Monday, March 18Modern Manufacturing
×

เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยการกำหนด TAKT TIME

เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยการกำหนด TAKT TIME

เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยการกำหนด TAKT TIME

Takt Time (แท็คไทม์;  T/T) หมายถึง ความเร็วในการผลิต มีที่มาจากภาษาเยอรมัน แปลว่า จังหวะดนตรี ซึ่งเราใช้ Takt Time ในการกำหนดจังหวะการผลิตสินค้าต่อชิ้นให้เป็นไปตามจังหวะที่ลูกค้าต้องการ นั่นคือ พนักงานทุกคนต้องควบคุมจังหวะการผลิตสิ่งของในหนึ่งสถานีการผลิตให้นานไม่เกินเวลาที่กำหนดไว้

เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยการกำหนด TAKT TIME
การคำนวณค่า Takt Time
การคำนวณค่า Takt Time

หน่วยของ T/T คือ หน่วยของเวลาต่อชิ้นงาน 1ชิ้น (วินาที/ชิ้น นาที/ชิ้นหรือชั่วโมง / ชิ้น)

ยกตัวอย่างเช่น บริษัทแห่งหนึ่ง กําหนดเวลาทํางานปกติไว้ที่ 8 ชั่วโมง เวลาพัก 15 นาที 2 ครั้ง โดย ในหนึ่งวันต้องการชิ้นงานจานวน 600 ชิ้น ดังนั้น Takt time จะเท่ากับ 45 วินาทีต่อชิ้น

Takt Time = 0.75 นาทีต่อชิ้น = 0.75 x 60 = 45 วินาทีต่อชิ้น

จากตัวอย่างข้างตนสามารถอธิบายได้ว่า พนักงานจะต้องใช้เวลาในการผลิตชิ้นงาน 1 ชิ้นให้เสร็จ ภายใน 45 วินาทีโดยจะนําค่า Takt Time ไปเปรียบเทียบรอบเวลาการทำงานของพนักงานแต่ละคนว่าเวลาที่พนักงานใช้เกินกว่า T/T หรือไม่

ถ้าพนักงานใช้เวลาเกินกว่าเวลาที่กําหนด จะทําให้บริษัทไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการลูกค้าในวันนั้นได้ โดยวิธีในการแก้ไขปัญหานี้ จำเป็นต้องทําการปรับลดเวลาทํางานของพนักงานแต่ละคนให้อยู่ภายใต้เวลาการทำงานของ Takt Time หรืออีกวิธีหนึ่งถ้าไม่สามารถปรับลดเวลาทํางานของพนักงานได้บริษัทจําเป็นต้องเพิ่มเวลาการทํางานใหแก่ พนักงาน ในชวงเวลา O.T. ซึ่งเราจำเป็นต้องคำนวณTakt Timeใหม่ ซึ่งค่า Takt Time นี้จะเรียกว่า Actual Takt Time

ความแตกต่างระหว่าง Takt Time และ Cycle Time
ความแตกต่างระหว่าง Takt Time และ Cycle Time

Takt Time จะส่งผลต่อการผลิตได้อย่างไร

  • ช่วยให้อัตราการไหลในการผลิตเป็นไปอย่างคงที่และต่อเนื่องตามความต้องการ
  • กำจัดของเสียหรือสิ่งที่ผลิตเกินตามความต้องการของลูกค้า
  • ส่งเสริมและพัฒนามาตรฐานในการทำงานให้เพื่อให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ
  • สามารถแสดงให้เห็น Real-Time Targets ในการผลิต

Takt Time ถือเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยในการรักษาสมดุลสายการผลิต (Line Balancing) ซึ่งผู้ประกอบการสามารถนำไปประยุกต์ใช้ร่วมกับการจัดการเวลาในแต่ละสถานี เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์กัน หรือใกล้เคียงกัน เพื่อลดเวลาสูญเปล่าอันเกิดจากความล่าช้าของงาน ซึ่งจะทำให้สามารถเพิ่มผลผลิตได้มากขึ้นตามความต้องการ ลดปัญหาคอขวด และสามารถใช้ควบคุมการผลิตที่มากเกินไปอีกด้วย


Source:

  • http://www.thaidisplay.com/content-6.html
  • http://www.thaicostreduction.com/DocFile/news/takttime.pdf (สถาบันยานยนต์)
  • http://www.tpa.or.th/tpawbs/viewtopic.php?id=4092
  • http://www.dms.eng.su.ac.th/filebox/FileData/POME024.pdf
Modern Manufacturing on FacebookModern Manufacturing on Youtube
Modern Manufacturing
Web Admin
 
นำเสนอข่าวสารความรู้รอบด้านเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการผลิต เพื่ออุตสาหกรรมไทยก้าวหน้าด้วยวิทยาการสมัยใหม่และเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
READ MORE
×