Tuesday, May 14Modern Manufacturing
×

Tag: วิจัยและพัฒนา

เปลือกปูและเยื่อไม้ทางเลือกใหม่สำหรับบรรจุภัณฑ์พลาสติก

เปลือกปูและเยื่อไม้ทางเลือกใหม่สำหรับบรรจุภัณฑ์พลาสติก

News
นักวิจัยจาก Georgia Institute of Technology สร้างวัตถุดิบจากเปลือกปูและเยื่อไมเที่สามารถใช้แทนที่บรรจุภัณฑ์พลาสติกเพื่อรักษาความสดใหม่ของอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงรักษาสิ่งแวดล้อมในระยะยาว การค้นพบนี้ถูกเผยแพร่ใน Journal ชื่อว่า ACS Sustainable Chemistry an Engineering ซึ่งงานวิจัยนี้มีเป้าหมายในการเปรียบเทียบกับ PET หรือ Polyethylene Terephthalate ซึ่งมีปิโตรเลียมเป็นวัตถุดิบพื้นฐานในวัตถุดิบที่โปร่งแสง เช่น เครื่องดื่มซอฟท์ดริงค์ต่างๆ ผู้วิจัยรายงานว่าสามารถลดการแทรกซึมของอากาศได้ถึง 67% ซึ่งทำให้อาหารสามารถเก็บรักษาได้นานยิ่งขึ้น (more…)
วิธีการผลิตแม่พิมพ์เบเกอรี่ Non-Stick แบบลดต้นทุน

วิธีการผลิตแม่พิมพ์เบเกอรี่ Non-Stick แบบลดต้นทุน

Management & Productivity
นักวิจัยจาก University of Cordoba คิดค้นวิธีการผลิตแม่พิมพ์ Non-Stick สำหรับเบเกอรี่แบบใหม่ที่สามารถลดค่าใช้จ่ายได้แต่แลกมาด้วยระยะเวลาการผลิตที่ยาวนานขึ้น (more…)
Ultra-Shear Technology นวัตกรรมใหม่ถนอมอาหารโดยไม่ต้องเติมสารเคมี

Ultra-Shear Technology นวัตกรรมใหม่ถนอมอาหารโดยไม่ต้องเติมสารเคมี

News
นักวิจัยจาก Ohio State University ได้รับทุนมูลค่ากว่า 897,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการถนอมอาหารและเครื่องดื่มโดยการเติมสารเคมีในปริมาณน้อยที่สุด และ Ultra-Shear Technology (UST) คือ ผลลัพธ์กำลังเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้ UST เป็นนวัตกรรมที่ใช้ Shear Technology ที่มีแรงอัดสูงโดยใช้ส่วนผสมเฉพาะโดยไม่มีการใช้สารสังเคราะห์ใดๆ และลดปริมาณความร้อนที่ใช้ ซึ่งเทคโนโลยีนี้สามารถตอบสนองควาต้องการของเหล่าผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญสุขภาพโดยยังคงรักษารสชาติที่ยอดเยี่ยมรวมถึงเครื่องดื่มที่ไม่เติมสารเคมีลงไปด้วย เทคโนโลยีดังกล่าวถูกคาดหวังสำหรับการใช้งานในโรงงานแปรรูปอาหารขนาดเล็กและขนาดกลาง รวมถึงนักลงทุนที่มีทรัพยากรจำกัดในการผลิตอาหารที่มีคุณภาพสูง และสำหรับผู้บริโภคเองอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพเป็นทางเลือกที่ควรได้รับความใส่ใจอย่างยิ่งเช่นกัน ที่มา: Foodincanada.com
ผลิตชิ้นส่วนโฟมกราฟีนแบบ 3 มิติ

ผลิตชิ้นส่วนโฟมกราฟีนแบบ 3 มิติ

News
https://www.youtube.com/watch?v=uqUCLuW4RRg นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Rice พัฒนาการผลิตวัสดุในรูปแบบสามมิติจากโฟมกราฟีนซึ่งมีความยืดหยุ่นสามารถปรับเปลี่ยนรูปทรงได้ เทคนิคที่ใช้งานการผลิต คือ Laser-Induced Graphene (LIG) โดยเลเซอร์จะละลายพลาสติกเพื่อขึ้นรูป และบริเวณพื้นผิวนั้นจะถูกเผาทำให้เกล็ดคาร์บอนเชื่อมติดกัน ซึ่งสามารถดำเนินการผ่านระบบอัตโนมัติ ใชหลักการคล้ายคลึงกับ 3D Printing หรือเครื่องพิมพ์ 3 มิติ โดยจะเป็นการผลิตขึ้นรูปโฟมทีละชั้น (more…)
หุ่นยนต์กับการตอบสนองใกล้เคียงกับกล้ามเนื้อในอนาคต

หุ่นยนต์กับการตอบสนองใกล้เคียงกับกล้ามเนื้อในอนาคต

News, Video
มหาวิทยาลัยโตเกียวพัฒนากล้ามเนื้อสำหรับหุ่นยนต์ที่สามารถลอกเลียนแบบการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมนุษย์ได้ โดยเบื้องต้นสามารถหยิบจับวัตถุที่มีน้ำหนักเบาได้เท่านั้น (more…)
3D Printing เปลี่ยนแม่เหล็กถาวรเป็นแม่เหล็กกลุ่ม Rare-Earth

3D Printing เปลี่ยนแม่เหล็กถาวรเป็นแม่เหล็กกลุ่ม Rare-Earth

News
วิศวกรจาก Amess Laboratory's Critical Materials Institute ใช้เคริ่องพิมพ์โลหะ 3 มิติเปลี่ยนวัสดุแม่เหล็กถาวร (Permanent Magnet) เป็นวัสดุที่สามารถใช้ทดแทนแม่เหล็กกลุ่ม Rare-Earth ได้ (more…)
ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถล้างได้?

ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถล้างได้?

News
การผนวกการพิมพ์ Graphene ด้วยอิงค์เจ็ทเข้ากับการใช้เลเซอร์สามารถสร้างชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ล้างและทำความสะอาดได้ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Iowa ค้นพบกระบวนการผสมผสาน Graphene กับการใช้เลเซอร์เพื่อสร้างแผงวงจรราคาถูก มีความยืดหยุ่น มีศักยภาพในการเหนี่ยวนำที่ดี และยังกันน้ำอีกด้วย โดยผลงานดังกล่วาถูกตีพิมพ์ในชื่อ "Superhydrophobic Inkjet Printed Flexible Graphene Circuits via Direct-Pulsed Laser Writing" ซึ่งตอบสนองต่อการใช้งานที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์สวมใส่ ชิ้นส่วนที่สามารถล้างทำความสะอาดได้ (more…)
‘เงิน’ ทางเลือกวัสดุใหม่สำหรับหน้าจอความยืดหยุ่นสูง

‘เงิน’ ทางเลือกวัสดุใหม่สำหรับหน้าจอความยืดหยุ่นสูง

News
นักวิจัยค้นคว้า Silver Nanopattern หรืออนุภาคเงินที่สามารถเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าได้ดีในขณะที่สามารถปล่อยให้แสงลอดผ่านได้ ทำให้เกิดอิเล็กโทรดฟิล์มใสแบบใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อเซลล์แสงอาทิตย์ หรือหน้าจอที่มีความยืดหยุ่น เช่น หน้าจอสัมผัสของสมาร์ทโฟน (more…)
The Researcher: พัฒนาเอนไซม์เพื่อพลังงานชีวมวล

The Researcher: พัฒนาเอนไซม์เพื่อพลังงานชีวมวล

Sustainability
วิกฤติพลังงานเป็นปัญหาที่ทุกภาคส่วนร่วมกันหาทางออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคอุตสาหกรรมที่มีการใช้พลังงานมากที่สุด โดย ไบโอเอทานอล เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศไทย ทำให้เกิดการพัฒนาวิธีการต่าง ๆ เพื่อยกระดับคุณภาพพลังงานขึ้น โดยหนึ่งในปัจจัยหลัก คือ เอนไซม์ที่ใช้ในการย่อยสลาย ซึ่งปัจจุบันใช้เอนไซม์จากเชื้อรา Aspergillus niger (AnBG) ซึ่งมีข้อจำกัดในการใช้งาน (more…)
The Researcher: ซิลิคอนคาร์ไบด์กับการเสริมความแข็งแกร่งวัสดุ

The Researcher: ซิลิคอนคาร์ไบด์กับการเสริมความแข็งแกร่งวัสดุ

News
วัสดุเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการพัฒนาเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัสดุที่ต้องนำไปใช้กับชิ้นส่วนที่ต้องรับแรงหรือบรรทุกน้ำหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของชิ่นส่วน ซึ่งศึกษาการพัฒนาวัสดุเชิงประกอบพื้นอะลูมิเนียมเสริมแรงด้วยอนุภาคซิลิคอนคาร์ไบด์ที่ผลิตด้วยวิธีฉีดขึ้นรูปวัสดุผงพบว่าการเพิ่มปริมาณซิลิคอนคาร์ไบด์ทำให้ค่าความหนาแน่นและความแข็งมีแนวโน้มลดลงหากมีปริมาณเกิน 20 vol.% (more…)
×