สนพ.เผย ราคาน้ำมันดิบทรงตัวหลังมีความต้องการใช้สูงขึ้น

Date Post
05.08.2021
Post Views

สนพ.เผย ราคาน้ำมันดิบทรงตัว หลังตลาดน้ำมันมีความต้องการใช้สูงมากกว่าปริมาณการผลิต ด้านราคาไบโอดีเซล เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว 0.52 บาทต่อลิตร ส่วนราคาเอทานอล ยังคงอยู่ที่ 25.68 บาทต่อลิตร 

นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบว่า ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มทรงตัวในระดับสูงต่อเนื่อง หลังตลาดน้ำมันมีแนวโน้มตึงตัวจากความต้องการใช้น้ำมันที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากกลุ่มโอเปกพลัส 

Product Finder แหล่งรวมผู้ผลิตและสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ บนแพลตฟอร์มออนไลน์ | SIEMENS [SuperSource]

นอกจากนี้ ราคายังได้รับแรงหนุนจากปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มปรับลดลงต่อเนื่องจากความต้องการใช้ที่เติบโตขึ้นและปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบที่อยู่ในระดับจำกัด 

อย่างไรก็ตามตลาดยังคงได้รับแรงกดดันจากความไม่แน่นอนของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลตาที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศในแถบยุโรป แม้ว่าจะมีความคืบหน้าของการฉีดวัคซีนแล้วอย่างมากส่งผลให้รัฐบาลหลายประเทศยังคงใช้มาตรการจำกัดการเดินทางเพื่อควบคุมการระบาดของเชื้อสายพันธุ์ดังกล่าว และคาดว่าจะส่งผลกดดันต่อการฟื้นตัวของความต้องการใช้น้ำมัน 

สำหรับภาพรวมสถานการณ์ราคาน้ำมันโลกที่ผ่านมาระหว่างวันที่ 26 กรกฎาคม – 1 สิงหาคม 2564 ราคาน้ำมันดิบดูไบและเวสต์เท็กซัส เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 72.99 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และ 72.70 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว 2.01 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และ 2.96 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ตามลำดับ 

ซึ่งนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าอัตราการฉีดวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 ที่ปรับตัวสูงขึ้น จะช่วยหนุนความต้องการใช้น้ำมันเนื่องจากหลายประเทศเริ่มผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์ ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจฟื้นตัว แม้ว่าจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นในหลายประเทศก็ตาม 

โดยสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ที่เมืองคูชิง รัฐโอกลาโฮมา จุดส่งมอบสัญญาน้ำมันดิบล่วงหน้าของสหรัฐฯ ลดลง 1.27 ล้านบาร์เรล แตะระดับ 35.4 ล้านบาร์เรล ต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 ซึ่งสะท้อนถึงความต้องการใช้น้ำมันในสหรัฐฯ ที่ยังคงอยู่ในระดับสูง แม้ว่าตัวเลขผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จะเพิ่มสูงขึ้นก็ตามค่าเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ที่อ่อนตัวลง เมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น ส่งผลให้นักลงทุนกลับมาลงทุนในตลาดน้ำมันมาก

ด้าน ราคาน้ำมันเบนซิน: ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95, 92 และ 91 (Non-Oxy) เฉลี่ย อยู่ที่ระดับ 85.90, 83.59 และ 84.79 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว 3.03, 2.95 และ 2.67 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ตามลำดับ ความต้องการใช้น้ำมันเบนซินที่สูงขึ้นในสหรัฐฯ และยุโรป อย่างไรก็ตาม ตลาดยังถูกกดดันจากปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังสิงคโปร์ที่ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า ปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงกว่า 6.2 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะปรับลดลงเพียง 1.3 ล้านบาร์เรล อย่างไรก็ตามยังคงต้องจับตายอดผู้ติดเชื้อที่ปรับสูงขึ้นในหลายภูมิภาค 

ราคาน้ำมันดีเซล: ราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว (10 PPM) เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 80.04 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว 1.99 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ปริมาณน้ำมันดีเซลคงคลังสิงคโปร์ปรับลดลงร้อยละ 4.3 ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงติดต่อกัน 4 สัปดาห์ หลังสามารถส่งออกน้ำมันดีเซลไปยังภูมิภาคอื่นได้เพิ่มมากขึ้น อุปทานในภูมิภาคที่ยังตึงตัว ท่ามกลางอุปสงค์ที่ยังจำกัดจากมาตรการล็อคดาวน์ 

นอกจากนี้ นายวัฒนพงษ์ ยังได้กล่าวถึง การติดตามสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพ พบว่า ราคาน้ำมันไบโอดีเซล (B 100) อ้างอิงเฉลี่ย ระหว่างวันที่ 2 – 8 สิงหาคม 2564 อยู่ที่ 38.60 บาทต่อลิตร เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว 0.52 บาทต่อลิตร จากสัปดาห์ก่อน จากสถานการณ์ราคาผลปาล์มน้ำมัน ณ วันที่ 26-30 กรกฎาคม 2564 เฉลี่ยอยู่ที่ 6.00-7.10 บาทต่อกิโลกรัม ราคาน้ำมันปาล์มดิบอยู่ที่ 35.00-36.00 บาทต่อกิโลกรัม 

ขณะนี้ราคาน้ำมันปาล์มดิบในตลาดโลกอยู่ที่ประมาณ 34.33 บาทต่อกิโลกรัม  ผลผลิตน้ำมันปาล์มของประเทศมาเลเซียซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ำมันปาล์มอันดับ 2 ของโลกปรับตัวลดลง เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนแรงงานต่างชาติในอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน ในขณะที่ผลผลิตปาล์มน้ำมันของประเทศไทยเริ่มน้อยลง ทำให้ราคาขายในประเทศปรับตัวสูงขึ้นจากความต้องการซื้อน้ำมันปาล์มดิบของผู้ผลิต โดยปริมาณสต๊อกน้ำมันปาล์มดิบ ณ สิ้นเดือน มิถุนายน 2564 ประมาณ 292,268 ตัน ส่วนสต็อกน้ำมันไบโอดีเซล B100) ณ สิ้นเดือน มิ.ย. 64  เท่ากับ 73.77 ล้านลิตร เพิ่มขึ้นจากเดือน พฤษภาคม 2564 เท่ากับ 0.69 ล้านลิตร 

ด้านราคาเอทานอลอ้างอิงในเดือนสิงหาคม 2564 อยู่ที่ 25.68 บาทต่อลิตร โดยไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนก่อน เนื่องจากเป็นราคาซื้อขายแบบระยะยาวของผู้ค้า โรงงานเอทานอลที่ผลิตเพื่อจำหน่ายเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงมีจำนวน 26 โรง กำลังการผลิตติดตั้งรวม 6.125 ล้านลิตรต่อวันผลิตจริงในเดือนมิถุนายนอยู่ที่ 3.28 ล้านลิตรต่อวัน ผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 0.12 ล้านลิตรต่อวัน ปริมาณการใช้เอทานอลในภาคเชื้อเพลิงในเดือนมิถุนายน อยู่ที่ 3.69 ล้านลิตรต่อวัน ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 0.47 ล้านลิตรต่อวัน จากการใช้น้ำมันกลุ่มแก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้น

สำหรับค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ที่แล้ว 0.03 บาท/เหรียญสหรัฐฯ มาอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 33.0702 บาท/เหรียญสหรัฐฯ ต้นทุนน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้น 0.65 บาท/ลิตร ขณะที่ต้นทุนน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้น 0.43 บาท/ลิตร ทำให้ค่าการตลาดของน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล และน้ำมันดีเซล เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 1.95 บาท/ลิตร

ฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 1 สิงหาคม 2564 กองทุนน้ำมันมีสินทรัพย์รวม 49,947 ล้านบาท หนี้สินกองทุนฯ 34,515 ล้านบาท ทั้งนี้ฐานะกองทุนน้ำมันสุทธิ 15,432 ล้านบาท แยกเป็นบัญชีน้ำมัน 30,405 ล้านบาท และบัญชี LPG -14,973 ล้านบาท

 

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Nichaphan W.
การตลาดและประชาสัมพันธ์