Thursday, April 25Modern Manufacturing
×

ใช้โดรนอย่างไรไม่ให้ผิดกฎหมาย?

ใช้โดรนอย่างไรไม่ให้ผิดกฎหมาย?

การใช้งานโดรนเพื่อซ่อมบำรุงในพื้นที่ที่เข้าถึงยากกลายเป็นเทรนด์และโซลูชันที่ได้รับความนิยมมากขึ้น โดยในปัจจุบันประเทศไทยมีกฎหมายเพื่อควบคุมการใช้งานโดรนอย่างเป็นทางการก่อนที่จะสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

ใช้โดรนอย่างไรไม่ให้ผิดกฎหมาย?

การใช้งานโดรนเพื่อทำการสำรวจกลายเป็นทอล์คออฟเดอะทาวน์อีกครั้งเมื่อเจ้าหน้าที่แสดงความคิดเห็นต่อกฎหมายและการใช้งานอากาศยานขนาดเล็กในการค้นหาผู้สูญหาย โดยรายละเอียดของเอกสารประกาศฉบับเต็มสามารถติดตามได้ ที่นี่

โดยโดรนที่ถูกควบคุมถูกแบ่งออกเป็นสิงประเภทได้แก่ ประเภทที่ใช้เป็นงานอดิเรก เพื่อความบันเทิงหรือกีฬา และ ใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ นอกจากเงื่อนไขแรกที่มีน้ำหนักไม่เกิน 25 กิโลกรัม ซ่งมีเงื่อนไขสำคัญสำหรับการใช้งานโดรนที่สำคัญโดยต้องไม่บินในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดอันตรายใดๆ ได้ ต้องทำการบินในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ห้ามทำการบินภายในระยะ 9 กิโลเมตรจากสนามบินหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวโดยไม่ได้รบอนุญาต ห้ามทำการบินโดยใช้ความสูงเกิน 90 เมตร เหนือพื้นดิน ห้ามทำการบินเหนือเมือง หมู๋บ้าน ชุมชนและห้ามทำการบินละเมิดสิทธิส่วนบุคคลผู้อื่น

การใช้งานโดรนในพื้นที่โรงงานสำหรับพื้นที่เปิดนั้นควรเป็นไปตามกฏข้อบังคับของกฎหมาย และสำหรับพื้นที่ปิดการใช้งานโดรนต้องดำเนินการอย่างระมัดระวังภายใต้คำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ

การขึ้นทะเบียนผู้บังคับอากาศยานโดรนกับสถาบันการบินพลเรือน (CAAT) ซึ่งรายละเอียดคำสั่งสำหรับการขึ้นทะเบียนดังนี้

1. ห้ามการใช้เครื่องวิทยุคมนาคมที่ใช้ในอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก (Drone) ยกเว้น มีการขึ้นทะเบียนเพื่อแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องวิทยุคมนาคมดังกล่าว หรือมีการขึ้นทะเบียนตามประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง หลักเกณฑ์การขออนุญาตและเงื่อนไขในการบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก (Drone) พ.ศ. 2558 หรือเป็นเครื่องบินเล็กซึ่งใช้เป็นเครื่องเล่นตามกฎกระทรวงคมนาคมซึ่งไม่เป็นอากาศยาน พ.ศ. 2548

2. การขึ้นทะเบียนเพื่อแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องวิทยุคมนาคมที่ใช้ในอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก(Drone)ให้ดำเนินการ ดังนี้

2.1 เอกสารและข้อมูลการลงทะเบียน

– กรณีบุคคลซึ่งครอบครองการใช้งาน

ให้แจ้ง ชื่อ-สกุลผู้ครอบครอง หมายเลขเครื่องหรือ Serial Number ยี่ห้อเครื่องวิทยุคมนาคมที่ใช้ในอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก(Drone)และอื่นๆ ตามแบบฟอร์มของสำนักงาน กสทช. ภาพถ่ายของ Drone ที่ลงทะเบียน และบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงของผู้ครอบครอง

– กรณีบุคคลซึ่งครอบครองเพื่อจำหน่าย (ร้านค้า)

         ให้แจ้งบัญชีแสดงรายการเครื่องวิทยุคมนาคมที่ใช้ในอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก(Drone) ตามแบบฟอร์มของสำนักงาน กสทช. ภาพถ่ายของ Drone ที่ลงทะเบียน และบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงของผู้ครอบครอง

2.2 สถานที่ลงทะเบียน ได้แก่ สำนักงาน กสทช. ถนนพหลโยธิน 8 (ซอยสายลม) พญาไท กรุงเทพฯ สำนักงาน กสทช. ภาค และสำนักงาน กสทช. เขต ทั่วประเทศ สถานีตำรวจทั่วประเทศ หรือที่สำนักงานการบิน   พลเรือนแห่งประเทศไทย

3. ในการบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก (Drone) ให้ถือปฏิบัติตามประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง หลักเกณฑ์การขออนุญาตและเงื่อนไขในการบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก (Drone) พ.ศ. 2558 ประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เรื่อง การบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก (Drone) ระหว่างพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และกฎหมาย ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งอื่นที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด

4. ให้ผู้ครอบครองเครื่องวิทยุคมนาคมที่ใช้ในอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก (Drone) ดำเนินการขึ้นทะเบียนภายใน 90 วัน นับตั้งแต่วันนี้ (11 ต.ค. 2560)

5. ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ. วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 และที่แก้ไขเพิ่มเติม


ที่มา:

  • Caat.or.th
Thos
"Judge a man by his questions rather than his answers"
Voltaire
READ MORE
×