Thursday, April 25Modern Manufacturing
×

กนอ. ผนึก 3 สถาบันการศึกษา ยกระดับการบริหารพัฒนาองค์กรด้วยเทคโนโลยีนวัตกรรม

กนอ.จับมือ 3 สถาบันการศึกษา ลงนามบันทึกความเข้าใจ “โครงการศึกษาและพัฒนาด้านนวัตกรรม” หวังยกระดับการบริหารพัฒนาองค์กรด้วยเทคโนโลยีนวัตกรรมอย่างเป็นรูปธรรม รองรับทักษะทางเทคนิคและเทคโนโลยีที่กำลังเป็นที่ต้องการมากขึ้น

กนอ. ผนึก 3 สถาบันการศึกษา ยกระดับการบริหารพัฒนาองค์กรด้วยเทคโนโลยีนวัตกรรม
กนอ. ผนึก 3 สถาบันการศึกษา ยกระดับการบริหารพัฒนาองค์กรด้วยเทคโนโลยีนวัตกรรม

นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยถึงการลงนามบันทึกความเข้าใจ “โครงการศึกษาและพัฒนาด้านนวัตกรรม” ร่วมกับ 3 สถาบันการศึกษาของประเทศ ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยบูรพา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  และคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมาว่า ถือเป็นก้าวสำคัญอีกก้าวหนึ่งของ กนอ. ที่มุ่งมั่นและให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมองค์กรให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของ กนอ. คือ “นำนิคมอุตสาหกรรมสู่มาตรฐานสากล ด้วยนวัตกรรมอย่างยั่งยืน” โดยการยกระดับการบริหารพัฒนาองค์กรด้วยเทคโนโลยีนวัตกรรมอย่างเป็นรูปธรรม สามารถต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้ ซึ่ง กนอ. มีองค์ความรู้ด้านการพัฒนาและบริหารจัดการนิคมอุตสาหกรรม เมื่อร่วมมือกับหน่วยงานสถาบันการศึกษาที่มีศักยภาพสูงในการคิดค้น วิจัย และพัฒนานวัตกรรมด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนานวัตกรรมเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG) ด้านเทคโนโลยีเพื่อการลดก๊าซเรือนกระจก ด้านพลังงาน และด้านความปลอดภัย

CrystalFloor เรื่อง ‘พื้น ๆ ’ ที่ไม่ธรรมดา ด้วยน้ำยาชนิดพิเศษจาก REENTECH

รวมถึงการพัฒนากระบวนการคิดเชิงออกแบบที่เกี่ยวข้องกับการใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแล้ว จะก่อให้เกิดธุรกิจใหม่ในหลากหลายสาขาที่เหมาะสม เพื่อรองรับการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับ กนอ. นับเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ต่อภาคการศึกษา คือ มหาวิทยาลัย และภาคธุรกิจอุตสาหกรรม คือ นิคมอุตสาหกรรมต่างๆ  ตลอดจนสามารถขยายผลไปยังกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อก่อให้เกิดนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์กับทุกภาคส่วน และประเทศชาติในอนาคต 

“กนอ. จะใช้โอกาสนี้ในการศึกษาและพัฒนาด้านนวัตกรรมร่วมกับสถาบันการศึกษาทั้ง 3 แห่งให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่ได้มาประยุกต์ใช้ และเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งปัจจุบันจากผลสำรวจพบว่า หลายหน่วยงานในประเทศไทย ให้ความสำคัญกับทักษะทางเทคนิคด้านเทคโนโลยีมากขึ้น เช่น ความปลอดภัยทางไซเบอร์และการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล ขณะที่ประเทศไทยเองก็กำลังก้าวไปสู่การเป็นประเทศดิจิทัลอย่างเต็มตัว ดังนั้น ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัลจึงกำลังเป็นที่ต้องการอย่างมาก”นายวีริศ กล่าว  

ด้านนางปนัดดา รุ่งเรืองศรี รองผู้ว่าการ กนอ. สายงานบริหาร กล่าวว่า กนอ. มีกลยุทธ์ในการบริหารจัดการนวัตกรรมองค์กรในหลากหลายรูปแบบ  เช่น การส่งเสริมให้บุคลากรที่มีศักยภาพสูง (Talents) คิดค้นและพัฒนานวัตกรรม เพื่อนำผลงานเข้าสู่เวทีการประกวดนวัตกรรมองค์กร รวมถึงการร่วมมือกับกลุ่มพันธมิตร ลูกค้า หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และสถาบันการศึกษา ในการพัฒนานวัตกรรม ซึ่งเป็นการนำจุดแข็งของ กนอ. และพันธมิตรมาพัฒนาร่วมกัน เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่างกัน ซึ่งจะก่อให้เกิดนวัตกรรมที่นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง

สำหรับผู้แทนของสถาบันการศึกษาทั้งสามแห่ง ได้แก่ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สัญชัย จตุรสิทธา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รองศาสตราจารย์ ดร.ยุวดี รอดจากภัย คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และรองศาสตราจารย์ ดร.พลอย สืบวิเศษ คณบดีคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มีความยินดีในการทำบันทึกความเข้าใจครั้งนี้ นับเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากร กนอ. และสถาบันการศึกษา ต่อยอดทางความคิด นำไปสู่การใช้งานจริง เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้

ทั้งนี้ ความร่วมมือระหว่าง กนอ. กับ ทั้ง 3 สถาบันในครั้งนี้ เพื่อศึกษาและพัฒนาด้านนวัตกรรมให้เกิดขึ้นจริงในด้านต่าง ๆ อาทิ ด้านพลังงาน ด้านการพัฒนาระบบดิจิตอล และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับ กนอ. ตลอดจนทำให้เกิดนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ เกิดการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการทำงานที่ดีขึ้น สามารถตอบสนองและสนับสนุนการให้บริการผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงทุกภาคส่วนของ กนอ. ได้อย่างยั่งยืน โดยบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ มีระยะเวลา 3 ปี

Nichaphan W.
Marketing
READ MORE
×