Friday, July 26Modern Manufacturing
×

ส.อ.ท. ประเมินแนวโน้มอุตฯ ไทย ปี 67 มีโอกาสเติบโต 

ส.อ.ท. ประเมินแนวโน้มอุตฯ ไทย ปี 67 มีโอกาสเติบโต 

ส.อ.ท.  เผย ข้อมูลสถานการณ์และแนวโน้มอุตสาหกรรม ปี 2567 มีโอกาสเติบโต จากปัจจัยสนับสนุนทั้งภาคการส่งออกการท่องเที่ยว และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ  รวมทั้งการใช้สิทธิประโยชน์จาก FTA

ส.อ.ท. ประเมินแนวโน้มอุตฯ ไทย ปี 67 มีโอกาสเติบโต 

นายมนตรี มหาพฤกษ์พงศ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า สรุปผลการประเมินแนวโน้ม 46 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 5 ภูมิภาค ในปี 2567 พบว่า แนวโน้ม 46 กลุ่มอุตสาหกรรม กลุ่มอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะขยายตัวดีขึ้นมีทั้งหมด 22 กลุ่มอุตสาหกรรม,กลุ่มอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะทรงตัวมีทั้งหมด 11 กลุ่มอุตสาหกรรม, และกลุ่มอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะหดตัวลงมีทั้งหมด 13 กลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่งอุตสาหกรรมส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มที่มีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นจากปีที่ผ่านมา และสำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรม 5 ภูมิภาค โดยอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกคาดว่าจะขยายตัวได้ ส่วนอุตสาหกรรมในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ คาดว่าจะทรงตัว ขณะที่อุตสาหกรรมในภาคกลาง คาดว่าจะหดตัวลง 

ส.อ.ท. ประเมินแนวโน้มอุตฯ ไทย ปี 67 มีโอกาสเติบโต 

Toyota เตรียมลงทุน 400 ล้านสร้างโรงงานแห่งที่ 3 ภายในอินเดีย

โดยมีปัจจัยสนับสนุนและปัจจัยห่วงกังวลที่คาดว่าจะส่งผลต่ออุตสาหกรรมดังนี้

1.  ปัจจัยสนับสนุนที่คาดว่าจะส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้แก่ 

    1.1  อานิสงส์จากความต้องการสินค้าและบริการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยว 

    1.2  เป้าหมายการบรรลุความตกลงการค้าเสรี (FTA) ได้ภายในปี 2567 เช่น ไทย-ศรีลังกา,

ไทย-สมาคมการค้าเสรียุโรป (EFTA) และไทย-สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) รวมถึงการเร่งเจรจา FTA ไทย-อียู (EU) และไทย-กลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับ (GCC) ให้สำเร็จโดยเร็ว จะช่วยเพิ่มแต้มต่อให้กับผู้ประกอบการไทยอย่างมาก

    1.3  ความผันผวนของค่าเงินบาทที่อยู่ในระดับต่ำ และมีอัตราเหมาะสมทั้งผู้ส่งออก/ผู้นำเข้า 

    1.4  แนวโน้มคำสั่งซื้อสินค้าจากประเทศคู่ค้าสำคัญ เช่น สหรัฐฯ ยุโรป จีน เพิ่มขึ้น รวมถึงตลาดที่มีศักยภาพ เช่น กลุ่มอ่าวอาหรับ GCC 

    1.5  ผู้ประกอบการได้มีการลงทุนใช้พลังงานหมุนเวียนมากขึ้น เนื่องจากมีราคาที่ถูกลงโดยเฉพาะโซลาร์เซลล์ เพื่อลดต้นทุนด้านค่าไฟฟ้า

    1.6  ทิศทางราคาวัตถุดิบปรับตัวลดลงจากปัญหาขาดแคลนที่คลี่คลาย และมีการเข้าถึงแหล่งวัตถุดิบใหม่ๆ ทดแทน

2.  ปัจจัยห่วงกังวลที่คาดว่าจะกระทบต่ออุตสาหกรรม ได้แก่ 

    2.1  ทิศทางค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นจากต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่อยู่ในระดับสูงและปัญหาหนี้ของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT) 

    2.2  ปัญหาความขัดแย้งภูมิรัฐศาสตร์และสงครามในรัสเซีย-ยูเครน, อิสราเอล-กลุ่มฮามาส ยืดเยื้อกระทบต่อราคาพลังงานโลกเพิ่มขึ้น

    2.3  การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในอัตราที่สูงเกินไป ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต

    2.4  ต้นทุนทางการเงินยังอยู่ในระดับสูงจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่เพิ่มขึ้น และความเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อ

    2.5  ผลกระทบจากสินค้าที่ไม่มีคุณภาพเข้ามาตีตลาดลูกค้าในกลุ่มอาเซียน กระทบต่อการค้าชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน

    2.6  ปัญหามาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (NTM/NTB) เช่น มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป (CBAM) 

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวเสริมว่า ภาคอุตสาหกรรมไทยในปี 2567 ยังมีแนวโน้มที่จะขยายตัวดีขึ้นได้จากผลของฐานต่ำ เนื่องจากปีที่ผ่านมาในหลายอุตสาหกรรมโดยเฉพาะการผลิตเพื่อส่งออกเผชิญปัญหาเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ชะลอตัว ซึ่งในปี 2567 แรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยมีโอกาสเติบโตได้มาจากปัจจัยสนับสนุนทั้งภาคการส่งออกสินค้าที่จะกลับมาขยายตัวได้ การลงทุนภาคเอกชนที่จะฟื้นตัวตาม ภาคการท่องเที่ยวที่จะขยายตัวได้ต่อเนื่องผ่านมาตรการฟรีวีซ่า และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ การดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ รวมทั้งการใช้สิทธิประโยชน์จาก FTA ใหม่ๆ จากเป้าหมายการบรรลุ FTA ได้ภายในปี 2567 เช่น ไทย-ศรีลังกา, ไทย-EFTA และไทย-UAE เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออกสินค้าของไทยได้เพิ่มขึ้น

แต่อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังมีความผันผวนจากทั้งปัญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) และสงครามที่เกิดขึ้น รวมถึงสถานการณ์การเมืองโลก โดยเฉพาะการเลือกตั้งในประเทศสำคัญที่จะจัดขึ้นในปีนี้ อีกทั้งสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน ที่ยังยืดเยื้อและอาจรุนแรงขึ้น และยังมีผลกระทบจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Climate Change) ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงเกี่ยวกับภัยธรรมชาติมากขึ้น ความท้าทายเหล่านี้ ภาคอุตสาหกรรมไทยต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด 

สำหรับปี 2567 ส.อ.ท. ยังคงให้ความสำคัญกับการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศเป็นเป้าหมายสำคัญภายใต้ข้อเสนอ ส.อ.ท. ทั้งการปรับปรุงกฎหมายเพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจ การเร่งเจรจา FTA เช่น ไทย-EU และไทย-GCC การส่งเสริมการลงทุนและการยกระดับอุตสาหกรรมเป้าหมาย การส่งเสริมและยกระดับผู้ประกอบการ SME รวมถึงการมุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDG) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) เพื่อเสริมสร้างรากฐานในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้าต่อไป

Nichaphan W.
PR Marketing
Public Relations Marketing
READ MORE
×