Friday, April 26Modern Manufacturing
×

กพร. เปิดผลสำเร็จ เทคโนโลยีทองแดงนาโน ต้านแบคทีเรียและไวรัส

กพร. เปิดผลสำเร็จการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีรีไซเคิลเพื่ออัพไซเคิล เศษทองแดงจากซากแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์หรือเศษสายไฟมาผลิตเป็นอนุภาคทองแดงนาโน ที่มีคุณสมบัติป้องกันแบคทีเรียและไวรัส รองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ไทย

กพร. เปิดผลสำเร็จ เทคโนโลยีทองแดงนาโน ต้านแบคทีเรียและไวรัส

นายนิรันดร์  ยิ่งมหิศรานนท์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เปิดเผยภายหลังการจัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “เทคโนโลยีรีไซเคิล/อัพไซเคิลเศษทองแดงสู่ทองแดงนาโน สำหรับวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์” ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีรีไซเคิล กพร. อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ว่า กพร. ในฐานะหน่วยงานหลักในการจัดหาและบริหารจัดการวัตถุดิบเพื่อสร้างความมั่นคงด้านวัตถุดิบและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนให้แก่ภาคอุตสาหกรรมได้ให้ความสำคัญกับการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เกิดประโยชน์ และสร้างมูลค่าเพิ่มสูงสุด ตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) โดยได้ส่งเสริม “การทำเหมืองแร่ในเมือง (Urban Mining)” หรือการรีไซเคิลผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช้แล้ว ขยะ หรือของเสียให้กลายเป็นทรัพยากรหรือวัตถุดิบทดแทน โดยการแยกสกัดแร่หรือโลหะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ รวมถึงแปรรูปเป็นพลังงานทดแทนให้แก่ภาคอุตสาหกรรม เพื่อหมุนเวียนการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างยั่งยืน และเป็นวงรอบสุดท้ายของ Circular Economy ก่อนที่ขยะหรือของเสียจะถูกกำจัดหรือฝังกลบ 

กพร. เปิดผลสำเร็จ เทคโนโลยีทองแดงนาโน ต้านแบคทีเรียและไวรัส

‘ญี่ปุ่น’ No.1 – ผลิตหุ่นยนต์ส่งออก 78% โตต่อเนื่องตั้งแต่โควิด-19 | FactoryNews EP.11

กพร. เปิดผลสำเร็จ เทคโนโลยีทองแดงนาโน ต้านแบคทีเรียและไวรัส

และในปีนี้ การพัฒนาเทคโนโลยีรีไซเคิลเศษทองแดงจากซากแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์หรือเศษสายไฟมาผลิตเป็นอนุภาคทองแดงนาโน (Copper Nanoparticles) ที่มีคุณสมบัติในการป้องกันแบคทีเรียและไวรัส สำหรับใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการผลิตวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น ผ้าปูเตียงผู้ป่วย ชุดแพทย์ห้องปฏิบัติการ หน้ากากอนามัย สเปรย์ฆ่าเชื้อ ถือเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของ กพร. โดยความร่วมมือกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งที่ผ่านมาศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีรีไซเคิล กพร. ได้สร้างสรรค์เทคโนโลยีรีไซเคิลขยะหรือของเสียรวมกว่า 70 ชนิด โดยได้มีการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติให้แก่ผู้ประกอบการ นักลงทุนและผู้ที่สนใจ เฉลี่ยปีละกว่า 300 ราย สร้างธุรกิจใหม่ (Start-up) และยกระดับผู้ประกอบการ (Level-up) ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจจากการนำองค์ความรู้และเทคโนโลยีไปใช้ 150-200 ล้านบาทต่อปี

“คนทั่วไปมักมองว่าการรีไซเคิลเศษทองแดง คือ การนำเศษทองแดงมาหลอมแล้วทำให้บริสุทธิ์ด้วยกระบวนการทางไฟฟ้า แล้วนำกลับมาใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเดิม แต่ความเป็นจริงแล้วการรีไซเคิลสามารถทำได้หลายวิธี เราสามารถต่อยอดเทคโนโลยีรีไซเคิลด้วยการอัพไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงขึ้นได้ด้วยเทคโนโลยี ซึ่งผลจากความสำเร็จในครั้งนี้ สามารถเปลี่ยนเศษทองแดงให้กลายเป็นอนุภาคทองแดงนาโนที่มีมูลค่าเพิ่มมากกว่าทองแดงบริสุทธิ์กว่า 300 เท่า และในอนาคตอันใกล้นี้ประเทศไทยจะมีผลิตภัณฑ์วัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีส่วนประกอบของอนุภาคทองแดงนาโนเพื่อป้องกันแบคทีเรียและไวรัส ซึ่งผลิตโดยผู้ประกอบการไทยที่นำเทคโนโลยีของ กพร. ไปประยุกต์ใช้ จำหน่ายในประเทศในราคาที่สามารถแข่งขันกับอนุภาคนาโนชนิดต่าง ๆ ที่มีคุณสมบัติป้องกันแบคทีเรียและไวรัสที่นำเข้าจากต่างประเทศได้” นายนิรันดร์ กล่าว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Nichaphan W.
Marketing
READ MORE
×