Wednesday, May 8Modern Manufacturing
×

ส.อ.ท. หนุนใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ภาคอุตสาหกรรม

ส.อ.ท. จับมือ ดีป้า จัดพิธีมอบใบรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 29110  หนุนผู้ประกอบการนำดิจิทัลไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรม

ส.อ.ท. หนุนใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ภาคอุตสาหกรรม

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยกลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัล และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ร่วมดำเนินโครงการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการได้รับมาตรฐาน ISO/IEC 29110 ปีงบประมาณ 2564 เพื่อสร้างผู้ประกอบการคุณภาพในอุตสาหกรรมตามเกณฑ์มาตรฐานสากล สนับสนุนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในภาคธุรกิจอุตสาหกรรม เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับสากล

ส.อ.ท. หนุนใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ภาคอุตสาหกรรม

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า สภาอุตสาหกรรมฯ โดยกลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัล และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ได้ร่วมมือกันเพื่อดำเนินโครงการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการได้รับมาตรฐาน ISO/IEC 29110 ประจำปีงบประมาณ 2564 เพื่อสร้างผู้ประกอบการคุณภาพในอุตสาหกรรมตามเกณฑ์มาตรฐานสากล โดยมีผู้ประกอบการสมัครเข้าร่วมโครงการกว่า 140 ราย และมีการพิจารณาคัดเลือกและดำเนินการตั้งแต่เดือนมกราคม จนถึง ตุลาคม 2564 ปัจจุบันมีผู้ประกอบการคุณภาพที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 29110 เกิดผู้ประกอบการ จำนวนทั้งสิ้น 125 ราย แบ่งเป็นภาคกลาง กรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน 101 ราย, ภาคเหนือ จำนวน 12 ราย, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 6 รายและภาคใต้ จำนวน 6 ราย

มาตรฐาน ISO/IEC 29110 ถือเป็นหนึ่งในหลักเกณฑ์สำคัญสำหรับการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital Provider) เพื่อสนับสนุนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในภาคธุรกิจอุตสาหกรรมผ่านมาตรการต่างๆ ของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล และยังเป็นหนึ่งในคุณสมบัติสำคัญของการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการตามมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) เพื่อให้ SMEs ที่มีการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์จากผู้ประกอบการที่ได้รับการขึ้นทะเบียน สามารถขอใช้สิทธิประโยชน์ในการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล (Tax 200%) 

เพิ่มปริมาณจัดเก็บในคลังสินค้า ด้วยระบบ Shuttle Racking Systems | LPI Rack Range [Super Source]

ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กล่าวว่า การส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลในปัจจุบันจำเป็นต้องมีการขับเคลื่อนในหลายๆ ด้าน สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลมีหน้าที่พันธกิจที่สำคัญ ในการส่งเสริมและสนับสนุน ให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล พัฒนาและส่งเสริมให้เกิดการนําเทคโนโลยีดิจิทัลไปใช้ ให้เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และความมั่นคงของประเทศ ผ่านกลไกต่างๆ เช่น ส่งเสริม สนับสนุน และร่วมมือกับบุคคลอื่นในการพัฒนาอุตสาหกรรมหรือนวัตกรรมดิจิทัล เป็นต้น

ทั้งนี้ มาตรฐาน ISO/IEC 29110 ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในหลักเกณฑ์สำคัญสำหรับการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital Provider) เพื่อสนับสนุนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในภาคธุรกิจอุตสาหกรรมผ่านมาตรการต่างๆ ของสำนักงาน อาทิ

1. มาตรการช่วยเหลือหรือการอุดหนุนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อภาคธุรกิจอุตสาหกรรม(depa Digital Transformation Fund) ผลดำเนินงานตั้งแต่ปี 2561-2564 สนับสนุนทั้งสิ้น: 228 โครงการ วงเงิน: 98 ล้านบาทผลกระทบทางเศรษฐกิจ: 1,254 ล้านบาท

2. มาตรการคูปองดิจิทัลเพื่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล (depa mini Transformation Voucher)

ผลดำเนินงานตั้งแต่ปี 2561-2564 สนับสนุนทั้งสิ้น: 10,225 ราย วงเงิน: 120 ล้านบาท ผลกระทบทางเศรษฐกิจ: 24 ล้านบาท

3. มาตรการช่วยเหลือหรือการอุดหนุนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อชุมชนในชนบท (depa Digital Transformation Fund for Community) ผลดำเนินงานตั้งแต่ปี 2561-2564 สนับสนุนทั้งสิ้น: 256 โครงการ วงเงิน: 44 ล้านบาท ผลกระทบทางเศรษฐกิจ: 465 ล้านบาท

รวมถึง มาตรฐาน ISO/IEC 29110 ยังเป็นหนึ่งในคุณสมบัติสำคัญของการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือซอฟต์แวร์ (Software) ตามมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) เพื่อให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) ที่มีการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์จากผู้ประกอบการที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานสามารถขอใช้สิทธิประโยชน์ในการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล (Tax200%) 

โดยมาตรการภาษีนี้ เป็นการส่งเสริมผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) ปรับเปลี่ยนธุรกิจสู่เศรษฐกิจดิจิทัล ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล อาทิ ERP (โปรแกรมบริหารจัดการทรัพยากรองค์กร) CRM (โปรแกรมบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า) POS (โปรแกรมบริการ ณ จุดขาย) MRP (โปรแกรมบริหารจัดการและวางแผนการผลิต) และAccount (โปรแกรมบัญชี) เป็นต้น โดย ผู้ประกอบการ SMEs สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ถึง 2 เท่า สำหรับค่าซื้อหรือจ้างทำ หรือค่าใช้บริการ Software as a service ที่จ่ายให้แก่ผู้ขาย หรือผู้รับจ้างทำ หรือผู้ให้บริการที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล

Nichaphan W.
Marketing
READ MORE
×