ในปีที่ผ่านมานั้นประเทศไทยได้มีความพยายามในการดึงดูดการลงทุนสำหรับการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และ PCB จาก BOI ที่เข้มข้น โดยผลตอบรับที่เกิดขึ้นนั้นสะท้อนให้เห็นความสนใจและการลงทุนในอุตสาหกรรมต้นน้ำและอุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่เกิดขึ้นตามมา ทำให้ตลาดของอุตสาหกรรม PCB และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ในประเทศไทยมีความน่าสนใจอย่างมาก ซึ่งผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยต่างสนใจเข้ามาสู่อุตสาหกรรมมูลค่าสูงยุคใหม่นี้ แต่รู้หรือไม่ว่าอุตสาหกรรมเหล่านี้แตกต่างออกไปอย่างไร และเทคโนโลยีที่ใช้นั้นต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง?
โอกาสต้องรีบคว้า! อุตสาหกรรม PCB และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ท่ามกลางสงครามการค้า
แม้ว่าในปัจจุบันทั่วโลกกำลังตกอยู่ในความสับสนของภูมิรัฐศาสตร์และสงครามการค้าที่เกิดความเข้มข้น เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและคาดเดาได้ยาก แต่ปัจจัยหนึ่งที่มีแนวโน้มชัดเจนอย่างยิ่ง คือ การโยกย้ายฐานการผลิตครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังจากวิกฤติ COVID-19 ที่ปัจจุบันทวีความสำคัญมากขึ้นด้วยสงครามการค้าระหว่างจีน – สหรัฐอเมริกา
การโยกย้ายฐานการผลิตนี้เกิดขึ้นด้วยปัจจัยทั้งทางด้านการกระจายความเสี่ยง และความพยายามในการหลีกเลี่ยงผลกระทบจากสงครามการค้าที่ได้รับผลกระทบทั่วโลก ซึ่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถือเป็นพื้นที่เกิดใหม่ที่ทั่วโลกต่างให้ความสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และดิจิทัลสมัยใหม่ที่ต่างย้ายฐานการลงทุนมมายังภูมิภาคนี้จำนวนมาก ซึ่งประเทศไทยเองได้กลายเป็นหนึ่งในหมุดหมายสำคัญในการลงทุนที่เกิดขึ้นด้วยจุดเด่นทางด้านโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแรง ความเชี่ยวชาญในด้านอุตสาหกรรมการผลิตที่มีมาอย่างยาวนาน
PCB, เซมิคอนดักเตอร์ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมมูลค่าสูงที่ไทยอาจกลายเป็นเบอร์ 1 ของภูมิภาค
แม้ว่าการลงทุนจากอุตสาหกรรมสมัยใหม่อย่างชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์, PCB หรือแม้แต่กระทั่งเซมิคอนดักเตอร์จะเกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนา การขยายโครงการ Data Center ทั่วภูมิภาค ไปจนถึงอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ประเทศไทยนั้นถือว่าอยู่ในแถวหน้าสำหรับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ซึ่งหลายคนก็อาจมีคำถามว่า ‘ประเทศไทยมีโอกาสเหล่านี้จริงหรือไม่?’
ด้วยปัจจัยแวดล้อมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันสามารถพูดได้อย่างเต็มกำลังว่า ‘ประเทศไทยเต็มไปด้วยโอกาสในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์’ ทั้งความพร้อมจากสมาคมแผ่นวงจรพิมพ์ไทยที่เป็นส่วนหนึ่งของ World Electronic Circuits Council ซึ่งมีสมาชิกเพียง 8 ประเทศที่คอยผลักดันร่วมกับพันธมิตรอย่างใกล้ชิดผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งการส่งเสริมซัพพลายเชน การศึกษาองค์ความรู้ และการสร้างการตื่นรู้ในระดับสากล
ในขณะเดียวกัน BOI เองได้เร่งการส่งเสริมการลงทุน โดยในปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมแผงวงจรพิมพ์มีการลงทุนมากกว่า 100 โครงการ รวมมูลค่ากว่า 170,000 ล้านบาท อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ที่มีการดึงดูดการลงทุนรวมมูลค่ากว่า 20,000 ล้านบาท ยานยนต์สมัยใหม่ที่ใช้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูงกว่า 80,000 ล้านบาท และอุตสาหกรรม Data Center มูลค่ารวมกว่า 173,000 ล้านบาท
หากพิจารณาจากประสบการณ์ของประเทศไทยในการประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อาทิ สมาร์ทโฟน, โทรทัศน์, เครื่องปรับอากาศ, กล้อง หรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์อย่างหน่วยความจำข้อมูล (HDD) ก็จะยิ่งตอกย้ำภาพของโอกาสและความน่าสนใจ รวมถึงแนวโน้มอันสดใสในอุตสาหกรรมมูลค่าสูงนี้ที่กำลังถูกบังคับให้เกิดการกระจายตัวออกจากประเทศจีนอีกด้วย
ประเทศไทยแข่งขันอย่างไรในตลาด PCB และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ยุคใหม่?
แน่อนว่าด้วยพื้นฐานในการประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมาอย่างยาวนาน และการสนับสนุนจากหน่วยงานหรือองค์กรที่มีองค์ความรู้ทั้งภาครัฐและเอกชน ประเทศไทยมีโอกาสสูงในการแข่งขันการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่มุ่งเน้นเจาะไปในตลาดที่มีความเฉพาะตัว เช่น อุตสาหกรรมการแพทย์, ยานยนต์สมัยใหม่, อากาศยาน และ AI Data Center ซึ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีมูลค่ามหาศาล และที่สำคัญ คือ ไม่ต้องลงไปแข่งขันในสงครามราคา ซึ่งประเทศไทยไม่อาจแข่งขันในแนวทางนี้กับประเทศจีนได้แม้แต่น้อย
มุ่งหน้าสู่อุตสาหกรรมมูลค่าสูง ‘เทคโนโลยีที่ใช่’ ขาดไม่ได้!
หัวใจของอุตสาหกรรมมูลค่าสูงนั้นอยู่ที่คุณภาพและคุณค่าของสินค้าที่ถูกผลิตออกมา ในอุตสาหกรรมที่มีความอ่อนไหว ต้องการความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการใช้งานสูง ทำให้การผลิตเองก็ต้องมีทั้งความแม่นยำ คุณภาพ และความรวดเร็วในระดับสูงเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
ดังนั้นการผลิตในอุตสาหกรรมมูลค่าสูงเหล่านี้จึงจำเป็นต้องใช้เครื่องจักรและระบบอัตโนมัติที่มีความแม่นยำ มีความยืดหยุ่น มั่นใจได้ในเรื่องคุณภาพ ลองคิดแค่การประกอบสมาร์ทโฟนทุกวันนี้ดูก็จะพอเห็นภาพได้ว่า เซมิคอนดักเตอร์หรือตัวต้านทานขนาดเล็กที่ต้องติดลงไปในแผ่นวงจรพิมพ์นั้นมีจำนวนเท่าไร หากใช้แรงงานมนุษย์จะมีกำลังผลิตเท่าไร และมีโอกาส NG สูงแค่ไหน กลับกันหากเป็นหุ่นยนต์ SCARA ที่มาพร้อมกับ Machine Vision ภายใต้กรอบเวลาที่เท่ากันกำลังผลิตจะแตกต่างกันแค่ไหน ทำให้การเลือกใช้เทคโนโลยีระดับสูงที่เหมาะสมกับรูปแบบการผลิตเป็นสิ่งที่ไม่อาจขาดไปได้ในการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นนี้
หากพิจารณาเฉพาะในเรื่องของเทคโนโลยีการประกอบแล้ว เทคโนโลยีที่สำคัญในขั้นตอนนี้มีทั้งเทคโนโลยีด้านเลเซอร์, กล้องสำหรับตรวจสอบคุณภาพ, หุ่นยนต์สำหรับ Pick and Place, ระบบสายพานลำเลียงอัตโนมัติ ไปจนถึงหุ่นยนต์ที่ใช้ในการหยอดกาวและการเคลือบแผ่นวงจรเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรง ทั้งยังเป็นตัวแปรสำคัญในเรื่องของอายุการใช้งานของอุปกรณ์ที่ถูกประกอบขึ้นมาอีกด้วย
ในการประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์นั้น ขั้นตอนการหยอดกาวเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่สะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพ ความปลอดภัย และประสิทธิภาพการใช้งานได้เป็นอย่างดี โดยหนึ่งในเทคโนโลยีการหยอดกาวที่น่าจับตา ได้แก่ AXELIA เครื่องหยอดกาวอัตโนมัติจาก SAN-EI TECH ที่เป็นหุ่นยนต์การประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ยุคใหม่ที่ขาดไม่ได้
AXELIA จาก SAN-EI TECH โดดเด่นด้วยความแม่นยำและความคุ้มค่าสำหรับอุตสาหกรรม PCB และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์มูลค่าสูง
เมื่อเรื่องของคุณภาพเป็นหัวใจสำคัญที่สุดของอุตสาหกรรมมูลค่าสูงยุคใหม่อย่างอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ความแม่นยำยังถือเป็นสิ่งที่ไม่อาจผิดพลาดได้ นอกเหนือไปจากการควบคุมต้นทุนสารเคมีแล้ว ปริมาณสารเคมีที่ใช้ยังส่งผลต่อความทนทานและประสิทธิภาพการใช้งานของอุปกรณ์นั้น ๆ โดยตรง ซึ่ง AXELIA เป็นหุ่นยนต์ 3 แกนแบบตั้งโต๊ะสำหรับหยอดกาวอัตโนมัติที่สามารถหยดสารได้แม่นยำทั้งตำแหน่งและปริมาณที่ต้องการใช้ ด้วยระบบดูดกลับที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ไม่ต้องกังวลเรื่องสารเคมีที่จะหยดหรือเกิดการปนเปื้อนในตำแหน่งที่ไม่ต้องการ ทำให้สามารถป้องกันความเสียหายจากการทำงานที่ไม่พึงประสงค์ได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ AXELIA ยังเป็นหุ่นยนต์ที่มาพร้อมกับ Machine Vision อัจฉริยะที่ทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์เฉพาะทางอย่าง Fluid Magic ส่งผลให้เกิดความแม่นยำในการทำงานสูง ด้วยการตรวจสอบการทำงานแบบ Real-Time ที่มีการกำหนดตำแหน่งอ้างอิงไว้ให้เปรียบเทียบ และสามารถจำลองเส้นทางการเดินของหุ่นยนต์บนแผงวงจรล่วงหน้า หรือออกแบบแพทเทิร์นสำหรับการหยอดกาวเพื่อให้เกิดการหยอดที่มีคุณภาพสูงที่สุด
อีกหนึ่งทีเด็ดของ AXELIA คือ Valve Spray ที่เป็นองค์ความรู้เฉพาะของ SAN-EI TECH ที่สามารถปรับใช้งานตามกิจกรรมที่ต้องการได้ เช่น การทำงานของ Valve Spray ร่วมกับระบบกล้องอัจฉริยะและ Fluid Magic ทำให้การเคลือบแผ่นวงจร PCB เกิดขึ้นได้อย่างแม่นยำและมีความสม่ำเสมอตามความต้องการ ทั้งยังรองรับมาตรฐาน Food Grade ระดับสากล สามารถทำความสะอาดได้ เรียกว่าเป็นโซลูชั่นที่มีทั้งความแม่นยำ มีประสิทธิภาพ มีความยืดหยุ่นในการใช้งานสูง และไว้ใจได้สำหรับการประกอบชิ้นส่วนในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ยุคใหม่ที่เรื่องของคุณภาพมีความสำคัญเป็นลำดับที่ 1
จะเห็นได้ว่าคุณสมบัติของ AXELIA ในฐานะเครื่องหยอดของเหลวอัตโนมัตินั้นสอดคล้องกับเงื่อนไขและความท้าทายในอุตสาหกรรมมูลค่าสูงยุคใหม่ ทั้งการประกอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สำหรับอุตสาหกรรมอย่างยานยนต์สมัยใหม่, การแพทย์, อากาศยาน และฮาร์ดแวร์สำหรับ Data Center
หากผู้ประกอบการที่ต้องการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของซัพพลายเชนอุตสาหกรรมมูลค่าสูงแห่งอนาคตของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ยุคใหม่ AXELIA จาก SAN-EI TECH จะเป็นผู้ช่วยที่มีศักยภาพ ไว้วางใจได้ในการทำงาน และส่งมอบคุณค่าที่เกิดจากความใส่ใจส่งถึงมือลูกค้าได้อย่างเต็มภาคภูมิแน่นอน
สนใจเครื่อง Dispensing คุณภาพสูง AXELIA สามารถติดต่อได้ที่:
SAN-EI TECH
โทรศัพท์: 02-161-0810
Email: [email protected]
Website: https://san-ei-tech.co.th/