Thursday, April 25Modern Manufacturing
×

ดีพร้อม แถลงผลสำเร็จโครงการ DIPROM Fruit Creation

ดีพร้อม แถลงผลสำเร็จโครงการ DIPROM Fruit Creation  ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมแปรรูปให้กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และSMEs จากพื้นที่ 14 จังหวัดทั่วประเทศประมาณ740 คน สร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลผลิตมะม่วง ฝรั่ง อะโวคาโดที่ตกเกรดและลดความสูญเสียในช่วงล้นตลาด ยกระดับ SMEs รุกตลาดผลไม้แปรรูป สร้างมูลค่าเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 17.5 ล้านบาท

ดีพร้อม แถลงผลสำเร็จโครงการ DIPROM Fruit Creation
ดีพร้อม แถลงผลสำเร็จโครงการ DIPROM Fruit Creation

นางสาวอริยาพร อำนรรฆสรเดช ผู้อำนวยการกองพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม(ดีพร้อม) กล่าวว่า การดำเนินงานโครงการนี้เป็นการยกระดับสินค้าเกษตรสู่เกษตรอุตสาหกรรมแปรรูปครบวงจร เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)  วิสาหกิจชุมชน OTOP ที่เกี่ยวข้องกับผลไม้  และเพื่อส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดความสูญเสียอาหาร (Food loss & Food waste) มุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีมาตรฐานสากล โดยมีเกษตรกรและผู้ประกอบการ SMEs จำนวนมากได้รับประโยชน์ ทั้งได้รับองค์ความรู้และทักษะการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยเทคโนโลยีและนวัตกรรมแปรรูปจนถึงการจับคู่ธุรกิจกับธุรกิจบริการอาหารที่เกี่ยวข้อง เพื่อผลักดันผลิตภัณฑ์สู่ตลาดทั้งในประเทศไทยเอง และตลาดส่งออกผลไม้แปรรูปซึ่งมีแนวโน้มเติบโตสูง โดยในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2565 (ม.ค.-พ.ย.) เฉพาะผลิตภัณฑ์ผลไม้กระป๋องและแปรรูป มีมูลค่าส่งออกราว 63,202 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ชุด Exosuit โฉมใหม่ที่มีน้ำหนักเบาที่สุด ! จาก German Bionic | FactoryNews [Full EP.41]

นางสาวอริยาพร กล่าวต่อว่า โครงการฯ เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ต้นเดือน ต.ค .2565 และสิ้นสุดโครงการภายในเดือนม.ค.นี้ โดยในปีนี้ได้ดำเนินการพัฒนาผลไม้ 3 ชนิด ได้แก่ มะม่วง ฝรั่ง และอะโวคาโด ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย ในพื้นที่รวม 14 จังหวัดทั่วประเทศ มีผู้เข้าร่วมอบรมไม่น้อยกว่า 740 คน แบ่งเป็นกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้และทักษะกระบวนการแปรูปผลไม้ 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตร เพิ่มศักยภาพการแข่งขันผู้ประกอบการเป้าหมายด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่มผลไม้ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม เน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์วัตถุดิบแปรรูปเบื้องต้น ให้มีอายุเก็บรักษานานขึ้น สามารถนำไปใช้เป็นส่วนผสมในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ธุรกิจบริการอาหารและเครื่องดื่มได้ เช่น การทำเป็นผง  การทำเป็นเนื้อผลไม้เข้มข้น และการแช่แข็ง อาทิ มะม่วงพิวเร  อะโวคาโดแช่แข็ง และฝรั่งผงอบแห้ง เป็นต้น มีผู้เข้าร่วมไม่น้อยกว่า 407 คน จัดอบรมที่ จ.ตาก  เชียงใหม่  เชียงราย พิษณุโลก นครสวรรค์ เพชรบุรี ขอนแก่น ราชบุรี และนครปฐม

สำหรับหลักสูตรที่ 2  กิจกรรมเพิ่มช่องทางสร้างรายได้ ด้วยเมนูผลไม้เพื่อสุขภาพ เน้นการนำวัตถุดิบแปรรูปเบื้องต้น จากหลักสูตรที่ 1 มาประยุกต์เป็นเมนูอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อเชื่อมโยงให้เกิดการต่อยอดจากสินค้าที่โรงงานแปรรูปผลิตเข้าสู่ธุรกิจบริการอาหาร อาทิ เมนู สเปรดอะโวคาโดไขมันต่ำ  น้ำสลัดอะโวคาโดสูตรคีโต แยมมะม่วงสูตรหวานน้อย  โยเกิร์ตมะม่วงสูตรคีโต  แยมฝรั่งอเนกประสงค์  และน้ำสลัดฝรั่งสูตรคีโต เป็นต้น มีผู้เข้าร่วมไม่น้อยกว่า 341 คน จัดอบรมที่ จ.กรุงเทพมหานคร  ชลบุรี  สมุทรสงคราม เพชรบูรณ์ และภูเก็ต 

“ทั้งนี้ได้มีการคัดเลือกผู้เข้าอบรมจำนวน 15 กิจการ จาก จ.เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา ลำพูน กาฬสินธุ์ มหาสารคาม กาญจนบุรี  เพชรบุรี  และประจวบคีรีขันธ์ เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาศักยภาพการแข่งขันเพื่อเข้าสู่อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป ซึ่งผู้เชี่ยวชาญได้ให้คำแนะนำกระบวนการแปรรูป การควบคุมคุณภาพสินค้า รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และลดต้นทุน การจัดทำฉลากพร้อมบรรจุภัณฑ์ต้นแบบ นำสินค้าส่งตรวจวิเคราะห์ด้านความปลอดภัยอาหาร การเตรียมความพร้อมเพื่อยื่นขออนุญาตเลข อย. ผลิตภัณฑ์ รวมถึงการจัดกิจกรรมเจรจาจับคู่ธุรกิจที่มีธุรกิจบริการอาหาร  ธุรกิจโรงแรมที่พัก ธุรกิจค้าปลีก และธุรกิจจัดหน่ายออนไลน์ รวม 18 กิจการ ให้ความสนใจเข้าร่วม มีการเจรจาธุรกิจระหว่างกันมากกว่า 90 คู่เจรจา สร้างยอดขายปีแรกได้ไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท ในขณะที่ภาพรวมผลสำเร็จของการดำเนินโครงการฯ สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ เพิ่มผลิตภาพไม่น้อยกว่าร้อยละ 50  คิดเป็นมูลค่ารวมไม่น้อยกว่า 17.5 ล้านบาทต่อปี  หรือประเมินได้ว่าสามารถนำผลผลิตผลไม้ (มะม่วง อะโวคาโด ฝรั่ง) เข้าสู่กระบวนการแปรรูปเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 300 ตัน ในปีที่ 1  ซึ่งเป็นการส่งเสริมการแปรรูปภายใต้แนวคิดลดการสูญเสียของอาหาร (Food Loss & Food waste)”

Nichaphan W.
Marketing
READ MORE
×