Friday, July 26Modern Manufacturing
×

สศอ. เผยสรุปผลการประชุม APEC กลุ่มอุตสาหกรรมเคมีร่วมจัดทำมาตรฐานฉลาก GHS

สศอ. เผยสรุปผลการประชุม APEC กลุ่มอุตสาหกรรมเคมีร่วมจัดทำมาตรฐานฉลาก GHS

สศอ. เผยสรุปผลการประชุม APEC กลุ่มการหารืออุตสาหกรรมเคมี สร้างความร่วมมือจัดทำมาตรฐานฉลาก GHS เคมีภัณฑ์ มุ่งเน้นการอำนวยความสะดวกทางการค้า 

สศอ. เผยสรุปผลการประชุม APEC กลุ่มอุตสาหกรรมเคมีร่วมจัดทำมาตรฐานฉลาก GHS

นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)  เปิดเผยว่า การประชุม APEC Chemical Dialogue ครั้งที่ 29 ณ จังหวัดเชียงใหม่  กระทรวงอุตสาหกรรม โดย สศอ. ได้เป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมร่วมกับสมาชิกจากเขตเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยที่ประชุมได้ให้ความสำคัญในการใช้ระบบการจำแนกความเป็นอันตรายและการติดฉลากสารเคมีที่เป็นระบบเดียวกันทั่วโลก (The Globally Harmonized System of Classification and Labeling of Chemicals : GHS) และร่วมกันสร้างมาตรฐานบนฉลากสารเคมีให้ได้มาตรฐานเดียวกันเพื่อร่วมกันอำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพทางการค้าระหว่างประเทศ 

สศอ. เผยสรุปผลการประชุม APEC กลุ่มอุตสาหกรรมเคมีร่วมจัดทำมาตรฐานฉลาก GHS

พาไปดูงาน | เทคโนโลยีด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม ASEAN Sustainable Energy Week 2022

โดยมีการเสนอการนำ OECD Mutual Acceptance of Data หรือระบบ MAD ซึ่งเป็นข้อตกลงในระบบการยอมรับข้อมูลร่วมกันมาเป็นเครื่องมือเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการภาครัฐของ OECD โดยเขตเศรษฐกิจเอเปค ได้นำมาประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์เพื่อลดอุปสรรคทางการค้าและส่งเสริมความเปิดกว้างสอดคล้องกับแนวคิด OPEN. ในส่วนของการสร้างความเชื่อมโยง หรือ CONNECT. ที่ประชุมได้มีการหารือแลกเปลี่ยนนโยบาย ประสบการณ์และแนวปฏิบัติที่ดี รวมถึงแผนการปรับปรุงฐานข้อมูลกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเคมี ตลอดจนกิจกรรมความร่วมมือโครงการต่างๆ เพื่อให้ภาคส่วนต่างๆ ได้เชื่อมโยงกันอย่างราบรื่น

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy ในสาขาอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ เพื่อสร้างสมดุลการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโลก ตามแนวคิด BALANCE. โดยไทยได้นำเสนอแนวปฏิบัติที่ดีผ่านการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ จากผลการดำเนินงานของคณะกรรมการ Responsible Care ดูแลด้วยความรับผิดชอบ (RCMCT) กลุ่มอุตสาหกรรมเคมี ตามนโยบาย BCG Economy เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทยไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งจำเป็นต้องบูรณาการความร่วมมือทั้งจากภาครัฐและเอกชนในการผลักดันการปรับปรุงทั้งในกระบวนการผลิตและการจัดการอย่างต่อเนื่องในการจัดการเคมีที่ปลอดภัย เพื่อความปลอดภัยให้กับสิ่งแวดล้อม สุขภาพ 

รวมถึงความปลอดภัยในการทำงาน การป้องกันมลพิษจากกระบวนการผลิตในหลายองค์กร รวมทั้งการฝึกอบรมบุคลากรในอุตสาหกรรมเคมีผ่านกิจกรรมความร่วมมือกับอาเซียนให้เกิดความพร้อมในการจัดการเคมีที่ถูกต้อง เพื่อนำไปสู่ความร่วมมือของเอเปค โดยนำเสนอตัวอย่างผลการดำเนินงานที่สำคัญ เช่น การจัดการขยะพลาสติกในเขตคลองเตย กรุงเทพฯ และจังหวัดระยอง ซึ่งผลการดำเนินการในการลดปริมาณขยะพลาสติก สามารถดำเนินการได้กว่าร้อยละ 50 โดยผ่านความร่วมมือขององค์กรภาครัฐและเอกชนหรือ PPP Plastics เพื่อดำเนินการสร้างระบบฐานข้อมูล การรวบรวม การแยก การจัดการ การนำกลับมาใช้ใหม่ รวมถึงการกำจัดขยะ

ทั้งนี้การดำเนินความร่วมมือของกลุ่มการหารืออุตสาหกรรมเคมีของเอเปค มีความสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมและแนวคิดหลักของไทยในฐานะเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปคปี 2565 โดย สศอ. และหน่วยงานของไทยที่เกี่ยวข้อง จะได้ร่วมขับเคลื่อนกิจกรรมความร่วมมือต่างๆ กับสมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปคให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

Nichaphan W.
PR Marketing
Public Relations Marketing
READ MORE
×