สกพอ. จับมือ ธนาคารไอซีบีซี ขับเคลื่อนการลงทุนในพื้นที่ อีอีซี
สกพอ. จับมือ ธนาคารไอซีบีซี ขับเคลื่อนการลงทุนในพื้นที่ อีอีซี

สกพอ. จับมือ ธนาคารไอซีบีซี ขับเคลื่อนการลงทุนในพื้นที่ อีอีซี

Date Post
25.11.2021
Post Views

สกพอ. จับมือ ธนาคารไอซีบีซี ลงนาม MOU เร่งเครื่องส่งเสริมการลงทุน เพิ่มโอกาสทางการเงิน จูงใจภาคเอกชนผู้ประกอบการศักยภาพสูง ร่วมขับเคลื่อนลงทุนนวัตกรรมใหม่ในพื้นที่อีอีซี เสริมแกร่งลงทุน 4 แกนนำอุตสาหกรรมคู่ผลักดันเศรษฐกิจสีเขียว สร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจไทยยั่งยืน   

 สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือ อีอีซี และธนาคารไอซีบีซี (ไทย) จำกัด (มหาชน) ร่วมกัน ลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) สร้างความร่วมมือและส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ อีอีซี และเพื่อกระชับความสัมพันธ์อันดีพร้อมผลักดันการลงทุนระหว่างนักลงทุนจากประเทศจีน และประเทศไทย โดยมี นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการ อีอีซี และ นายเสี่ยวปอ หลี่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) จำกัด (มหาชน) ร่วมกันลงนาม ณ ห้องประชุม Conference Room สำนักงานอีอีซีพร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูง เจ้าหน้าที่จากทั้งสองหน่วยงาน และสื่อมวลชน เข้าร่วมเป็นสักขีพยานรวมประมาณ 100 คน ผ่านระบบประชุมออนไลน์ โดยความร่วมมือตาม MOU ระหว่าง สกพอ. และ ไอซีบีซี ในครั้งนี้ จะมีระยะเวลา 3 ปีที่จะนำไปสู่การสร้างความร่วมมือ และสนับสนุนกิจกรรมที่สำคัญๆ จากทั้งสองฝ่าย ได้แก่ 

3 เทคโนโลยีสำคัญในเครื่องพ่นไฟ จาก Riello ที่จะเพิ่มความคุ้มค่าให้อุตสาหกรรมของคุณ | Vanich Group

1)  สร้างโอกาสทางธุรกิจ ส่งเสริมการลงทุน และอำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนในพื้นที่อีอีซี ผ่านการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ด้านการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย สถานการณ์ตลาด นโยบายที่สำคัญจากภาครัฐ และการแลกเปลี่ยนข้อมูลจากภาคเอกชนที่มีศักยภาพ การสนับสนุนให้คำปรึกษา และให้บริการทางด้านการเงินของธนาคารไอซีบีซี รวมถึงสร้างความร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด 

2) ส่งเสริมการลงทุนและสร้างโอกาสทางธุรกิจอื่นๆ ในพื้นที่ อีอีซี ต่อยอดการลงทุนให้กับภาคเอกชนไทย ผ่านการสนับสนุนของธนาคารไอซีบีซี อำนวยความสะดวกการให้คำปรึกษา และการจัดกิจกรรมส่งเสริมการลงทุนร่วมกัน กระชับความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนจีนและไทย เพื่อขยายโอกาสการลงทุนในพื้นที่ อีอีซี ได้อย่างต่อเนื่อง 

3) สร้างความร่วมมือและศึกษาการจัดตั้งและพัฒนากองทุนรวมตราสารทุน หรือ EEC Equity Fund เพื่อขยายผลและสร้างโอกาสการลงทุนในพื้นที่ อีอีซี ในโครงการที่เหมาะสมต่อไป  

นอกจากนี้ จะช่วยเสริมศักยภาพขับเคลื่อนการลงทุนในพื้นที่ อีอีซี โดยเฉพาะการลงทุนภายใต้กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ 4 แกนธุรกิจ ได้แก่ 1) อุตสาหกรรมสุขภาพและการแพทย์ 2) อุตสาหกรรมดิจิทัล 3) Decarbonization ซึ่งครอบคลุมเรื่องยานยนต์สมัยใหม่หรือ EV ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี Smart Mobility และ (4) อุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ ที่เชื่อมโยงกับแนวคิดเศรษฐกิจสีเขียวและเศรษฐกิจหมุนเวียน (Green and Circular Economy) ผลักดันให้ อีอีซี ก้าวสู่พื้นที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่เป็นเทรนด์สำคัญของโลก

เพิ่มแรงจูงใจและรองรับธุรกิจที่จะมาลงทุนต่อเนื่อง ซึ่งการลงนามความร่วมมือฯ ครั้งนี้ จะเสริมประสิทธิภาพ

นักลงทุน เกิดความคล่องตัวด้านการลงทุนในพื้นที่ อีอีซี เพิ่มโอกาสการลงทุนเพื่อยกระดับการแข่งขัน สร้างความแข็งแกร่งให้เศรษฐกิจอย่างยั่งยืน  

ด้านนายเสี่ยวปอ  หลี่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างธนาคารไอซีบีซี กับ สกพอ. ในครั้งนี้  ถือเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของธนาคารในการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาการลงทุนในพื้นที่ อีอีซี ที่เป็นความร่วมมือต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2560 จากการที่ธนาคารไอซีบีซี ประเทศจีน ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาด้านการเงินและการลงทุน โดยพร้อมจะทำหน้าที่ปรึกษาด้านการเงินและการลงทุน  ส่งเสริมนักลงทุนที่มีศักยภาพให้เข้ามาร่วมลงทุนในพื้นที่ อีอีซี รวมไปถึง

ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่นักลงทุนโดยเฉพาะกลุ่มบริษัทจากประเทศจีนที่มีความสนใจ ผ่านเครือข่ายของธนาคารไอซีบีซี ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน มีเครือข่ายสาขามากกว่า 16,000 แห่งทั่วประเทศจีน และเครือข่ายครอบคลุม 6 ทวีปทั่วโลก ทั้งยังมีฐานลูกค้า Corporate ณ เดือนมิถุนายน 2564 มากกว่า 9.24 ล้านราย  รวมทั้งธนาคารจะให้ความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารต่างๆ เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจในการพัฒนาเศรษฐกิจภายใต้พื้นที่ อีอีซี

พร้อมกันนี้ ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากธนาคารกลางแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนและธนาคารแห่งประเทศไทย ให้เป็นธนาคารชำระดุลเงินหยวนในประเทศไทย หรือ RMB Clearing Bankin Thailand จะทำให้ธนาคารมีศักยภาพในการให้บริการผลิตภัณฑ์และธุรกรรมเงินหยวนที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ พร้อมที่จะตอบสนองต่อความต้องการของนักลงทุนชาวจีนได้อย่างครบถ้วน  

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Nichaphan W.
การตลาดและประชาสัมพันธ์