Theca25
SIEMENS
ช่างเทคนิคตรวจสอบเครื่องจักรอุตสาหกรรมโดยใช้แท็บเล็ต ภายใต้สภาพแวดล้อมโรงงาน พร้อมสวมเสื้อกั๊กสะท้อนแสงเพื่อความปลอดภัย

CMMS กับการจัดการงานซ่อมอย่างเป็นระบบ

Date Post
30.05.2025
Post Views

ในยุคที่การผลิตต้องการที่ความต่อเนื่องและต้องการประสิทธิภาพสูงสุด ความพร้อมใช้งานของเครื่องจักร (Asset Availability) กลายเป็นตัวแปรสำคัญที่ส่งผลต่อผลผลิตและรายจ่ายขององค์กร หนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่โรงงานอุตสาหกรรมทั่วโลกนำมาใช้ในการจัดการงานซ่อมบำรุงและบริหารจัดการทรัพย์สินคือ CMMS (Computerized Maintenance Management System)

CMMS ไม่ใช่แค่ระบบซ่อมเครื่องจักร แต่เป็นหัวใจของการจัดการ Maintenance Strategy ที่เชื่อมโยงคน ข้อมูล และกระบวนการเข้าด้วยกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการซ่อมบำรุงและการผลิต

การใช้งานของ CMMS ในโรงงานอุตสาหกรรม

มาดูกันครับว่าเราสามารถใช้ CMMS อย่างไรได้บ้าง

  1. ใช้ในการวางแผนและติดตามงานซ่อมบำรุง (Work Order Management)
    – ทีมงานสามารถสร้างใบงานซ่อม ทั้งงานซ่อมฉุกเฉิน (Breakdown Maintenance) และงานซ่อมเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance)
    – มอบหมายงาน ระบุอะไหล่ ผู้รับผิดชอบ และเวลาเป้าหมายเสร็จงานได้อย่างชัดเจน
    – ระบบติดตามสถานะและจัดลำดับความสำคัญของงานแบบเรียลไทม์
  2. ใช้ในการการบริหารแผนงานซ่อมเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance Scheduling)
    – ตั้งรอบงาน PM ตามชั่วโมงการทำงานของเครื่องจักร, ปริมาณการผลิต หรือตามรอบเวลาที่กำหนด
    – แจ้งเตือนทีมงานล่วงหน้า ลดความเสี่ยงที่เครื่องจักรเสียหาย
  1. ใช้ในการการบริหารเครื่องจักรและอุปกรณ์ (Asset Management)
    – เก็บข้อมูลประวัติการซ่อม รายละเอียดสเปก เอกสารคู่มือ และรูปภาพของเครื่องจักร
    – เชื่อมโยงกับใบงานและค่าใช้จ่ายแต่ละงานเพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพของสินทรัพย์
  2. ใช้ในการการบริหารคลังอะไหล่ (Spare Parts & Inventory Management)
    – ตรวจสอบระดับอะไหล่ ควบคุมการเบิกจ่าย และแจ้งเตือนเมื่อสต็อกมีจำนวนต่ำกว่าปริมาณคงคลัง
    – เชื่อมโยงอะไหล่กับเครื่องจักรแต่ละเครื่องเพื่อการเบิกใช้อย่างแม่นยำ

– สามารถวิเคราะห์การเบิกอะไหล่แบบผิดปกติเพื่อป้องกันการทุจริต

  1. ใช้ในการการรายงานและวิเคราะห์ (Reporting & KPIs)
    – สร้างรายงานเชิงลึก เช่น MTTR, MTBF, ค่าใช้จ่ายซ่อมบำรุง, ความถี่การเสียหาย
    – ใช้ข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อปรับปรุงแผนซ่อมและลดต้นทุน

แนวทางการเลือกใช้ CMMS ให้เหมาะสมกับโรงงานอุตสาหกรรม

1. ประเมินความต้องการของโรงงานอย่างชัดเจน

– ประเภทของการซ่อมบำรุง โรงงานเน้นงาน PM, Breakdown หรือ Predictive มากกว่ากัน?

– จำนวนและประเภทของเครื่องจักร ยิ่งมีเครื่องจักรหลากหลายและซับซ้อน ระบบควรยืดหยุ่นและรองรับได้ดี

– ขนาดทีมซ่อมบำรุง ทีมใหญ่หรือเล็ก มีงานภาคสนามเยอะหรือไม่? ต้องพิจารณาฟังก์ชัน Mobility ด้วยหรือเปล่า

– ข้อกำหนดด้านมาตรฐาน/การตรวจสอบ เช่น ต้องรองรับ ISO, GMP, HACCP, FDA, หรือ TPM หรือไม่

2. เลือกฟังก์ชันการใช้งานที่จำเป็น (Functionality)

– Work Order Management – รองรับงานซ่อมทั้ง Corrective, Preventive และ Predictive

– Asset Register – รองรับการเก็บข้อมูลเครื่องจักรละเอียดพอ (Serial, Drawing, Manual)

– Spare Parts Inventory – รองรับการจัดการอะไหล่ที่ซับซ้อนหรือไม่

– Mobile Access – มีแอปมือถือหรือไม่ เหมาะกับทีมภาคสนาม

– Reporting & Analytics – รองรับ Dashboard และรายงานที่ผู้บริหารต้องใช้หรือเปล่า

– Integration – เชื่อมกับ ERP, SCADA, DCS หรือ SAP ได้หรือไม่

3. พิจารณาความง่ายในการใช้งาน (Ease of Use)

– อินเทอร์เฟซเข้าใจง่าย ลดภาระการฝึกอบรม

– รองรับเมนูภาษาไทยหรือภาษาที่ทีมงานถนัดหรือไม่

– Workflow ไม่ซับซ้อนเกินไป (Simple is better)

4. ประเมินต้นทุนรวมการเป็นเจ้าของ (Total Cost of Ownership, TCO)

– ค่าซื้อซอฟต์แวร์ หรือ ค่าเช่าแบบ Cloud (SaaS)

– ค่าติดตั้ง ค่าอบรม และค่าบำรุงรักษาระบบรายปี

– ค่าใช้จ่ายด้าน Hardware หรือ Server ถ้าเป็นระบบ On-premise

– ค่าใช้จ่ายในการเชื่อมระบบ (Integration)

5. ตรวจสอบความสามารถในการขยายระบบในอนาคต (Scalability & Flexibility)

– ระบบรองรับการเพิ่มเครื่องจักรหรือจำนวนผู้ใช้งานในอนาคตได้หรือไม่

– รองรับการเพิ่มโมดูล เช่น Mobile Maintenance, Predictive Analytics, IoT Integration ได้หรือเปล่า

6. พิจารณาความน่าเชื่อถือของผู้ให้บริการ (Vendor Reliability)

– มีลูกค้าอุตสาหกรรมรายใหญ่ใช้จริงหรือไม่

– มีทีม Support ในไทย หรือในภูมิภาคที่ให้บริการรวดเร็วหรือเปล่า

– แผนการพัฒนาระบบ (Product roadmap) ชัดเจนหรือไม่

บทสรุป

CMMS ไม่ใช่แค่ซอฟต์แวร์ซ่อมเครื่องจักร แต่เป็นเครื่องมือบริหารทรัพย์สินที่ช่วยเพิ่มความพร้อมของระบบการผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มศักยภาพของทีมซ่อมบำรุง
การนำ CMMS มาใช้ในโรงงานอย่างเหมาะสม จะช่วยให้องค์กรแข่งขันได้อย่างยั่งยืนในยุคอุตสาหกรรมที่ต้องการความแม่นยำและข้อมูลเชิงลึก และที่สำคัญต้องอาศัยทุกภาคส่วนในการลงข้อมูลและใช้ระบบให้เป็นประโยชน์ ดังคำกล่าวสั้นๆ 

“เปิดใจใช้งาน ต่อยอดความรู้จากข้อมูล เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการผลิต”

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Naichangmashare
กลุ่มวิศวกรที่มีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมหลายสาขา รวมตัวกันสร้างชุมชนแบ่งปันความรู้ด้านอุตสาหกรรม เพื่อให้งานช่างและวิศวกรรมเป็นเรื่องง่ายสำหรับทุกคน ติดตามได้ทาง FB นายช่างมาแชร์
Thai Murata