Friday, April 19Modern Manufacturing
×

ศก.ไทยฟื้น หนุนดัชนี MPI เดือน มี.ค. 2566 ขยายตัวร้อยละ 5.47

สศอ. เผยเศรษฐกิจไทยฟื้น หนุนดัชนี MPI เดือน มี.ค. 2566 ขยายตัวร้อยละ 5.47 ชี้การท่องเที่ยวในประเทศคึกคัก ดันความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องเพิ่มขึ้น 

ศก.ไทยฟื้น หนุนดัชนี MPI เดือน มี.ค. 2566 ขยายตัวร้อยละ 5.47

ศก.ไทยฟื้น หนุนดัชนี MPI เดือน มี.ค. 2566 ขยายตัวร้อยละ 5.47

นางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนมีนาคม ปี 2566 อยู่ที่ระดับ 104.65 ขยายตัวร้อยละ 5.47 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน มีอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 66.06 ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมไตรมาสแรก ปี 2566 อยู่ที่ระดับ 101.07 ขยายตัวร้อยละ 7.40 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เป็นผลมาจากเศรษฐกิจในประเทศทยอยปรับตัวดีขึ้น โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวต่อเนื่อง จากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น และมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศของภาครัฐ ทำให้ความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังคงได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีความไม่แน่นอน ประกอบกับประเทศ คู่ค้าหลักหลายประเทศยังคงเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อ และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่อง ส่งผลต่อความต้องการซื้อจากต่างประเทศชะลอตัว

Apple เปิดร้านใหม่ในอินเดีย เตรียมตีตลาดขยายฐานการผลิต | FactoryNews ep.53/4

สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลบวกต่อดัชนีในเดือนมีนาคม ปี 2566 ได้แก่ รถยนต์ ขยายตัวร้อยละ 8.18 จากการได้รับชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์มากขึ้นในรถยนต์หลายรุ่น ทำให้สามารถผลิตได้เพิ่มขึ้น การกลั่นน้ำมัน ขยายตัวร้อยละ 6.15 จากการผลิตน้ำมันเครื่องบิน และแก๊สโซฮอล์ ตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มากขึ้น และเครื่องปรับอากาศ ขยายตัวร้อยละ 7.09 จากความต้องการของตลาดส่งออกไปกลุ่มประเทศอาเซียน และการเร่งส่งมอบเครื่องปรับอากาศขนาดเล็กตามความต้องการของประเทศคู่ค้าที่เพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ สศอ. ได้คาดการณ์ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนเมษายน ปี 2566 มีแนวโน้มดีขึ้นต่อเนื่องจากปัจจัยภายในประเทศฟื้นตัวตามการบริโภคและการท่องเที่ยว การลงทุนที่เพิ่มขึ้น ภาคก่อสร้างขยายตัวส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัว และส่งผลให้ยอดขายดีขึ้นในระยะต่อไป สำหรับปัจจัยภายนอก อุปสงค์ของประเทศคู่ค้าสำคัญมีทิศทางปรับตัวขึ้น ได้แก่ ญี่ปุ่น และจีน หลังเปิดประเทศ ภาคการส่งออกยังมีแนวโน้มชะลอตัวจากภาวะเศรษฐกิจโลก ปัญหาเงินเฟ้อและนโยบายการเงินของหลายประเทศ รวมถึงสงครามในยูเครนที่ยืดเยื้อ และการลดกำลังการผลิตน้ำมัน

“นอกจากนี้ สศอ. ยังได้ศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเชิงลึกเพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรม พบว่าอุตสาหกรรม Hard Disk สิ่งทอและเครื่องแต่งกาย ถุงมือยาง เหล็กและเหล็กกล้า เฟอร์นิเจอร์ไม้ และเม็ดพลาสติก มีแนวโน้มการผลิตและส่งออกชะลอตัว ส่งผลกระทบต่อภาพรวมของเศรษฐกิจ ทั้งนี้ สศอ. ได้กำหนดจัดสัมมนากลุ่มย่อย (Focus Group) ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2566 เพื่อให้ทราบปัญหาอุปสรรคที่แท้จริงและหาแนวทางมาตรการช่วยเหลืออุตสาหกรรมดังกล่าวในระยะต่อไป” นางวรวรรณ กล่าว

สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลบวกต่อดัชนีผลผลิตในเดือนมีนาคม 2566 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่

ยานยนต์ ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 8.18 จากรถยนต์นั่งขนาดกลางและรถยนต์นั่งขนาดเล็ก ที่มีการขยายตัวในตลาดส่งออก หลังได้รับชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ในรถยนต์บางรุ่นมากขึ้น

ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.15จากผลิตภัณฑ์น้ำมันเครื่องบินและน้ำมันแก๊สโซฮอล์เป็นหลัก เพื่อใช้ในการเดินทางที่เพิ่มขึ้นทั้งทางอากาศและการขนส่งทางบกหลังการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเต็มรูปแบบและมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ 

เครื่องปรับอากาศ ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7.09 จากความต้องการของตลาดส่งออกไปกลุ่มประเทศอาเซียน เช่น เวียดนาม และฟิลิปปินส์ รวมถึงการเร่งส่งมอบให้กับประเทศคู่ค้าตามความต้องการเครื่องปรับอากาศขนาดเล็กที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น

ผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.06 จากผลิตภัณฑ์ยางแท่งเป็นหลัก เพื่อรองรับการส่งออก โดยได้รับคำสั่งซื้อจากประเทศจีนมากขึ้น ประกอบกับฐานต่ำในปีก่อน

น้ำมันปาล์ม ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 11.58 จากผลิตภัณฑ์น้ำมันปาล์มดิบและน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ โดยในปีนี้มีปริมาณผลผลิตปาล์มน้ำมันออกสู่ตลาดจำนวนมาก จึงเร่งผลิตเก็บเป็น สต๊อกเพื่อรอจำหน่าย

Nichaphan W.
Marketing
READ MORE
×