Thursday, March 28Modern Manufacturing
×

3D Printing กับโอกาสทางการแพทย์

3D Printing กับโอกาสทางการแพทย์

การพิมพ์ชิ้นส่วน 3 มิติสำหรับอวัยวะสามารถสนับสนุนการดำเนินการทางการแพทย์ได้ไม่ว่าจะเป็นการสร้างอวัยวะเทียมภายนอกเพื่อใช้งาน หรือการสร้างอวัยวะเทียมภายในเพื่อฝึกฝนเหล่าแพทย์

3D Printing กับโอกาสทางการแพทย์

ในปัจจุบันโมเดล 3 มิติถูกใช้บ่อยครั้งในการวางแผนผ่าตัด และได้ต่อยอดมาเป็นโมเดลกายวิภาค 3 มิติและซอฟท์แวร์วางแผน 3 มิติ นอกจากความสะดวกสบายในการปฏิบัติงานและวางแผนแล้วยังสะดวกต่อการทำความเข้าใจกับผู้ป่วยด้วยเช่นกัน

ผลงานวิจัยจาก The Cleft Palate-Cranioficial Journal ระบุว่าเทคโนโลยีนี้สามารถลดระยะเวลาในการผ่าตัดลงได้ 31 นาทีต่อเคส ประหยัดค่าใช้จ่ายได้กว่า 3 หมื่นบาท ต่อการผ่าตัดหนึ่งครั้ง

แม้ว่าความปลอดภัยของการใช้งานชิ้นส่วนที่ผลิตจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ยังไม่อาจใช้กับอวัยวะภายในร่างกายได้ แต่สามารถช่วยในการวิเคราะห์และผ่าตัด รวมถึงผลิตอวัยวะเทียมภายนอกได้แล้วในปัจจุบัน โดย FDA ได้ระบุว่าอุปกรณ์การแพทย์มีเครื่องมือกว่า 1,700 รูปแบบ และจัดกลุ่มทางการแพทย์เฉพาะทางได้ 16 กลุ่ม ซึ่งแบ่งลำดับความสำคัญไว้อีกขั้นหนึ่ง โดยการขึ้นรูป 3 มิติ ได้ถูกระบุไว้เป็น Class II สำหรับอุปกรณ์การแพทย์ซึ่งเป็นระดับเดียวกับการวางแผนผ่าตัดฝังกระดูกและแนวทางการผ่าตัด

ปัจจุบันเครื่องพิมพ์ BioMimics ของ Stratasys สามารถผลิตชิ้นส่วนจำลองอวัยวะได้ใกล้เคียงคุณสมบัติของร่างกาย เปิดโอกาสใหม่ให้เหล่านักศึกษาและแพทย์ฝึกฝนได้มากเท่าที่ต้องการก่อนการทดสอบหรือลงมีดผ่าจริง


ที่มา:

  • Machinedesign.com
Thos
"Judge a man by his questions rather than his answers"
Voltaire
READ MORE
×