Thursday, April 18Modern Manufacturing
×

GPSC- ม.สุรนารี ลุย โปรเจกต์พลังงานอัจฉริยะ

GPSC ผนึก ม.เทคโนโลยีสุรนารี รุก โครงการติดตั้งโซลาร์บนหลังคา-โซลาร์ลอยน้ำ 6 เมกะวัตต์ งบลงทุน 150 ล้านบาท ยกระดับเป็นศูนย์การเรียนรู้ พลังงานอัจฉริยะแห่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็นโมเดลเมืองพลังงานไมโครกริดอัจฉริยะ

GPSC- ม.สุรนารี ลุย โปรเจกต์พลังงานอัจฉริยะ

นายชวลิต ทิพพาวนิชประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC กล่าวภายหลังลงนามบันทึกความร่วมมือโครงการวิจัยและพัฒนาระบบพลังงานแสงอาทิตย์ ระหว่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และบริษัท ผลิตไฟฟ้าและพลังงานร่วม จำกัด หรือ CHPP ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่มGPSC ซึ่ง GPSC ถือหุ้น 100% เพื่อผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์กำลังผลิตรวมประมาณ 6เมกะวัตต์ เพื่อสร้าง “Low carbon university” สามารถลดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคให้กับมหาวิทยาลัยฯผ่านสัญญาซื้อขายไฟฟ้ารูปแบบเอกชนกับเอกชน(Private PPA) อีกทั้งเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้นวัตกรรมด้านพลังงานอัจฉริยะ(Smart Energy)ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้แก่บุคลากร นักศึกษา และประชาชนผู้สนใจ  โดยใช้งบประมาณดำเนินการราว 150 ล้านบาทคาดว่าจะสามารถผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าได้ในปี 2565 เป็นต้นไป

GPSC- ม.สุรนารี ลุย โปรเจกต์พลังงานอัจฉริยะ

สำหรับโครงการดังกล่าวจะแบ่งการติดตั้งเป็น3ส่วนได้แก่

(1)การติดตั้งแผงโซลาร์เพื่อผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา(Solar Rooftop)  ของอาคารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี8อาคารขนาดกำลังผลิตไฟฟ้ารวมประมาณ1.68เมกะวัตต์ โดยใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบชนิด Mono PERC Half-Cell Module

(2) การติดตั้ง Solar Rooftop บริเวณหลังคาทางเดิน อาคารบริหาร ขนาดกำลังติดตั้ง 60 กิโลวัตต์ ด้วยแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบชนิด Bifacial cells  แทนการใช้หลังคาทั่วไป 

(3) การติดตั้งโซลาร์ชนิดลอยน้ำ (Solar Floating)ในอ่างเก็บน้ำสุระ1ขนาดกำลังการผลิตติดตั้งรวมประมาณ4.312เมกะวัตต์ซึ่งจุดเด่นของระบบนี้อยู่ที่ทุ่นลอยน้ำซึ่งเป็นเทคโนโลยีของบริษัทพีทีที โกลบอลเคมิคอล จำกัด (มหาชน)  หรือ GC  บริษัทในกลุ่มปตท.ที่ใช้วัตถุดิบ (Raw Material) เป็นเม็ดพลาสติกโพลิเอทิลีนเกรดพิเศษที่ผสมของสารกันแสง UV จาก ที่มีคุณสมบัติคงทนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสามารถนำกลับไปรีไซเคิลได้หลังจากสิ้นสุดอายุการใช้งานในด้านความร่วมมือการวิจัยและพัฒนา ได้มีแนวคิดการนำ data engineering จากระบบมาต่อยอดเพื่อจัดการรูปแบบพลังงานไฟฟ้าให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด

พร้อมกันนี้ยังมีการติดตั้งระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง (Battery Energy Storage System: BESS) ชนิด  Lithium ion Battery  ขนาด100กิโลวัตต์/200กิโลวัตต์-ชั่วโมงให้กับอาคารหอพักสุรนิเวศพร้อมด้วยการวางระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะโดยใช้เทคโนโลยี่ Block Chain ในการบริหารจัดการระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์รวมถึงการติดตั้งระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI)เพื่อสามารถควบคุมและติดตามผลการทำงานแบบ Real Time และยังสามารถนำข้อมูลต่างๆมาใช้ในการตัดสินใจอาทิข้อมูลสภาพอากาศและความเข้มของแสงอาทิตย์มาวิเคราะห์ปริมาณความสามารถในการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ล่วงหน้าเพื่อนำข้อมูลเหล่านี้ไปบริหารจัดการในการเพิ่มความแม่นยำของประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้า

“ความร่วมมือครั้งนี้นับเป็นความร่วมมือที่สำคัญที่จะทำให้การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมพลังงานทดแทนของไทยให้ก้าวหน้ามากขึ้นโดยเป็นการดึงนวัตกรรมต่างๆที่ทันสมัยมาบริหารทั้งระบบAI, BESS ระบบซื้อขายไฟฟ้าอัจฉริยะ(Smart Energy Platform (SEP)) เพื่อซื้อขายไฟฟ้าจากโซลาร์ฯระหว่างอาคารโดยการพัฒนาครั้งนี้จะเป็นการสนับสนุนการวิจัยด้านพลังงานทดแทนของนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยฯ และเป็นศูนย์การเรียนรู้ให้กับผู้ที่สนใจอื่นๆนอกจากนี้ ยังเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีการวิจัยเพื่อเพิ่มมูลค่าทางการค้าในอนาคตได้อีกด้วย”นายชวลิตกล่าว

รศ.ดร.วีรพงษ์แพสุวรรณอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีกล่าวว่า ความร่วมมือโครงการดังกล่าว มีเป้าหมายเพื่อการลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้า จากปัจจุบันที่มีค่าไฟฟ้ากว่า 100 ล้านบาทต่อปีด้วยวิธีการที่เราสามารถใช้ทรัพยากรของมหาวิทยาลัยฯ ที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดจากการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ลอยน้ำ 4.3MW บนอ่างเก็บน้ำสุระและแผงโซลาร์เซลล์1.7MW บนหลังคา ดังนั้นการพัฒนาโครงการนำระบบพลังงานทดแทนที่ผลิตจากพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อมาทดแทนการใช้ไฟฟ้าจากฟอสซิลจะทำให้มหาวิทยาลัยฯ สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าจากระบบพลังงานทดแทนได้กว่า8.5 ล้านกิโลวัตต์ต่อปี หรือคิดเป็นเงินที่ประหยัดได้ 510 ล้านบาทตลอดอายุโครงการ25 ปี และสามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ถึง115,000 ตันนอกจากนี้ ในส่วนของ Solar Floating จะช่วยลดการระเหยน้ำในสระน้ำมากกว่า 30,000ลบ.ม./ปีอีกด้วย

ในอนาคตโครงการฯ ยังมีแผนจัดตั้งให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ทั้งภาครัฐและเอกชนหน่วยงานด้านการศึกษาและชุมชนต่างๆ เพื่อเข้ามาเยี่ยมชมและศึกษาดูงานสร้างความรู้ความเข้าใจในด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะระบบไมโครกริดและการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนที่สามารถผลิตใช้ได้เองและช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Nichaphan W.
Marketing
READ MORE
×