Store Master - Kardex
Wireless Sensor

เปิดข้อมูล Wireless Sensor มีกี่แบบ ใช้กับงานประเภทไหนบ้าง

Date Post
04.06.2024
Post Views

Wireless Sensor หรือเซนเซอร์แบบไร้สาย เป็นอุปกรณ์ตรวจวัดข้อมูลที่ถูกใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน การใช้งาน Wireless Sensor อย่างเหมาะสมจะมีส่วนช่วยอย่างมากในการตรวจจับสิ่งผิดปกติ หรือคาดการณ์ปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดกับเครื่องจักร และอุปกรณ์ได้อย่างแม่นยำ ลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาได้เป็นอย่างดี

แต่เชื่อหรือไม่ว่าตัวของ Wireless Sensor นั้นแท้จริงแล้วมีรูปแบบมากมายกว่าที่หลายคนคาดคิด ในบทความนี้จะพาคุณไปพบกับ Wireless Sensor แบบต่างๆ ในส่วนที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นหลัก เพื่อให้คุณรู้จักเซนเซอร์แบบไร้สายนี้มากยิ่งขึ้น

เปิดข้อมูล Wireless Sensor มีกี่แบบ ใช้กับงานประเภทไหนบ้าง

ประเภทของ Wireless Sensor

1. Wireless Vibration Sensor

Wireless Vibration Sensor (เซนเซอร์วัดแรงสั่นสะเทือนแบบไร้สาย) สามารถใช้ในการตรวจสอบสภาพผิดปกติจากการสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นและแนวโน้มการเกิดความผิดปกติในเครื่องจักร เช่น มอเตอร์หรือปั๊มได้ ทำให้สามารถซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพก่อนที่จะสายเกินไป ตลอดจนช่วยลดเวลา Breakdown ของเครื่องจักร 

ปัจจุบันเซนเซอร์ชนิดนี้ถูกพัฒนาจนมีขนาดเล็กลงอย่างมาก เช่น เซนเซอร์รุ่น LBAC0ZZ1TF และ LBAC0ZZ1LZ จากทาง Murata ที่สามารถติดตั้งได้ในพื้นที่จำกัด โดยใช้ฐานเซนเซอร์ซึ่งเป็นแม่เหล็กจับยึดกับตัวเครื่องจักรที่ต้องการ หลังจากนั้นตัวเซนเซอร์จะทำการเก็บข้อมูลการสั่นสะทือนของเครื่องจักร และส่งข้อมูลไปยังจอแสดงผลในรูปแบบกราฟ ทำให้สามารถตรวจสอบและเปรียบเทียบได้ง่ายดายมากขึ้น

2. Wireless Temperature Humidity sensor

เซนเซอร์วัดอุณหภูมิและความชื้นแบบไร้สาย ใช้สำหรับวัดอุณหภูมิและความชื้นว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสมหรือไม่ มักถูกติดตั้งในสถานที่ที่มีความไวต่ออุณหภูมิและความชื้น เช่น โรงงานชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิกส์ โดยเซนเซอร์สามารถติดตั้งบริเวณใดก็ได้ที่ต้องการวัดอุณหภูมิและความชื้น หลังจากนั้นผู้ปฏิบัติงานก็สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิและความชื้น ณ บริเวณนั้นๆ ได้ตลอดเวลา  ซึ่งอาจป้องกันการเกิดสนิมในเครื่องจักรหรือสินค้า เลี่ยงเครื่องจักรเสียหายจากการที่สายพานยางอุ้มน้ำจนสายขาด และมีส่วนช่วยยับยั้งการเกิดความชื้นซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการติดตั้งระบบจัดการความชื้นภายในโรงงาน

ตัวอย่างเช่น เซนเซอร์รุ่น LBAC0ZZ1AN จาก THAI MURATA ELECTRONICS TRADING. CO., LTD.  ที่สามารถวัดอุณหภูมิได้ระหว่าง -10℃ ถึง 60℃ สามารถติดตั้งได้ง่าย อีกทั้งยังตรวจจับอุณหภูมิที่ละเอียดอ่อนได้เป็นอย่างดี นับเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกสำหรับการจัดการความชื้นในโรงงานอย่างเหมาะสม

3. Wireless Current Sensor

เซนเซอร์วัดกระแสไฟฟ้าแบบไร้สาย ใช้วัดค่ากระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านในวงจรไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ที่ต้องการควบคุมและจำกัดแรงดันไฟฟ้า เพื่อการเฝ้าระวัง ตรวจสอบคุณภาพของอุปกรณ์และป้องกันข้อผิดพลาดจากกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติในเครื่องจักรที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานของโรงงาน เช่น เครื่องทำความร้อน เครื่องปรับอากาศหรือมอเตอร์ เพื่อรับรองความปลอดภัยและประสิทธิภาพการผลิตทั้งระบบได้ 

ตัวอย่างอุปกรณ์ที่น่าสนใจ ได้แก่ เซนเซอร์รุ่น LBAC0ZZ1MT และ LBAC0ZZ1NT จาก THAI MURATA ELECTRONICS TRADING. CO., LTD.  ที่สามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์ที่ใช้ไฟกระแสสลับทั้งเฟสเดียว สองเฟส และสามเฟส (ขึ้นอยู่กับจำนวนเซนเซอร์และจำนวน Clamp) มาพร้อมกับฟังก์ชัน Energy Harvesting ทำให้สามารถยืดระยะเวลาการใช้งานของแบตเตอร์รี่ได้ยาวนาน สามารถติดตั้งได้ง่ายผ่านการแคลมป์บริเวณสายไฟจุดที่ต้องการตรวจสอบ

4. Analog Pulse Signal Converter Sensor

เซนเซอร์แปลงสัญญาณแอนะล็อกแบบไร้สาย มักถูกนำไปติดตั้งร่วมกับเซนเซอร์อื่นๆ เช่น เซนเซอร์วัดการไหล หรือมาตรวัดความดันที่ส่ง เอาต์พุตหรือ สัญญาณออกมาเป็น 4-20mA หรือ สัญญาณ 0-5V เพื่อเปลี่ยนรูปแบบการเก็บข้อมูลให้เป็นอัตโนมัติ สามารถส่งข้อมูลได้แบบ Real-time โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาพนักงานให้ลงไปดูหน้างาน ทำให้เกิดความสะดวกสบายในการนำข้อมูลไปวิเคราะห์ต่อ รวมไปถึงสามารถลดต้นทุนในการจัดการสายไฟและประหยัดค่าแรงพนักงานที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลแบบเก่าได้ 

ตัวอย่างอุปกรณ์ที่น่าสนใจ ได้แก่ เซนเซอร์รุ่น LBAC0ZZ1MU และ LBAC0ZZ1RU จาก THAI MURATA ELECTRONICS TRADING. CO., LTD.  ที่มี Battery Life สูงถึง 10 ปี (เมื่อตั้งค่าให้เซนเซอร์เก็บข้อมูลทุกๆ 10 นาทีและที่ใช้งานที่อุณหภูมิ 25℃) สามารถติดตั้งได้ง่าย ช่วยให้ระบุปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และจัดการได้แบบทันท่วงที

5. Displacement Sensor

Displacement Sensor เป็นเซนเซอร์ที่มีคุณสมบัติในการตรวจจับวัตถุต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นขนาด ระยะทาง รูปร่าง มักถูกเรียกในชื่อของ “เซนเซอร์วัดระยะ” เซนเซอร์ชนิดนี้ทำงานได้ด้วยการใช้ลำแสงเลเซอร์ไปสะท้อนวัตถุที่ต้องการ และส่งข้อมูลกลับมายังตัวรับ ทำให้ไม่จำเป็นต้องสัมผัสกับวัตถุโดยตรง การแสดงผลของเซนเซอร์จะส่งกลับมาในรูปแบบตัวเลขในจอดิจิทัล และสามารถเชื่อมต่อกับระบบ PLC ได้ เหมาะสำหรับการตรวจสอบงานชิ้นเล็กที่ต้องการความละเอียดในการทำงานสูง

6. Photodetector (Light sensor)

เซนเซอร์วัดความเข้มแสง ใช้สำหรับวัดระดับแสงหรือความเข้มแสง ถูกใช้งานอย่างหลากหลายเพื่อการควบคุมความเข้มของแสงให้เหมาะกับกิจกรรมในพื้นที่ ตั้งแต่การควบคุมแสงในโรงงานให้มีความสว่างพอดีกับสายตามนุษย์ จนไปถึงการควบคุมแสงในการปลูกพืชของ Smart Farm

7. Gas Sensor

เซนเซอร์สำหรับตรวจจับและวัดระดับแก๊ส เช่น การตรวจจับควันและก๊าซต่าง ๆ มักใช้ในอาคารเพื่อตรวจจับอัคคีภัย เพื่อป้องกันการเกิดเหตุไม่คาดฝันภายในโรงงาน มักนิยมติดตั้งในบริเวณที่มีการใช้ก๊าซอันตราย หรือบริเวณที่มีความเสี่ยงต่อการรั่วไหลของก๊าซชนิดต่างๆ ไปจนถึงบริเวณเสี่ยงอัคคีภัย โดยส่วนมากมักมีการเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์นิรภัยเพื่อป้องกันอุบัติเหตุต่างๆ เช่น อุปกรณ์ดับเพลิงภายในอาคารเพื่อความปลอดภัย 

8. Motion Sensor

เซนเซอร์ตรวจจับการการเคลื่อนไหว เป็นอีกหนึ่งเซนเซอร์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในอุตสาหกรรมความปลอดภัย โดยมีการตรวจจับมากมายหลายรูปแบบ ทั้งจากคลื่นอินฟาเรด คลื่นอัลตราโซนิก หรือการใช้คลื่นไมโครเวฟ ซึ่งใช้ในการตรวจสอบผู้บุกรุก 

นอกเหนือจากนั้น Motion Sensor ยังถูกใช้ในสื่อบันเทิงเพื่อตรวจจับความเคลื่อนไหว การเปิดและปิดอุปกรณ์ไฟฟ้า ตลอดจนถึงเครื่องจ่ายแอลกอฮอล์อัตโนมัติที่เราพบเห็นได้ทั่วไปอีกด้วย

 9. Sound Sensor

เซนเซอร์ใช้สำหรับตรวจจับระดับความดัง (เดซิเบล: dB) ของเสียง นิยมใช้ในสถานที่ที่ต้องการจำกัดมลภาวะทางเสียง อย่าง สนามบิน คอนเสิร์ตหรือโรงงาน ตัวอย่างเช่น เซนเซอร์ตามมาตรฐาน IEC 61672

10. Pressure Sensor

เซนเซอร์วัดแรงดันในของเหลวและแก๊ส สามารถนำมาใช้ในการวัดเพื่อควบคุมแรงดันน้ำและแรงดันลมเพื่อการเกษตรและอุตสาหกรรมต่างๆ ได้ มักมีการใชังานในโรงงานเพื่อควบคุมแรงดันที่ละเอียดอ่อน รวมถึงการส่งของเหลวชนิดต่างๆ เข้าสู่จุดที่ต้องการ ดังตัวอย่างข้างต้นที่ได้มีการนำ Pressure Sensor ใช้งานร่วมกับ Analog Pulse Signal Converter Sensor เพื่อการเก็บข้อมูลอย่างครอบคลุม 

ทั้งนี้ รูปแบบของ Wireless Sensor ยังคงถูกพัฒนาต่อไปเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและการเติบโตของนวัตกรรมต่างๆ และยังมีเซนเซอร์อีกมากมายที่ไม่ได้พูดถึง เช่น Magnetic Sensor, Environment Sensor, Color Sensor และ Gesture Sensor ที่ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญในอุตสาหกรรมปัจจุบันแทบทั้งสิ้น

การใช้งาน Wireless Sensor ในการบำรุงรักษาเครื่องจักร

Wireless Sensor มีบทบาทในการบำรุงรักษาเครื่องจักรคือการเป็นตัวเก็บข้อมูลต่างๆ ที่เกิดขึ้นในฟิลด์โรงงาน โดยเซนเซอร์จะถูกติดตั้งในห้องไลน์ผลิตสินค้า แล้วทำงานตามระบบที่ถูกตั้งค่าเบื้องต้น แล้วส่งข้อมูลที่เก็บได้ไปสู่เกตเวย์ ซึ่ง Wireless Sensor ที่ได้รับความนิยมในการใช้งาน ได้แก่ 

  • เซนเซอร์ความสั่นสะเทือน
  • เซนเซอร์ความร้อน
  • เซนเซอร์กระแสไฟฟ้า
  • เซนเซอร์อุณหภูมิและสิ่งแวดล้อม
  • เซนเซอร์ความดัน

โดย Input Data ที่ได้จากเซนเซอร์ต่างๆ จะถูกนำมาเก็บ ประมวลผลและแสดงภาพให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นด้วย Dashboard Software บนคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถตรวจเช็กสุขภาพของเครื่องจักรได้ตลอดเวลาอย่างสะดวกสบายโดยหากมีความผิดปกติเกิดขึ้นบนเครื่องจักร พนักงานก็จะได้รับการแจ้งเตือนผ่านระบบโดยทันที ทำให้สามารถทราบตำแหน่งของเครื่องจักรที่ผิดปกติและเข้าไปแก้ไขปัญหาได้อย่างทันเวลา


การใช้งาน Wireless Sensor กำลังเติบโตในทุกอุตสาหกรรมเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล โดยเฉพาะในการบำรุงรักษาเครื่องจักร ผู้ปฏิบัติงานจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการกับการเลือกใช้ประเภทของ Wireless Sensor ให้เหมาะสมกับประเภทของงานเพื่อปรับให้ Maintainance System มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

หากคุณกำลังมองหาวิธีการยกระดับมาตรฐาน Maintanance System ด้วยนวัตกรรม Wireless Sensor ที่มีมาตรฐาน Murata Wireless Sensing Solution จาก THAI MURATA ELECTRONICS TRADING, LTD. ก็เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่ช่วยเพิ่ม Productivity และลดเวลา Breakdown ของเครื่องจักรได้อย่างทรงพลัง


ติดต่อทีมงานขาย Thai Murata Electronics Trading, Ltd.

คุณเดชไชยนันท์ สอนโกษา (ทิว) 
วิศวกรฝ่ายขาย
โทร: 080-142-0057 

คุณรชธร เอกนิตยบุญ (ปุ้)
วิศวกรฝ่ายขาย 
โทร: 081-132-4462 

ข้อมูลอ้างอิง

Logo-Company
Logo-Company
Logo-Company
logo-company
Modern Manufacturing
  นำเสนอข่าวสารความรู้รอบด้านเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการผลิต เพื่ออุตสาหกรรมไทยก้าวหน้าด้วยวิทยาการสมัยใหม่และเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย