Thursday, April 18Modern Manufacturing
×

ดีพร้อม ตั้งเป้า ช่วยเอสเอ็มอี ลดต้นทุนค่าขนส่งปีนี้ 1,200 ลบ.

ดีพร้อม เร่งส่งเสริมทักษะการบริหารจัดการโลจิสติกส์กลุ่มอุตสาหกรรมหลักและเกษตรอุตสาหกรรม เพื่อบรรเทาผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ตั้งเป้าภายในสิ้นปีนี้จะสามารถลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ไม่น้อยกว่า 1,200 ล้านบาท

ดีพร้อม ตั้งเป้า ช่วยเอสเอ็มอี ลดต้นทุนค่าขนส่งปีนี้ 1,200 ลบ.

นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม(กสอ.) หรือ ดีพร้อม เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างประเทศรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเป็นวงกว้างไปทั่วโลก ขณะเดียวกัน ยังสั่นคลอนสถานการณ์พลังงานและห่วงโซ่การผลิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งราคาน้ำมัน ราคาก๊าซ ค่าไฟฟ้า ซึ่งเป็นวัตถุดิบต้นน้ำในกระบวนการผลิต ประกอบกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐอเมริกาที่สร้างแรงกระเพื่อมต่อระบบเศรษฐกิจโลก ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม จึงสั่งการเร่งด่วนให้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) จับตาผลกระทบและดำเนินการเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้สามารถก้าวข้ามวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้น

ดีพร้อม ตั้งเป้า ช่วยเอสเอ็มอี ลดต้นทุนค่าขนส่งปีนี้ 1,200 ลบ.

ดีพร้อม จึงเร่งเดินหน้าโครงการเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของภาคอุตสาหกรรม โดยมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะของผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ปิโตรเคมีและพลาสติก ยานยนต์และชิ้นส่วน ยางพาราและผลิตภัณฑ์ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม และเกษตรอุตสาหกรรมให้มีทักษะการบริหารจัดการโลจิสติกส์ภายในองค์กรอย่างเป็นระบบตามมาตรฐานสากล สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเชื่อมโยงฐานข้อมูลภายในองค์กรและสามารถใช้นวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน 

ดีพร้อม ตั้งเป้า ช่วยเอสเอ็มอี ลดต้นทุนค่าขนส่งปีนี้ 1,200 ลบ.

โดยผู้ประกอบการจะสามารถลดต้นทุนโลจิสติกส์ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ทั้งต้นทุนการถือครองสินค้าคงคลัง (Inventory Holding Cost) ต้นทุนการขนส่งสินค้า (Transportation Cost) และต้นทุนการบริหารจัดการ (Administration Cost) 

นานณัฐพล กล่าวว่า การดำเนินงานโครงการดังกล่าว ได้ส่งทีมผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์ไปให้คำปรึกษาแนะนำ ปรับปรุงประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์แก่ผู้ประกอบการที่ประสบปัญหาหรือมีต้นทุนโลจิสติกส์ที่สูง เช่น การบริหารจัดการคลังสินค้า การบริหารสินค้าคงคลัง การพยากรณ์ยอดขาย การจัดซื้อจัดหาวัตถุดิบ และการขนส่งสินค้า เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ อาทิ การใช้โปรแกรมจัดเส้นทางขนส่งสินค้า เพื่อลดจำนวนเที่ยวในการจัดส่งสินค้า การใช้โปแกรมช่วยในการพยากรณ์ยอดขาย เพื่อวางแผนการผลิต

และการจัดซื้อจัดหาวัตถุดิบให้มีความแม่นยำขึ้น หรือการนำโปรแกรมการจัดการคลังสินค้า (Warehouse management system) เพื่อลดต้นทุนการบริหารจัดการในคลังสินค้า ทั้งนี้ พบว่าในช่วงครึ่งปีแรกของการดำเนินงานสามารถลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ให้กับผู้ประกอบการไปแล้ว 50 กิจการ คิดเป็นมูลค่าต้นทุนที่ลดลงกว่า 600 ล้านบาท โดยตั้งเป้าหมายภายในสิ้นปี 2565 จะสามารถลดต้นทุนให้กับผู้ประกอบการได้มูลค่ารวมไม่น้อยกว่า 1,200 ล้านบาท 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Nichaphan W.
Marketing
READ MORE
×