Tuesday, April 30Modern Manufacturing
×

กบอ. เห็นชอบ จัดตั้งศูนย์ เมดิคัลฮับ 20,000 ล้านบาท

ที่ประชุมคณะอนุกรรมการบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กบอ.) ครั้งที่ 2/2562  เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2562 โดยมี นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน ได้รับทราบ และพิจารณาความก้าวหน้า การดำเนินงานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)  มีรายละเอียดที่สำคัญ ดังนี้

กบอ. เห็นชอบ จัดตั้งศูนย์ เมดิคัลฮับ 20,000 ล้านบาท

1. โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน จากการลงนามร่วมลงทุนโครงการฯ เมื่อวันที่ 24 ต.ค. 2562 ที่ผ่านมา ได้ดำเนินงานต่อเนื่อง เพื่อให้การพัฒนาโครงการ เป็นไปตามสัญญาร่วมลงทุน โดย คณะทำงานส่งมอบพื้นที่ ฯ ซึ่งมีปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน ได้ประชุมครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 13 พ.ย. 2562 ที่ผ่านมา พิจารณาแผนเร่งรัดการส่งมอบพื้นที่และรื้อย้ายสาธารณูปโภค ตามที่ กบอ. เห็นชอบในหลักการแล้ว โดยคณะทำงานส่งมอบพื้นที่ฯ ได้พิจารณากิจกรรมที่จำเป็นของทุกหน่วยงาน ได้แก่ กรุงเทพมหานคร(กทม.) การประปานครหลวง(กปน.) การไฟฟ้านครหลวง(กฟน.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) การปะปาส่วนภูมิภาค(กปภ.) การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ซึ่งประกอบด้วย การเวนคืน การโยกย้ายผู้บุกรุก การรื้อย้ายสาธารณูปโภค การก่อสร้างทดแทน ช่วงดอนเมือง – พญาไท และลาดกระบัง – อู่ตะเภา และได้กำหนดระยะเวลาทำงานให้สอดรับกับกรอบกำหนดเวลาตามแผนการส่งมอบพื้นที่

กบอ. เห็นชอบ จัดตั้งศูนย์ เมดิคัลฮับ 20,000 ล้านบาท

และพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแล คณะกรรมการบริหารสัญญา และโครงสร้างการบริหารจัดการโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน เพื่อให้การบริหารสัญญาโครงการฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะช่วงเริ่มต้นโครงการ ฯ ที่มุ่งเน้นการออกแบบและการก่อสร้างเป็นหลัก ซึ่งจะได้นำเสนอ กพอ. พิจารณาต่อไป

2. ความก้าวหน้าด้านสาธารณสุขในพื้นที่เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ ได้จัดตั้งเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อกิจการพิเศษด้านการแพทย์จีโนมิกส์ โดยการยกระดับด้านการแพทย์จีโนมิกส์ วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุน และสร้างความรู้ทางการแพทย์จีโนมิกส์ที่จำเป็นให้แก่ประเทศ นำไปสู่การรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ ให้ประชาชนเข้าถึงการรักษาพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพ

ส่วนเมดิคัลฮับ ด้านการแพทย์จีโนมิกส์ โดย สกพอ. พิจารณาความเหมาะสมการจัดตั้งพื้นที่ เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อกิจการพิเศษด้านการแพทย์จีโนมิกส์ ตามคำขอการจัดตั้งจากมหาวิทยาบูรพา เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษ และนวัตกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง มีพื้นที่โครงการฯ ประมาณ 3.8 ไร่ เป็นอาคารรวม 12 ชั้น พื้นที่อาคารรวมประมาณ 24,000 ตารางเมตร มีการลงทุนในระยะแรก 1,700 ตารางเมตร และมีเงินลงทุนเครื่องมือทางด้านเทคนิคเพื่อนำไปสู่การให้บริการจากเอกชน ประมาณ 1,250 ล้านบาท ภายในเวลา 5 ปี ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายนักลงทุนจาก สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ และสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งจะได้นำเสนอ กพอ. พิจารณาต่อไป

สำหรับโครงการพัฒนาศูนย์บริการทดสอบทางการแพทย์จีโนมิกส์ ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ที่ประชุม ได้พิจารณาหลักการโครงการพัฒนาศูนย์บริการทดสอบทางการแพทย์จีโนมิกส์ ในพื้นที่อีอีซี (Thailand Genome Sequencing Center)  เพื่อสร้างความรู้ พัฒนาการให้บริการด้านแพทย์จีโนมิกส์ (GenomicMedicine) นำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น โดยให้มีหน่วยงานจีโนมิกส์แห่งประเทศไทย (Genomics Thailand) ซึ่งเกิดประโยชน์ด้านการแพทย์ และสาธารณสุข ช่วยดูแลรักษาสุขภาพประชาชนลดภาวะแทรกซ้อน ลดการป่วย และลดค่าใช้จ่ายการรักษาที่ไม่แม่นยำ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับสูงไว้บริการ ใน Medical Hub และด้านเศรษฐกิจและสังคม ส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรในประเทศไทย

และ เสนอให้ กพอ. เห็นชอบ กรอบวงเงิน 750 ล้านบาท ของโครงการพัฒนาศูนย์บริการทดสอบทางการแพทย์จีโนมิกส์ ให้แก่ กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ทุกปี เป็นระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี เพื่อซื้อบริการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนม จำนวน 50,000 ราย รายละไม่เกิน 15,000 บาท โดยให้ สกพอ. ร่วมกับ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ดำเนินการคัดเลือกผู้ประกอบการ พร้อมเร่งศึกษารูปแบบ แนวทางการจัดตั้ง และบริหารจัดการ

3. การจัดการขยะในพื้นที่อีอีซี อย่างยั่งยืน นั้น จากสถานการณ์ปริมาณขยะมูลฝอยในพื้นที่อีอีซี ที่คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นจากประมาณ 4,200 ตัน/วัน ในปี 2561 เพิ่มขึ้นเป็น 6,800 ตัน/วัน ในปี 2580 แต่การจัดการขยะในปัจจุบันยังขาดประสิทธิภาพ และไม่เพียงพอกับปริมาณขยะที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่ยังคงใช้วิธีฝังกลบ ซึ่งเกิดผลเสียจากปัญหาการใช้พื้นที่เป็นบริเวณกว้างจนไม่สามารถรองรับขยะที่เกิดขึ้น และขยะสะสมใหม่ได้ อีกทั้งเกิดผลกระทบต่อการปนเปื้อนน้ำใต้ดินจากการรั่วซึม

ดังนั้น เพื่อให้การบริหารจัดการขยะในพื้นที่อีอีซี เกิดประสิทธิภาพและยั่งยืน กบอ. จึงได้พิจารณามอบให้ สกพอ.ประสานจังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำข้อเสนอโครงการจัดการขยะในพื้นที่อีอีซี สู่ต้นแบบการกำจัดขยะอย่างยั่งยืน ทั้งขยะบก ขยะบนเกาะ และขยะในทะเล ให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน และให้กลุ่มบริษัท ปตท. บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด มหาชน  (GPSC) เข้าร่วมในการศึกษาเพื่อพัฒนาการลงทุนโครงการบริหารจัดการขยะครบวงจร ในปริมาณตามความต้องการ

และให้จังหวัดในพื้นที่อีอีซี เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดหาพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการจัดตั้งโรงงานขยะ และโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าจากขยะ โดยให้กระทรวงพลังงานพิจารณารับซื้อไฟฟ้าจากโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าจากขยะในพื้นที่อีอีซี ซึ่งจะได้นำเสนอ กพอ. พิจารณาต่อไป

Nichaphan W.
Marketing
READ MORE
×