Saturday, July 27Modern Manufacturing
×

บางจาก เร่งศึกษา Blue Carbon หนุนเกาะหมาก Low Carbon Destination

บางจาก เร่งศึกษา Blue Carbon หนุนเกาะหมาก Low Carbon Destination

กลุ่มบางจาก ร่วมพัฒนาพื้นที่เกาะหมากสู่เป้าหมายการเป็น Low Carbon Destination โดยการสนับสนุนคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศึกษา Blue Carbon จากการกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ของแหล่งหญ้าทะเลในแนวปะการังภาคตะวันออกเป็นครั้งแรกของประเทศไทย

บางจาก เร่งศึกษา Blue Carbon หนุนเกาะหมาก Low Carbon Destination

นายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้ลงนามความร่วมมือพัฒนาพื้นที่และการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนสู่ Low Carbon Destination หมู่เกาะหมาก อ.เกาะกูด จ.ตราด ร่วมกับองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหมาก วิสาหกิจชุมชนเกษตรผสมผสานบ้านอ่าวนิด โดยมีองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)  ร่วมเป็นพยาน  

บางจาก เร่งศึกษา Blue Carbon หนุนเกาะหมาก Low Carbon Destination

นายชัยวัฒน์ กล่าวว่า การลงนามข้อตกลงความร่วมมือเพื่อพัฒนาพื้นที่เกาะหมากสู่เป้าหมายการเป็น Low Carbon Destination ในครั้งนี้ กลุ่มบางจากฯ จะร่วมสนับสนุนพื้นที่เกาะหมากซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายแห่งแรกในโครงการแหล่งท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำของประเทศไทยที่ อพท. เป็นผู้ริเริ่มการขับเคลื่อน ผนวกกับการใส่ใจดูแลธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังจากชุมชนท้องถิ่น ถือเป็นพื้นที่ต้นแบบของประเทศในการร่วมบรรเทาภาวะวิกฤติของโลกด้านสภาพภูมิอากาศ  โดยการสนับสนุนคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในการศึกษา Blue Carbon จากการกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ของแหล่งหญ้าทะเลในแนวปะการังภาคตะวันออกเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ซึ่งการดูดซับคาร์บอนด้วยวิถีธรรมชาติจากหญ้าทะเลนี้ กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมากทั่วโลก โดยข้อมูลของ IUCN (International Union for Conservation of Nature) เมื่อปีที่แล้ว รายงานว่าหญ้าทะเลเป็นพืชกลุ่มเดียวที่อยู่ในทะเลเต็มตัวจึงมีความสามารถเฉพาะตัวในการดูดซับและกักเก็บคาร์บอนได้มากกว่าป่าบนบกถึง 7-10 เท่า  

illumina NextSeq™ 2000 เครื่องทดสอบสารพันธุกรรมอัจฉริยะ | Bio-Active [Super Source]

บางจาก เร่งศึกษา Blue Carbon หนุนเกาะหมาก Low Carbon Destination

นอกจากนี้ กลุ่มบางจากฯ ยังมีภารกิจอื่น ๆ เพื่อสนับสนุนแหล่งท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ อาทิ การนำมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า Winnonie ไปให้ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวในพื้นที่ได้ทดลองใช้เพื่อศึกษาความเหมาะสม ผ่าน อบต. เกาะหมาก รวมถึงสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เช่นถุงมือและเสื้อที่ผลิตจากขวด PET รีไซเคิลมอบให้ทีมอาสาสมัคร Trash Heroes Koh Mak สำหรับเก็บขยะชายหาด และทีมงานวิสาหกิจชุมชนเกษตรผสมผสานบ้านอ่าวนิด ใช้สำหรับกิจกรรมอนุรักษ์และฟื้นฟูหญ้าทะเล รวมถึงมีการศึกษาความเป็นไปได้ของความร่วมมืออื่น ๆ เช่น โรงเรียน Net Zero จากการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด เป็นต้น

ด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุริยัน ธัญกิจจานุกิจ คณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
กล่าวว่า โครงการ Blue Carbon ในแหล่งหญ้าทะเล เกาะหมาก-เกาะกระดาด นำทีมโดยผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง ม.เกษตรศาสตร์ เริ่มทำการสำรวจโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ทั้งการแปลข้อมูลดาวเทียมและการใช้โดรนรูปแบบต่าง ๆ สำรวจทางอากาศ พร้อมกับการสำรวจภาคสนามและการดำน้ำประเมินศักยภาพของพื้นที่ โดยสำรวจทั้งหมด 8 แหล่งทั่วเกาะหมาก/เกาะกระดาด จัดระดับตามศักยภาพเป็น 3 กลุ่มหลัก 5 กลุ่มย่อย 

บางจาก เร่งศึกษา Blue Carbon หนุนเกาะหมาก Low Carbon Destination

โดยมีแหล่งหญ้าทะเลบริเวณด้านตะวันตกของเกาะกระดาด ได้รับการประเมินว่ามีศักยภาพสูงสุดในด้าน Blue Carbon คณะผู้วิจัยจึงทำการสำรวจในรายละเอียด โดยทำแผนที่การแพร่กระจายของหญ้าทะเลทั้งหมด 4 ชนิดที่พบในพื้นที่นี้ รวมถึงแหล่งสาหร่ายขนาดใหญ่ เช่น สาหร่ายซากัสซั่ม สาหร่ายพวงองุ่น ปะการัง ฯลฯ จากนั้นจึงเจาะสำรวจคาร์บอนที่สะสมอยู่ใต้พื้นท้องทะเล โดยใช้วิธีตามมาตรฐานสากล สามารถเปรียบเทียบกับผลการศึกษานานาชาติได้ (IUCN, 2021)

“ผลการสำรวจพบว่า แหล่งหญ้าทะเลมีความซับซ้อนมาก คาดว่ามีการสะสมคาร์บอนได้เป็นอย่างดี แต่จำเป็นต้องใช้เวลาในการวิเคราะห์ในรายละเอียด นอกจากนี้ เมื่อเทียบกับข้อมูลในอดีต พบว่าแหล่งหญ้าทะเลมีความเสถียรสูงมาก ไม่มีผลกระทบอย่างมีนัยยะจากมนุษย์ แสดงถึงการดูแลรักษาทะเลในพื้นที่ของประชาชนเกาะหมากที่ทำอย่างจริงจังและต่อเนื่อง สภาพความสมบูรณ์เช่นนี้มีประโยชน์ในด้านการกักเก็บคาร์บอนในระยะยาว อันจะมีส่วนสำคัญต่อแผนเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำของประเทศไทย นอกจากนี้ ยังพบว่าแหล่งหญ้าทะเลมีความสมบูรณ์ของสัตว์น้ำสูงมาก ทั้งปูม้า หอยจอบ ปลาชนิดต่าง ๆ ไม่ต่ำกว่า 20 ชนิด ที่ช่วยสนับสนุนอาชีพประมงพื้นบ้านและการท่องเที่ยวในพื้นที่ ทั้งนี้ การดำเนินงานขั้นต่อไป จะวิเคราะห์ข้อมูลดูดซับ/กักเก็บคาร์บอน และทำการสำรวจเพิ่มเติม ตลอดจนวางแผนในการปลูกหญ้าทะเลโดยใช้เทคนิควิธีการต่าง ๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและรบกวนธรรมชาติน้อยที่สุด”

ด้านนาวาอากาศเอก อธิคุณ คงมี ผู้อำนวยการ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หรือ อพท. กล่าวว่า อพท. มีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่มีภาคเอกชน เช่น บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) ให้เกียรติเข้ามามีส่วนร่วมให้การสนับสนุนการดำเนินงานของ อพท.ที่ต้องการผลักดัน“เกาะหมาก” จังหวัดตราด พื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในความดูแลของ อพท.ให้ยกระดับขึ้นเป็นแหล่งท่องเที่ยวต้นแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม หรือ โลว์คาร์บอนเดสติเนชั่น (Low Carbon Destination)  ด้วยการลดการปล่อยคาร์บอนจากกิจกรรมภาคการท่องเที่ยวให้น้อยกว่าแหล่งท่องเที่ยวโดยทั่วไป และยกระดับให้เกาะหมากเป็นแหล่งท่องเที่ยวต้นแบบ Circular Economy มีแผนจัดการขยะการท่องเที่ยวของประเทศไทย

“สิ่งที่ อพท. กำลังดำเนินการที่เกาะหมากคือ ทำอย่างไรให้การปล่อยคาร์บอนจากภาคการท่องเที่ยวมีปริมาณที่ลดลง รวมไปถึงการหากิจกรรมการท่องเที่ยวที่จะช่วยดูดซับคาร์บอน เพื่อที่จะชดเชยคาร์บอนที่ถูกปล่อยจากกิจกรรมการท่องเที่ยวในพื้นที่เกาะหมาก โดยใช้หลักคิดแบบตรงไปตรงมาว่าคาร์บอนถูกปล่อยที่ไหน ก็หากิจกรรมเพื่อดูดซับคาร์บอนที่นั่นเป็นลำดับแรก”

สำหรับความร่วมมือกับ บริษัท บางจากฯ และ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขับเคลื่อนโครงการ Blue Carbon ในแหล่งหญ้าทะเล เกาะหมาก-เกาะกระดาด นับเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญมาก เพราะหญ้าทะเลมีความสามารถเฉพาะตัวในการดูดซับและกักเก็บคาร์บอนได้มากกว่าป่าบนบกถึง 7-10 เท่า หากสามารถเชิญชวนนักท่องเที่ยวเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และขยายพื้นที่ของหญ้าทะเลให้มีปริมาณมากขึ้น จะเป็นผลดีต่อสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศของเกาะหมาก อีกทั้งหญ้าทะเลจะช่วยดูดซับและชดเชยคาร์บอนได้ดีอีกด้วย การทำงานตามแนวทาง Circular Economy หรือ ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนไม่รู้จบ  อพท. อยู่ระหว่างดำเนินโครงการ “การจัดการขยะภาคการท่องเที่ยวบนเกาะหมาก” เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการขยะบนเกาะหมากอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยหลักคิดที่เริ่มจากลดการนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่จะก่อให้เกิดเป็นขยะ และมีการบริหารจัดการขยะบนเกาะโดยเน้นการนำมาหมุนเวียนเพื่อการใช้ประโยชน์ให้ยาวนานที่สุด และสุดท้ายคือการเข้าสู่กระบวนการกำจัดอย่างถูกวิธี ด้วยเป้าหมายการผลักดันเกาะหมากขึ้นเป็นพื้นที่ต้นแบบการบริหารจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Nichaphan W.
PR Marketing
Public Relations Marketing
READ MORE
×