NIA

NIA จับมือ  ส.อ.ท. โชว์ 10 ดีพเทคสตาร์ทอัพ เพิ่มดีกรีความเชื่อมั่นภาคอุตฯ 

Date Post
15.12.2023
Post Views

 NIA จับมือ  ส.อ.ท.  เปิดเวทีโชว์ผลงาน 10 ดีพเทคสตาร์ทอัพ ทดสอบการใช้งานกับภาคอุตสาหกรรม ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนได้จริง พร้อมสร้างความร่วมมือต่อยอดธุรกิจ ขยายตลาดและเปิดรับเงินลงทุน 

ดร. กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA กล่าวว่า “สตาร์ทอัพเทคโนโลยีเชิงลึกมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนานวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต เนื่องจากสตาร์ทอัพไทยกลุ่มนี้มีความพร้อมและมีโอกาสเติบโตในตลาดโลก แต่ยังขาดประสบการณ์ในการเชื่อมโยงกับกลุ่มผู้ใช้งานในภาคธุรกิจและองค์กรต่างๆ รวมทั้งขาดกลยุทธ์ด้านการสร้างตลาดที่นำไปประยุกต์ใช้งานกับอุตสาหกรรม ดังนั้น สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สนช. จึงเร่งพัฒนาการเติบโตของสตาร์ทอัพเชิงลึกให้มีการใช้งานที่ตอบโจทย์ในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ โดยร่วมมือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ดำเนิน “โครงการส่งเสริมและเชื่อมโยงสตาร์ทอัพเทคโนโลยีเชิงลึกสู่ธุรกิจภาคอุตสาหกรรมไทย” หรือ FTI DeepTech Startup Connext เพื่อสร้างโอกาสให้สตาร์ทอัพเทคโนโลยีเชิงลึกได้รับการต่อยอดทางธุรกิจและสามารถขยายตลาดได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเมื่อมีผู้ใช้งานเพิ่มมากขึ้น ก็จะสามารถสร้างความมั่นใจให้กับกลุ่มนักลงทุนและมีโอกาสได้รับเงินลงทุนขยายธุรกิจได้มากขึ้นด้วย จากการวิเคราะห์ของบอสตันคอลซัลติ้งกรุ๊ป พบว่าในปี 2565  มีการลงทุนในสตาร์ทอัพเทคโนโลยีเชิงลึกมูลค่ารวม 3,400 พันล้านบาท และเกิดการระดมทุนของแต่ละครั้งสูงถึง 33,000 ล้านบาท”

Joby Aviation โชว์ทดสอบการบินแท๊กซี่อากาศสำเร็จในนิวยอร์ก

ภก. ดร.เชิญพร  เต็งอำนวย รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และประธานสถาบันนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า “เราได้คัดเลือก 10 สตาร์ทอัพเทคโนโลยีเชิงลึกที่มีเทคโนโลยีและนวัตกรรมพร้อมใช้งานและต่อยอดกับภาคอุตสาหกรรม โดยเริ่มจากพัฒนาศักยภาพของสตาร์ทอัพ ให้สามารถปรับกลยุทธ์ด้านการสร้างตลาด การเตรียมข้อมูลเสนอลูกค้า การเจรจาต่อรอง รวมถึงเทคนิคการทดสอบการใช้งานลูกค้า เพื่อปิดการขายให้ประสบความสำเร็จ ไปพร้อมๆ กับการสร้างโอกาสให้สตาร์ทอัพได้จับคู่และทำงานจริงร่วมกับบริษัทหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเชิงลึกมากขึ้น ทั้งนี้ สตาร์ทอัพเทคโนโลยีเชิงลึกที่พร้อมขยายการใช้งานกับภาคอุตสาหกรรมทั้ง 10 ทีม มีดังนี้

–  ด้านระบบตรวจวิเคราะห์คุณภาพของสินค้าเกษตรด้วยความแม่นยำ ได้แก่ 1) Egg-E-Egg : เครื่องตรวจสอบและวิเคราะห์คุณภาพไข่ด้วยปัญญาประดิษฐ์

–  ด้านระบบบริหารจัดการกระบวนการผลิต ได้แก่ 2) BeaRiOt : เซ็นเซอร์ตรวจสอบวิเคราะห์ขั้นสูงในเครื่องจักรและการปฏิบัติงานของกระบวนการผลิตแบบเรียลไทม์ ด้วยเทคโนโลยี Industrial Internet of Things (IIoT) 3) Fuyuutech OEE PAQ Up : ระบบชี้วัดค่าประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องจักร (OEE-Overall Equipment Effectiveness)

–  ด้านระบบบำรุงรักษาเครื่องจักรเชิงคาดการณ์เพื่อลดความเสียหายของเครื่องจักร ได้แก่ 4) Factorium : ระบบบริหารจัดการงานซ่อมบำรุงเครื่องจักรด้วยฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของโรงงานและเทคโนโลยี Machine Learning/AI 5) Merlinium : ระบบคาดการณ์ในด้านการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยเซ็นเซอร์และปัญญาประดิษฐ์ AIoT (Predictive Maintenance from AIoT sensor) 6) Qonnect : ระบบแจ้งเตือน Breakdown ก่อนเครื่องจักรเสีย ด้วยการใช้ Machine learning และ IoT

–  ด้านระบบบำบัดน้ำเสียประสิทธิภาพสูง ได้แก่ 7) BioCircuit : ระบบบำบัดน้ำเสียวงจรไฟฟ้าชีวภาพ (BioCircuit) สำหรับน้ำเสียชนิดรุนแรง 8) Dialute : ระบบบำบัดน้ำเสียประสิทธิภาพสูงและใช้ระยะเวลาสั้นด้วยกระบวนการออกซิเดชันที่กระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้า (Electro-activated Oxidation Processes)

–  การเปลี่ยนกลิ่นเป็นดิจิทัลที่ตรวจวัดได้ ได้แก่ 9) MUI Robotics : จมูกอิเล็กทรอนิกส์แปลงกลิ่นเป็นข้อมูลนำไปใช้งานได้หลากหลาย เช่น อุตสาหกรรมอาหาร สัญญาณเตือนภัยจากกลิ่น

–  การลดภาระงานบัญชีด้วยเทคโนโลยี ได้แก่ 10) ZTRUS : เทคโนโลยี AI-OCR ที่สามารถแปลงข้อมูลจากเอกสารรูปภาพ เข้าไปอยู่ในรูปแบบดิจิทัล สำหรับจัดการเอกสารทางบัญชี เพื่อลดต้นทุน

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Nichaphan W.
การตลาดและประชาสัมพันธ์
Store Master - Kardex