Thursday, March 28Modern Manufacturing
×

ปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง 3 เดือนแรกปี 63 ลดลง 7.5 %

กรมธุรกิจพลังงาน เผย สถานการณ์การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงรอบ 3 เดือนแรกปี 2563 ลดลง เว้น แก๊สโซฮอล์อี 20 มีปริมาณการใช้เพิ่มขึ้นมากที่สุดอยู่ที่ 6.5 ล้านลิตร/วัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8

ปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง 3 เดือนแรกปี 63 ลดลง 7.5 %

นางสาวนันธิกา ทังสุพานิช อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน กล่าวถึง ภาพรวมการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเฉลี่ยต่อวันรอบ 3 เดือนแรก(มกราคม – มีนาคม) ปี 2563 ลดลง เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 7.5 โดยกลุ่มน้ำมันเบนซิน ลดลงร้อยละ 2.3 กลุ่มดีเซล ลดลงร้อยละ 2.9 น้ำมันอากาศยานเชิงพาณิชย์ (Jet A1) ลดลงร้อยละ 17.4 น้ำมันเตา ลดลงร้อยละ 29.9 น้ำมันก๊าด ลดลงร้อยละ 2.5 LPG ลดลงร้อยละ 11.7 และ NGV ลดลงร้อยละ 17.0

ปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง 3 เดือนแรกปี 63 ลดลง 7.5 %

ทั้งนี้ สาเหตุมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในช่วงต้นปี 2563 จึงทำให้ประเทศไทยต้องประกาศ พรก.สถานการณ์ฉุกเฉิน ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 เพื่อควบคุมการแพร่ระบาด โดยมีมาตรการ Lock down จึงส่งผลให้เศรษฐกิจที่ชะลอตัวอยู่แล้วในช่วงปลายปี 2562 ยิ่งส่งผลให้เกิดการหยุดชะงักของกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น

การใช้น้ำมันกลุ่มเบนซิน เฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 31.1 ล้านลิตร/วัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนคิดเป็นร้อยละ 2.3 โดยกลุ่มแก๊สโซฮอล์มีปริมาณการใช้ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เฉลี่ยอยู่ที่ 30.3 ล้านลิตร/วัน คิดเป็นร้อยละ 1.6 ขณะที่น้ำมันเบนซิน มีการใช้ลดลงเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 0.8 ล้านลิตร/วัน คิดเป็นอัตราลดลงร้อยละ 21.8

สำหรับภาพรวมการใช้น้ำมันกลุ่มแก๊สโซฮอล์ พบว่า แก๊สโซฮอล์อี 20 มีปริมาณการใช้เพิ่มขึ้นมากที่สุดอยู่ที่ 6.5 ล้านลิตร/วัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 เนื่องจากมีราคาถูกกว่าแก๊สโซฮอล์ 95 เฉลี่ยอยู่ที่ 3.01 บาท/ลิตร รองลงมาเป็นแก๊สโซฮอล์ 95 ปริมาณการใช้เฉลี่ยอยู่ที่ 14.0 ล้านลิตร/วัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เนื่องจากแก๊สโซฮอล์ 91 และแก๊สโซฮอล์ 95 มีราคาใกล้เคียงกันโดยมีส่วนต่างเพียง 0.27 บาท/ลิตร จึงทำให้ผู้บริโภคเลือกใช้น้ำมันชนิดที่มีค่าออกเทนสูงกว่า

ขณะที่แก๊สโซฮอล์ 91 มีปริมาณการใช้ลดลง 8.7 ล้านลิตร/วัน คิดเป็นอัตราลดลงร้อยละ 9.7 และ แก๊สโซฮอล์ อี85 มีปริมาณการใช้เฉลี่ยอยู่ที่ 1.1 ล้านลิตร/วัน คิดเป็นอัตราลดลงร้อยละ 11.4

การใช้น้ำมันกลุ่มดีเซล เฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 67.6 ล้านลิตร/วัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 2.9 โดยน้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา บี7 ปริมาณการใช้ลดลง 51.5 ล้านลิตร/วัน หรือลดลงร้อยละ 22.2 น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี10 มีปริมาณการใช้เฉลี่ยอยู่ที่ 6.4 ล้านลิตร/วัน (เริ่มมีการจำหน่ายตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม 2562) และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 ปริมาณการใช้เฉลี่ยอยู่ที่ 6.7 ล้านลิตร/วัน (เริ่มมีการจำหน่ายตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2561) โดยปริมาณการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วดังกล่าว อยู่ในช่วงการดำเนินการตามนโยบายของภาครัฐที่กำหนดให้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี10 เป็นน้ำมันดีเซลฐานของประเทศ

การใช้น้ำมันอากาศยานเชิงพาณิชย์ (Jet A1) เฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 17.7 ล้านลิตร/วัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของ ปีก่อน ร้อยละ 17.4 เนื่องด้วยสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการบินอย่างมากอีกทั้งหลายสายการบินประกาศหยุดให้บริการเส้นทางบินระหว่างประเทศตั้งแต่ช่วงกลางเดือน มี.ค.2563 เป็นต้นไป เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้ออไวรัสโควิด-19 จึงส่งผลให้ความต้องการใช้ลดลงอย่างมาก

การใช้ LPG เฉลี่ยต่อวันอยู่ที่16.0 ล้านกก./วัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนคิดเป็นร้อยละ 11.7 โดยปริมาณการใช้ภาคขนส่งลดลงมากที่สุด มีปริมาณการใช้อยู่ที่ 2.4 ล้านกก./วัน หรือลดลงร้อยละ 18.8 รองลงมาเป็นภาคปิโตรเคมี มีปริมาณการใช้อยู่ที่ 6.0 ล้านกก./วัน คิดเป็นอัตราลดลงร้อยละ 17.9 ถัดมาเป็นภาคอุตสาหกรรมมีปริมาณการใช้อยู่ที่ 1.8

ล้านกก./วัน คิดเป็นอัตราลดลงร้อยละ 3.1 และภาคครัวเรือนมีปริมาณการใช้ลดลงน้อยที่สุดอยู่ที่ 5.7 ล้านกก./วัน คิดเป็นอัตราลดลงร้อยละ 3.0

การใช้ NGV เฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 4.8 ล้านกก./วัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นร้อยละ 17.0 เนื่องจากนโยบายส่งเสริมการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 สำหรับรถบรรทุกขนาดใหญ่ทำให้ประชาชนและรถโดยสารหันไปใช้ดีเซลหมุนเร็วบี 20 ทดแทน

การนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง มีปริมาณรวมลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยมีปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบเฉลี่ยอยู่ที่ 928,923 บาร์เรล/วัน คิดเป็นอัตราลดลงร้อยละ 6.5 คิดเป็นมูลค่า 55,062 ล้านบาท/เดือน เนื่องจากยังอยู่ในช่วงเวลาการหยุดซ่อมบำรุงโรงกลั่นทำให้ต้องลดปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบเข้ากลั่นลง สำหรับน้ำมันสำเร็จรูป เป็นการนำเข้าน้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซลพื้นฐาน น้ำมันเตา น้ำมันอากาศยานและก๊าด และ LPG โดยมีปริมาณนำเข้าลดลงอยู่ที่ 33,901บาร์เรล/วัน คิดเป็นอัตราลดลงร้อยละ 57.6 คิดเป็นมูลค่า 1,978 ล้านบาท/เดือน

การส่งออกน้ำมันสำเร็จรูป เป็นการส่งออกน้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซลพื้นฐาน น้ำมันเตา น้ำมันอากาศยานและก๊าด และ LPG โดยมีปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เฉลี่ยอยู่ที่ 180,601 บาร์เรล/วัน คิดเป็นร้อยละ 0.6 คิดเป็นมูลค่า 10,373 ล้านบาท/เดือน

Nichaphan W.
Marketing
READ MORE
×