่ต้องการนั้นจะเพิ่มขึ้นมาจากแนวทางข้างต้น ไม่ว่าจะเป็นด้านกายภาพและคุณสมบัติเชิงกลต่าง ๆ รวมถึงระบบไฟฟ้า แพลตฟอร์มสำหรับเทคโนโลยีดิจิทัล การบูรณาการระบบ ไปจนถึงการฝึกอบรมการใช้งานเทคโนโลยีใหม่ ๆ ดังนั้นหากผู้ประกอบการต้องการอัพเกรดคลังสินค้าเดิมหรือขยายคลังสินค้าใหม่ การมองหาพาร์ทเนอร์ที่สามารถไว้ใจได้และมีความเชี่ยวชาญจะเป็นกุญแจสำคัญที่นำไปสู่ศักยภาพในการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นได้ของธุรกิจ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญอย่าง LPI Rack Range นั้นสามารถเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในตัวจริงสำหรับโซลูชันงานคลังสินค้า ไม่ว่าจะเป็นระบบ Manual คลังสินค้าอัจฉริยะ หรือคลังสินค้ากึ่งอัตโนมัติก็สามารถเกิดขึ้นได้

LPI Rack Range นั้นเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน Rack ชั้นวางสินค้าและคลังสินค้าที่มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 50 ปี มีโรงงานเป็นของตัวเองในประเทศไทย ทำให้การออกแบบและการสั่งทำอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องจึงมีความยืดหยุ่นสูง สามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว จึงได้รับความไว้วางใจจากผู้ประกอบการชั้นนำในฐานะพันธมิตรทางธุรกิจที่สามารถช่วยคิด ช่วยออกแบบ และลงมือผลิต ข้อมูลอ้างอิงที่เป็นผลงานจำนวนมากที่ช่วยให้มองเห็นภาพที่ต้องการได้ชัดเจนยิ่งกว่าใคร ๆ

ด้วยประสบการณ์ที่ยาวนานและความเข้าใจในรูปแบบของคลังสินค้าที่แตกต่างหลากหลาย โซลูชันคลังสินค้าจาก LPI Rack Range สามารถปรับแต่งให้เหมาะสมกับความต้องการใช้งานได้ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นคลังสินค้าสำหรับแรงงานโดยเฉพาะ คลังสินค้าที่แรงงานกับระบบอัตโนมัติทำงานด้วยกัน หรือแม้แต่คลังสินค้าอัตโนมัติเต็มรูปแบบก็สามารถเป็นไปได้สำหรับทุกรูปแบบธุรกิจ หากผู้ประกอบการสนใจในการอัพเกรดคลังสินค้า ขยายคลังสินค้าเพิ่มเติม หรือต้องการเปิดคลังสินค้าใหม่สามารถติดต่อขอคำปรึกษาเพิ่มเติมได้ผ่านช่องทางดังนี้

ติดต่อขอคำปรึกษาด้านคลังสินค้า:

LPI Rack Range 

เบอร์โทรศัพท์: 02-003-1899 (Office), 081-840-2769 (คุณพีระพงษ์)
Email:
[email protected]
Website: www.lpi.co.th/
Line OA: @lpigroup
Facebook: https://www.facebook.com/lpigroupth

Logo-Company
logo-company
Thossathip Soonsarthorn
"Judge a man by his questions rather than his answers" Voltaire