ในการทำธุรกิจการผลิตผู้ประกอบการหลายคนคงคุ้นเคยกับคำว่า Supply Chain และ Value Chain กันมาไม่มากก็น้อย เพราะเป็นคำที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันในธุรกิจโดยตรง ในขณะเดียวกันบางท่านอาจหลงลืมไป หรืออาจสับสนว่า Supply Chain และ Value Chain แตกต่างกันอย่างไร MMThailand จะพาทุกท่านมาทบทวนความเข้าใจ และทำให้เห็นถึงผลกระทบจากความเข้มแข็งของ Supply Chain และ Value Chain กันครับ
Supply Chain คืออะไร?
ซัพพลายเชนหรือ Supply Chain มีชื่อเรียกภาษาไทยอย่างเป็นทางการว่า ‘ห่วงโซ่อุปทาน’ และมีความหมายตามนิยามของตลาดหลักทรัพย์ คือ เครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทและคู่ค้าของบริษัทในการผลิตและส่งมอบสินค้า ที่แสดงให้เห็นถึงขั้นตอนของการได้มาซึ่งสินค้าตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การผลิต การขนส่ง ไปจนถึงการส่งมอบสินค้าหรือบริการไปยังลูกค้า หรือหากจะเรียกว่าเป็นการมุ่งเน้นในเรื่องของประสิทธิภาพการจัดหาวัตถุดิบ การผลิต และการกระจายสินค้าไปยังผู้บริโภคก็ไม่ผิดนัก
Supply Chain ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง? ผู้ผลิตวัตถุดิบ – ทำหน้าที่ในการสร้างวัตถุดิบต้นน้ำ เช่น เกษตรกร, เหมืองแร่ หรือผู้ผลิตสารเคมี ผู้ค้าส่ง – ทำหน้าที่ซื้อและขายวัตถุดิบ หรือเครื่องมือเครื่องจักร สินค้าอื่นใดที่เป็น B2B ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในห่วงโซ่ ผู้ผลิต – ทำหน้าที่แปรรูปวัตถุดิบให้เป็นสินค้า เช่น โรงงานอาหารหรือโรงงานประกอบรถยนต์ผู้จัดจำหน่าย – เป็นผู้ซื้อสินค้าจากผู้ผลิตเพื่อกระจายสินค้า และอาจรวมไปถึงบริการอื่น ๆ ให้แก่ผู้บริโภคและผู้ค้าปลีกด้วยผู้ให้บริการ โลจิสติกส์ – ทำหน้าที่จัดส่งสินค้าไม่ว่าจะเป็นภายในประเทศหรือต่างประเทศ ผู้ค้าปลีก – ทำหน้าที่จำหน่ายสินค้าให้ผู้บริโภค เช่น ร้านโชว์ห่วย ตลาดนัด หรือห้างสรรพสินค้า ผู้บริโภค – ผู้จ่ายเงินซื้อสินค้าหรือบริการ แม้จะอยู่ลำดับสุดท้ายของห่วงโซ่อุปทาน แต่เป็นตัวตั้งต้นอุปสงค์ (Demand) ที่ทำให้เห็นว่าสินค้าหรือวัตถุดิบแบบใดเป็นที่ต้องการในตลาด |
เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้นจึงขอยกตัวอย่างของ Supply Chain ในอุตสาหกรรมยานยนต์ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่สำคัญที่สุดของประเทศไทยขึ้นมา โดยในกาารผลิตรถยนต์ขึ้นมานั้นจะประกอบไปด้วยชิ้นส่วนอันหลากหลาย ตั้งแต่เครื่องยนต์, แบตเตอรี่, ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์, ยาง, โครงรถ, การเคลือบสี ซึ่งแต่ละชิ้นส่วนจะต้องมีการจัดหาวัตถุดิบและแปรรูปมาก่อนจากนั้นจึงนำมาประกอบ เมื่อผลิตเสร็จแล้วจึงถูกขนส่งนำมาวางขายที่โชว์รูมซึ่งผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ จะเห็นได้ว่าการผลิตสินค้าหนึ่งชิ้น Supply Chain ที่เกิดขึ้นอาจไม่ได้เป็นเส้นตรงเส้นเดียว จะต้องมีการจัดหาและผลิตชิ้นส่วนต่าง ๆ เพื่อนำมาประกอบ เกิดเป็นระบบนิเวศของกลุ่มผลิตภัณฑ์สุดท้าย (Final Product) นั้น ๆ ที่ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันและต้นทุนที่จะกลายเป็นราคาสำหรับผู้บริโภคอีกด้วย
กรณีศึกษาด้าน Supply Chain จากผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ ความท้าทาย: ต้องการนำชิปต้นทุนต่ำเข้าสู่ตลาด แต่ต้องลดต้นทุนที่อยู่ในซัพพลายเชนให้ได้ ซึ่งต้นทุนในซัพพลายเชนอยู่ที่ 5.50 ดอลลาร์ต่อชิป 1 ชิ้น สำหรับชิปที่มีราคาราว 100 ดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ชิปใหม่ตั้งเป้าราคาขายอยู่ที่ 20 ดอลลาร์สหรัฐ การดำเนินการ: ความท้าทายหลักตกอยู่ที่คงคลัง เนื่องจากไม่สามารถลดตค้นทุนส่วนอื่นได้อีกแล้ว ไม่ว่าจะเป็นบรรจุภัณฑ์หรือการกระจายสินค้า เหลือเพียงแค่ส่วนของคงคลัง โดยปัจจุบันมีวงจรการทำงานอยู่ที่ 9 อาทิตย์ ซึ่งการลดระยะเวลาที่ใช้และคงคลังจะช่วยลดต้นทุนได้ เริ่มต้นที่การลดระยะเวลาทดสอบในงานประกอบชิปจาก 5 วัน เหลือเพียง 2 วันต่ออาทิตย์ให้เป็นกระบวนการต่อเนื่อง รวมถึงนำการวางแผน S&OP มาใช้ และเปลี่ยนโมเดลการบริหารจัดการให้ผู้ขาย (Vendor) เป็นผู้จัดการคงคลังเมื่อทำได้ ผลลัพธ์: เมื่อ Cycle Time ทำเวลาที่มีประสิทธิภาพดีขึ้น ลดจากระยะเวลาที่ใช้ 9 สัปดาห์มาเหลือเพียง 2 สัปดาห์ และสามารถลดต้นทุนที่ใช้ได้มากกว่า 4 ดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับการตั้งราคาขายที่ 20 ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งทำให้แข่งขันได้มากกว่าต้นทุนแบบเดิม |
Value Chain คืออะไร?
Value Chain หรือที่ภาษาไทยเรียกกันอย่างเป็นทางการว่าห่วงโซ่คุณค่านั้น Cambridge Dictionary ให้นิยามเอาไว้ว่า ‘เป็นชุดของลำดับขั้นที่เกี่ยวข้องในการผลิตสินค้าหรือบริการที่ขายให้กับผู้บริโภค ซึ่งแต่ละขั้นตอนจะมีการเพิ่มมูลค่าเข้าไปในสินค้าหรือบริการนั้น ๆ’ เป็นการวิเคราะห์แต่ละกระบวนการเพื่อสร้างมูลค่าและสร้างความพึงพอใจให้กับผู้บริโภค หากมอง Value Chain อย่างง่ายก็จะเห็นว่าสามารถแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์, การผลิต, การตลาด และการบริโภครวมถึงการรีไซเคิล แต่ถ้าหากต้องการวิเคราะห์แบบละเอียด Value Chain จะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กิจกรรรม ได้แก่ กิจกรรมหลัก และกิจกรรมเสริม
Value Chain ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง? กิจกรรมหลัก (Primary Activities): เกี่ยวข้องโดยตรงกับการสร้างผลิตภัณฑ์และการบริการ โลจิสติกส์ขาเข้า (Inbound Logistics) – กิจกรรมที่เกี่ยวกับการรับสินค้าหรือวัตถุดิบ คลังสินค้า การบริหารจัดการสินค้าคงคลัง กระบวนการผลิต – การเปลี่ยนวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จพร้อมขาย (Finished Good) โลจิสติกส์ขาออก (Outbound Logistics) – กิจกรรมในส่วนของการกระจายสินค้า ซึ่งรวมถึงเรื่องของบรรจุภัณฑ์, การจัดเรียง และการนำส่งสินค้าด้วย การตลาดและงานขาย (Marketing & Sales) – กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการตลาด และการขายผลิตภัณฑ์หรือบริการ รวมถึงโปรโมชัน, การโฆษณา และกลยุทธ์ด้านราคา การบริการหลังการขาย (After-sales Services) – กิจกรรมที่เกิดขึ้นหลังจากงานขายเสร็จสมบูรณ์แล้ว รวมถึง การติดตั้ง การฝึกอบรม งานประกันคุณภาพ การซ่อมบำรุง และการบริการลูกค้า กิจกรรมเสริม (Secondary Activities): กิจกรรมที่สนับสนุนให้กิจกรรมหลักมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การจัดซื้อ (Procurement) – กิจกรรมเกี่ยวกับการจัดหาวัตถุดิบ ชิ้นส่วนประกอบ อุปกรณ์และบริการ การพัฒนาเทคโนโลยี (Technological Development) – งานด้านวิจัยและพัฒนารวมไปถึง การออกแบบผลิตภัณฑ์ การวิจัยด้านตลาด และการพัฒนากระบวนการ การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources Management) – กิจกรรมที่เกี่ยวกับการสรรหาบุคลากร จ้างงาน ฝึกอบรม การพัฒนา การรักษาพนักงาน และการชดเชยให้พนักงาน โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) – กิจกรรมที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายบริษัทและการบริหารจัดการ รวมถึงการบัญชี และการวางแผน |
ยกตัวอย่างในกรณีของซัพพลายเออร์ Tier 1 ในอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ต้องเผชิญหน้ากับประสิทธิภาพการผลิตและกำไรที่ลดลง เป็นผลจากกระบวนการผลิตที่ล้าสมัยและการบูรณาการ Value Chain ที่ย่ำแย่ ซึ่งการยกเครื่องยุทธศาสตร์ใหม่นำไปสู่การลดต้นทุนการปฏิบัติงานได้ 12% และเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าได้ถึง 15% ทั้งยังลดเวลาในการนำสินค้าออกสู่ตลาดได้อีกกว่า 20% สิ่งเหล่านี้เป็นผลจากการเพิ่มประสิทธิภาพ Value Chain และปรับเปลีย่นการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง
กรณีศึกษาด้าน Value Chain จากผู้ผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน ความท้าทาย: ผู้ผลิตพบความท้าทายในการทำให้ Value Chain นั้นสอดคล้องกับอุปทานที่เกิดการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรม เกิดเป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้น และ Lead Time ที่ยาวนานยิ่งขึ้น การดำเนินการ: วิเคราะห์และจัดทำยุทธศาสตร์ ซึ่งจะมีการทำงานเป็นลำดับขั้นเพื่อลดการต่อต้านหรือการก่อกวนที่อาจเกิดขึ้นได้ ทั้งยังเพิ่มการฝึกอบรมให้กับทีมงาน โดยตัวแผนและยุทธศาสตร์มีความยืดหยุ่นสามารถปรับปรุงได้ ทั้งหมดต้องใช้ข้อมูลในการดำเนินการเพื่อให้มีทิศทางที่ชัดเจนและมั่นใจได้ในการตัดสินใจ ผลลัพธ์: คาดว่าจะมีการลดต้นทุนการปฏิบัติงานลงได้ถึง 15% และลด Lead Time 25% ทั้งยังเพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้าซึ่งเป็นผลจากตจารางการส่งมอบที่เชื่อถือได้ |
Supply Chain และ Value Chain เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?
ความแตกต่างหลักระหว่าง Supply Chain และ Value Chain คือ Supply Chain นั้นจะเกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าหรือบริการเพื่อส่งถึงมือผู้บริโภค แต่ในส่วนของ Value Chain จะเป็นการพิจารณาหาวิธีเพื่อเพิ่มคุณค่าให้ผลิตภัณฑ์ในขณะที่ตัวผลิตภัณฑ์นั้นเดินทางผ่านแต่ละขั้นตอนของ Supply Chain ซึ่งในท้ายที่สุดจะเป็นการส่งมอบประสบการณ์และความประทับใจให้กับผู้บริโภคนั่นเอง
ความแตกต่างระหว่าง Value Chain และ Supply Chain
- การให้ความสำคัญที่ในคุณค่าที่ต่างกัน
- Value Chain – ให้ความสำคัญกับการสร้างมูลค่าในแต่ละขั้นของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์
- Supply Chain – เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการได้มาซึ่งวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนจากซัพพลายเออร์ผ่านคำสั่งซื้อ กระบวนการผลิตค และการจัดส่งผลิตภัณฑ์ให้กับผู้บริโภค เป้าหมายหลักต้องแน่ใจว่าจะเกิดการเคลื่อนที่ของผลิตภัณฑ์ตลอดห่วงโซ่โดยมีต้นทุนที่ต่ำไม่ว่าจะเป็นการผลิตหรือการขนส่ง
- ความได้เปรียบทางการแข่งขันที่ต่างกัน
- ธุรกิจสามารถเกิดความได้เปรียบในการแข่งขันของ Value Chain ด้วยการนำเสนอบริการของลูกค้าที่เหนือชั้นกว่า, การสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เป็นนวัตกรรม หรือการพัฒนาแคมเปญการตลาดที่กระตุ้นสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย
- ในบริบทของ Supply Chain ความได้เปรียบในการแข่งขันจัเกิดขึ้นจากทั้งความสัมพันธ์กับซํพพลายเออร์ที่ส่งผลต่อราคาและเงื่อนไขในการได้มาของวัตถุดิบ การจัดการสินค้าคงคลังที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนการปรับปรุงกระบวนการเพิ่มเติมเต็มคำสั่งซื้อให้สามารถลด Lead Time ได้
- ‘การบริหารจัดการกระบวนการ’ และ ‘ประสบการณ์ของลูกค้า’
- การวิเคราะห์ Value Chain จะทำให้เข้าใจได้ว่าแต่ละกิจกรรมในองค์กรเพิ่มประสบการณ์โดยรวมของผู้ใช้ได้อย่างไร ไม่ว่าจะเป็นฟีเจอร์ หรือแง่มุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ชื่อเสียงของแบรนด์ และการสนับสนุนหลังการขาย
- การเพิ่มประสิทธิภาพ Supply Chain นั้นมีเป้าหมายในการยกระดับกระบวนการภายในที่เกีย่วข้องกับการจัดซื้อ, ตารางการผลิต และโลจิสติกส์ มีเป้าหมายเพื่อลดต้นทุนในขณะที่ยังรักษาระดับของคุณภาพสินค้าเอาไว้รวมถึงความสามารถในการเข้าถึงสินค้าของลูกค้าให้สม่ำเสมออีกด้วย
จุดร่วมของ Value Chain และ Supply Chain
- การให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพ – ทั้ง Value Chain และ Supply Chain ต่างให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับกระบวนการในธุรกิจ ทำให้ลดความสูญเปล่า ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวม
- การเชื่อมต่อกันระหว่างกิจกรรม – ไม่ว่าจะเป็น Supply Chain หรือ Valuie Chain ต่างก็เกี่ยวข้องกับกิจกรมที่ทำให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์สุดท้ายหรือบริการที่จะส่งถึงมือลูกค้า กระบวนการที่เชื่อมต่อและส่งต่อคุณค่าจะเป็นการเพิ่มมูลค่าให้ในแต่ละขั้นตอนได้เช่นกัน
- บทบาทของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย – ทั้งการบริหารจัดการ Supply Chain และการบริหารจัดการ Value Chain นั้นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีบทบาทอย่างมากในความสำเร็จที่เกิดขึ้นตลอดกระบวนการ ไม่ว่าจะเป็นซัพพลายเออร์, ตัวแทนจำหน่าย, ร้านค้าปลีก และผู้ใช้ ต่างก็มีบทบาทเฉพาะในทั้ง 2 ระบบ
Supply Chain และ Value Chain ที่เข้มแข็งสร้างศักยภาพในการแข่งขันได้อย่างไร?
Supply Chain และ Value Chain นั้นเป็นสิ่งที่ไม่อาจแยกออกจากกันได้ ถึงแม้ว่าจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกันแต่ก็เป็นส่วนที่ทำงานร่วมกันและส่งเสริมกัน เพื่อสร้างศักยภาพในการแข่งขันของธุรกิจให้เติบโตและยั่งยืน
Supply Chain เรื่องของระบบนิเวศการผลิตหมู่มาก
ยกตัวอย่างในการแข่งขันของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ยุคใหม่ระหว่างจีนกับไทย การที่จีนมีซัพพลายเชนและระบบนิเวศ (Ecosystem) ที่พร้อม ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบ ชิ้นส่วน ทักษะแรงงาน และโรงงานต่าง ๆ ทำให้การพัฒนาสินค้าขึ้นมาใช้เวลาไม่นานและใช้ต้นทุนไม่มาก การปรับเปลี่ยนจึงเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่ประเทศไทยหากต้องการพัฒนาสินค้าชิ้นเดียวกัน การสั่งชิ้นส่วนมาเพื่อทดสอบหรือประกอบต้นแบบอาจต้องใช้เวลานานหลักสัปดาห์ ในขณะที่จีนอาจสั่งเช้าได้บ่าย ทำให้ทั้งเวลาที่ออกสู่ตลาดและ Lead Time ในการผลิตนั้นใช้เวลามากและมีต้นทุนสูงทำให้ไม่อาจแข่งขันได้ หากต้องการพัฒนาหรือเพิ่มมูลค่าต่าง ๆ ก็ทำได้ยากเนื่องจากความไม่พร้อมของ Supply Chain ที่เกิดขึ้น
Value Chain เรื่องของคุณค่าและ Branding
ในส่วนของ Value Chain นั้นไม่ได้เกี่ยวข้องเฉพาะกับการผลิตหรือสร้างสินค้าเท่านั้น แต่เป็นการเจาะลงไปใจกลางความต้องการของผู้บริโภค ซึั่งจะรวมถึงภาพลักษณ์ การตลาด ประสบการณ์ของผู้ใช้ ไปจนถึงความจงรักภักดีต่อแบรนด์ ยกตัวอย่างเช่น Value Chain ของ Apple ที่ไม่ใช่แค่ผู้ผลิต iPhone แต่ยังมีการออกแบบที่เฉพาะตัว มี Branding ที่ทรงพลัง และบริการหลังการขายอันยอดเยี่ยม ซึ่งทำให้ Apple สามารถตั้งราคาได้สูง ทั้งยังสร้างลูกค้าที่จงรักภักดีในแบรนด์ เรียกว่าข้อได้เปรียบที่เกิดขึ้นนั้นอาจมีมากกว่า Supply Chain ที่มีประสิทธิภาพด้วยซ้ำ
Supply Chain และ Value Chain สองห่วงโซ่ที่ธุรกิจการผลิตต้องหาจุดสมดุลให้เจอ!
จะเห็นได้ว่าหาก Supply Chain นั้นไม่มีความเข้มแข็ง ผลกระทบที่เกิดขึ้น คือ ต้นทุน และความเร็วของธุรกิจ แต่หาก Value Chain นั้นอ่อนแอ ผู้ผลิตก็ไม่สามารถแข่งกับแบรนด์อื่น ๆ ได้ ไม่เกิดเรื่องความรักในตัวแบรนด์ขึ้น หรือแม้แต่กำไรก็ตามที โดยเฉพาะอย่างยิ่งหาก Supply Chain ของคุณอยู่ในระดับสากลแล้วล่ะก็ผลกระทบเหล่านี้ก็จะเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ในการทำธุรกิจยุคใหม่นั้นเรื่องของ Supply Chain จะเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากสำหรับการผลิต โดยเฉพาะในแง่ของการดึงดูดการลงทุนและความพยายามในการสร้างอุตสาหกรรมใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นได้ในประเทศหรือภูมิภาค และเรื่องของ Value Chain เป็นเรื่องของประสบการณ์ที่ส่งมอบให้กับผู้บริโภค ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างการแข่งขันในตลาด การเพิ่มมูลค่า และการจับจองพื้นที่ในใจผู้บริโภค หากธุรกิจใดที่มีการผลิตด้วยตัวเองและเป็นเจ้าของแบรนด์อย่างธุรกิจที่เป็๋น OBM (Original Brand Manufacturer) ก็จะยิ่งทวีความสำคัญอย่างมาก
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าธุรกิจที่ทำหน้าที่เป็น OEM หรือ ODM ที่ผลิตอย่างเดียวจะไม่ต้องสนใจเรื่องของ Value Chain ก็ได้ เรื่องของ Supply Chain อาจสำคัญเป็นลำดับต้น ๆ สำหรับธุรกิจที่รับช่วงการผลิตก็จริง แต่ในธุรกิจหนึ่ง ๆ นั้นก็สามารถมี Value Chain ได้เช่นกัน ทั้งการมองว่าตัวโรงงานเองจะเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่มูลค่าให้แบรนด์ใดได้บ้าง มีเงื่อนไขหรือบริบทอย่างไร และเมื่อพิจารณาลงมา Value Chain ของตัวเองในบริบทเหล่านั้นจะเกิดอะไรขึ้นได้บ้าง จะะส่งมอบความประหลาดใจในแง่บวกให้ลูกค้าได้อย่างไรนอกเหนือจากเรื่องของราคาและคุณภาพที่สม่ำเสมอ
ดังนั้นแล้วไม่ว่าคุณจะทำธุรกิจด้านใน เป็นผู้ผลิตสินค้าอะไร การให้ความสำคัญกับการบริหาร Supply Chain และ Value Chain เป็นสิ่งที่ไม่อาจละเลยได้หากต้องการให้ธุรกิจมีศักยภาพในการแข่งขัน หรือต้องการให้ธุรกิจเกิดความยั่งยืน แน่นอนว่าการพิจารณาระบบนิเวศเศรษฐกิจเดิมในประเทศเพื่อมองหาความมั่นคง ความพร้อมจากห่วงโซ่ต่าง ๆ เป็นเรื่องดี แต่ในขณะเดียวกัน การมองหาโอกาสใหม่ ๆ และการสร้างห่วงโซ่ใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับทิศทางอุปทานโลกก็เป็นสิ่งที่ห้ามหลงลืมหรือมองข้ามไปเช่นกัน
อ้างอิง
https://www.netsuite.com/portal/resource/articles/erp/value-chain-supply-chain.shtml
https://www.gep.com/blog/technology/supply-chain-vs-value-chain
https://www.inboundlogistics.com/articles/value-chain-vs-supply-chain/
https://www.researchgate.net/publication/344374264_A_BRIEF_STUDY_OF_VALUE_CHAIN_AND_SUPPLY_CHAIN
https://setsustainability.com/page/sustainable-supply-chain
https://www.mckinsey.com/featured-insights/mckinsey-explainers/what-is-supply-chain
https://www.cips.org/intelligence-hub/supply-chain-management/what-is-a-supply-chain
https://www.techtarget.com/whatis/definition/supply-chain
https://www.procurious.com/procurement-news/where-does-your-supply-chain-begin-and-end
https://www.interlakemecalux.com/blog/supply-chain-definition
https://corporatefinanceinstitute.com/resources/management/supply-chain/
https://dk.rmutp.ac.th/upload/course/1774005318380081.pdf
https://psdg.ops.moc.go.th/th/file/get/file/20220331b2ee7871d1e888bdd339f5862ea31ddd143835.pdf
https://www.cisl.cam.ac.uk/education/graduate-study/pgcerts/value-chain-defs
https://mark-bridges.medium.com/25-case-studies-exploring-value-chain-analysis-cdf7f82486bf
https://repositorio.iscte-iul.pt/bitstream/10071/6685/1/phd_zhang_wenfeng.pdf
https://www.linkedin.com/pulse/difference-between-value-chain-supply
https://unctad.org/system/files/official-document/ditctncd2015d1_en.pdf
https://flevy.com/topic/value-chain/case-value-chain-enhancement-aerospace-components-manufacturer