Tuesday, March 19Modern Manufacturing
×

เพิ่มประสิทธิภาพระบบโลจิสติกส์ขององค์กรอย่างไร ในยุคอุตสาหกรรม 4.0

เมื่อโลจิสติกส์เป็นระบบที่ช่วยสนับสนุนการสร้างคุณค่าให้กับภาคอุตสาหกรรม และช่วยในการปรับปรุงความสามารถในการสร้างผลกำไร แนวคิดของระบบโลจิสติกส์จึงไม่ใช่เพียงการขนส่งหรือการจัดการคลังสินค้าดั่งที่เราคิดกันเท่านั้น

โดยที่ขอบเขตของแนวคิดได้ขยายผลออกไปทั่วทั้งวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์อีกด้วย Council of Logistics Management (CLM) ได้กล่าวไว้ว่า โลจิสติกส์ คือ ส่วนหนึ่งของกระบวนการโซ่อุปทาน โดยวางแผนเพื่อนำไปปฏิบัติและควบคุมการไหลเวียนของสินค้าการบริการและข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลจากจุดเริ่มต้นไปจนถึงจุดที่มีการบริโภคเพื่อที่จะบรรลุถึงความต้องการของลูกค้า

เพิ่มประสิทธิภาพระบบโลจิสติกส์ขององค์กรอย่างไร ในยุคอุตสาหกรรม 4.0

ทั้งนี้ แนวคิดได้ถูกเปลี่ยนไปและถูกขยายผลในเชิงความสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออกระหว่าง ‘โลจิสติกส์’ และ ‘โซ่อุปทาน’ โดย CLM ได้นิยามความหมายของ ‘โลจิสติกส์’ ว่า ‘โลจิสติกส์เป็นส่วนหนึ่งของโซ่อุปทานที่วางแผนปฏิบัติและควบคุมการไหลและการจัดเก็บของสินค้า บริการและข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดประสิทธิผลจากจุดเริ่มต้นไปสู่จุดบริโภคขึ้น เพื่อที่จะบรรลุถึงความต้องการของลูกค้า

โลจิสติกส์จึงมีความหมายมากกว่าการขนส่ง ซึ่งเป็นเรื่องของการเคลื่อนย้าย หรือการไหลของวัตถุดิบ ข้อมูลตั้งแต่เป็นวัตถุดิบจนเป็นสินค้าสำเร็จรูปจากต้นทางจนถึงปลายทางผู้บริโภค โดยมีการประสานแต่ละขั้นตอนการดำเนินงานและมีความสัมพันธ์กันโดยตรงกับโซ่อุปทานโดยที่ทั้ง ‘โลจิสติกส์’ และ ‘โซ่อุปทาน’ จะมีขอบข่ายและขยายผลไปทั้งโซ่อุปทานและมีลักษณะเป็นแนวคิดเชิงกระบวนการไม่ใช่ในลักษณะแนวคิดเชิงหน้าที่

ความท้าทายของยุคอุตสาหกรม 4.0

อุตสาหกรรม 4.0 หรือการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 เป็นการนำสารสนเทศมาประยุกต์ผสมผสานกับเทคโนโลยีอุตสาหกรรม โดยประกอบด้วย Cyber-Physical System, Internet of Things และ Could Computing โดยอุตสาหกรรม 4.0 เป็นรูปแบบของการทำงานอย่างชาญฉลาด เป็นการนำข้อมูลที่หลากหลายมาผสมผสานเพื่อให้เกิดการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ และทันเวลา ทั้งในรูปแบบการจัดการด้วยมนุษย์และการจัดการด้วยระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติ ตลอดห่วงโซ่คุณค่าโดยการปฏิวัติอุตสาหกรรมของประเทศไทยนั้น มีการพัฒนาการของรูปแบบมาตามแต่ละยุคแต่ละสมัย ดังนี้

อุตสาหกรรม 1.0
Mechanization, Water Power, Steam Power

ระบบอุตสาหกรรมหนักเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1784 คือ ยุคของการใช้พลังงานจากน้ำแทนการใช้แรงงานคนหรือสัตว์ หรือพลังงานธรรมชาติ เป็นยุคที่เริ่มต้นการปฏิวัติอุตสาหกรรมซึ่งมีการใช้พลังงานไอน้ำจากถ่านหินในกลุ่มอุตสาหกรรมทอผ้า กังหันน้ำที่สร้างพลังงานสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ หรือการใช้ไอน้ำในรถไฟหัวจักรไอน้ำ เป็นต้น

อุตสาหกรรม 2.0
Mass Production, Assembly Line, Electricity

ระบบอุตสาหกรรมที่มีการผลิตสินค้าเป็นจำนวนมากตามโรงงานเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1870 เป็นการเปลี่ยนจากการใช้งานเครื่องจักรไอน้ำมาใช้งานพลังงานไฟฟ้า ส่งผลให้สามารถปลดปล่อยพลังงานการผลิตอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เปลียนแปลงระบบการผลิตมาเป็นระบบโรงงาน ทำให้เกิดการผลิตสินค้าคราวละมากๆ และมีคุณภาพที่เทียบเท่างานหัตถกรรมที่สำหคัย คือ สินค้าราคาไม่แพงทุกคนสามารถบริโภคได้ ทำให้เกิดกระแสบริโภคนิยมไปทั่วโลก

อุตสาหกรรม 3.0
Computer and Automation

ระบบที่มีการนำระบบอัตโนมัติทั้งหุ่นยนต์และแขนกลเข้ามาใช้ตามโรงงานแทนที่แรงงานมนุษย์เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1969 เป็นยุคของการใช้อิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีไอทีในการผลิต มีการปรับกระบวนการผลิตและระบบบริหารจัดการด้านคุณภาพ มีการใช้เครื่องจักรอุตโนมัติหรือหุ่นยนต์ในการผลิตแทนที่แรงงานคน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้สูงขึ้นอีกระดับหนึ่ง

อุตสาหกรรม 4.0
Cyber Physical Systems

ระบที่นำการติดต่อสื่อสารของข้อมูลมาประยุกต์ใช้ คือ การนำเทคโนโลยีในกระบวนการผลิตสินค้า จุดเด่นที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ สามารถเชื่อมความต้องการของผู้บริโภคแต่ละรายเข้ากับกระบวนการผลิตสินค้าได้โดยตรง

พูดง่ายๆ ก็คือ โรงงานอุตสาหกรรมยุค 4.0 จะสามารถผลิตของหลากหลายรูปแบบ แตกต่างกันตามความต้องการเฉพาะของผู้บริโภคแต่ละรายเป็นจำนวนมากในเวลาพริบตาเดียว โดยใช้กระบวนการผลิตที่ประหยัดและมีประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยีดิจิตอลครบวงจร แบบ ‘Smart Factory’

ความท้าทายของโรงงานอุตสาหกรรม 4.0 นั้น ต้องนำสารสนเทศมาประยุกต์ผสมผสานกับเทคโนโลยีอุตสาหกรรมซึ่งเป็นเรื่องที่ปัจจุบันโดยเฉพาะองค์กรที่มีขนาดใหญ่และมีศักยภาพเพียงพอด้านทุน บุคลากร เป็นต้น สามารถดำเนินการต่อได้เลย ในบริบทของการปฏวัติอุตสาหกรรม 4.0 โดยใช้กระบวนการผลิตที่ประหยัดและมีประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยีดิจิตอลครบวงจรรมาใช้ แต่มีอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมอยู่ไม่น้อยที่มีศักยภาพเพียงพอในการนำระบบสาระสนเทศมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเต็มรูปแบบในการบริการโลจิสติกส์ขององค์กร

แนวทางการบริหารระบบโลจิสติกส์ในยุคอุตสาหกรรม 4.0 จะต้องพิจารณาเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ผสมผสานกับเทคโนโลยีอุตสาหกรรมในปัจจุบันครอบคลุมไปด้วย

ระบบโลจิสติกส์ในยุคอุตสาหกรรม 4.0Global Positioning System (GPS)

เป็นการส่งข้อมูลผ่านช่องทางต่างๆ และสามารถส่งข้อมูลผ่าน Link กับวิดีโอได้ ซึ่งผู้ประกอบการนิยมใช้ในการขนส่งทางถนนมากกว่าการขนส่งทางน้ำและทางราง ส่วนใหญ่จะมีการติดตั้งระบบ GPS Tracking เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการขนส่ง เพราะจะช่วยลดต้นทุนในการเดินทาง โดยมีการวางแผนการเดินทางที่จะทให้ประหยัดค่าน้ำมัน ใช้ในการวิเคราะห์ระบบการทำงาน และนำมาปรับปรุงวิธีการขนส่ง

Transportation Management System (TMS)

ระบบบริหารจัดการการขนส่งสินค้า เป็นเครื่องมือในการวางแผนการขนส่ง การเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่ง การตัดสินใจในเรื่องการบรรทุกสินค้า และการจัดวางเส้นทางให้มีประสิทธิภาพสูงสุดภายใต้ข้อจำกัดต่างๆ

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความรวดเร็วและต้นทุนที่ประหยัดที่สุด ครอบคลุมตั้งแต่การจัดการใบส่งสินค้า การเลือกเส้นทางที่ประหยัดที่สุด การใช้รถอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดตารางเดินรถ การจัดสินค้าขึ้นรถแต่ละคัน เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังสามารถนำข้อมูลของ WMS มาใช้ร่วมกับ TMS รวมทั้งยังสามารถกำหนดสายส่ง ร้านค้า หรือแบ่งโซนตามระยะทางได้อีกด้วย ปัจจุบันมี Free Program ในโลกออนไลน์ เป็นจำนวนมากธุรกิจที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก สามารถโหลดนำมาประยุกต์ใช้ได้ ซึ่งสามารถกำหนดพิกัดได้เพียงใส่พิกัดที่ต้องการกำหนด

Electronic Data Interchange (EDI)

เป็นเทคโนโลยีสารสนเทศที่เชื่อมโยงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ระหว่าง 2 ฝ่าย EDI จะเปรียบเสมือนเป็นตู้ไปรษณีย์และบุรุษไปรษณีย์ไปสู่อีกฝ่าย EDI สามารถเชื่อมโยงข้อมูล 2 ฝ่ายที่มีฐานข้อมูลต่างกันให้ติดต่อสื่อสารกันได้

Warehouse Management System (WMS)

เป็นซอฟต์แวร์ระบบการจัดการคลังสินค้า มีลักษณะเหมือนกับระบบบริหารการขนส่งที่ระบบบริหารคลังสินค้าบริหารแผนการจัดเก็บสินค้าคงคลังและประมวลผลการทำงานต่อวันของคลังสินค้า นอกจากนี้ ระบบ WMS ยังช่วยตรวจและติดตามสินค้าคงคลังในคลังสินค้าด้วย

WMS เป็นศูนย์กลางในการจัดการดำเนินการคำสั่งซื้อของลูกค้า และการจัดการคลังสินค้าที่สามารถรวบรวมข้อมูลจากการจัดการคำสั่งซื้อลูกค้า การรับสินค้า การจัดทำสต๊อก การเติมสินค้า การจัดเก็บ การเลือกหรือหยิบสินค้าตามคำสั่ง การจัดส่งและการจ่ายสินค้าออกจากคลัง และกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

Radio Frequency Identification (RFID)

ปัจจุบันการนำเทคโนโลยี RFID เริ่มถูกนำมาใช้ โดยเฉพาะการติดตามสัตว์เลี้ยงในธุรกิจปศุสัตว์ การจ่ายค่าผ่านทางด่วนและในโรงงานผลิตสินค้าพรีเมี่ยม เป็นต้น สามารถตรวจสแกนสินค้าบนชั้นวางได้เลยทันทีที่ลูกค้าเลือกหยิบสินค้าเสร็จและเดินผ่านเครื่องสแกนแผ่น RFID ตรงทางออกห้างสรรพสินค้าเครื่องจะคำนวณจำนวนเงินที่ลูกค้าจะต้องจ่ายทั้งหมดแบบอัตโนมัติลูกค้าไม่จำเป็นต้องเข้าแถวคอยจ่ายเงินกับพนักงานที่ยิงบาร์โค้ดสินค้าแต่ละชิ้นๆ อีกต่อไป

Barcode System

ในปัจจุบันระบบบาร์โค้ดกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับธุรกิจค้าปลีกเป็นอย่างมาก เพราะช่วยอำนวยความสะดวกตั้งแต่การบริหารสินค้าคงคลัง ไปจนถึงระบบการเก็บเงินที่รวดเร็วทำให้เกิดความสะดวกแก่ลูกค้าที่มาซื้อสินค้าไม่ต้องเสียเวลารอคอยนาน ประโยชน์หลักของบาร์โค้ด คือ ช่วยทำให้การรวบรวมข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ภายในองค์กรเป็นไปได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และถูกต้อง

Enterprise Resource Planning (ERP)

ERP หมายถึง หลักในการวางแผนบริหารจัดการทรัพยากรในองค์กร โดยอาศัยระบบสารสนเทศสนับสนุนการดำเนินงานมีลักษณะการติดต่อสื่อสาร การทำงานแบบเชื่อมโยงถึงกันหมดทุกกระบวนการทางธุรกิจ (ทุกฝ่าย ทุกแผนก) ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายการเงิน ฝ่ายบัญชี ฝ่ายการผลิต ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายกระจายสินค้าฝ่ายขายฝ่ายการตลาด รวมทั้งฝ่ายทรัพยากรบุคคล

โดยการนำระบบทุกอย่างในองค์กรมาเชื่อมประสานเข้าด้วยกัน ใช้งานบนฐานข้อมูลเดียวกัน ใช้ข้อมูลร่วมกันได้มีคุณสมบัติเหมาะสมในการนำมาสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรในโซ่อุปทานและการจัดการโลจิสติกส์ทำให้ได้ข้อมูลและสารสนเทศสำหรับการวางแผนในอนาคต และยังสามารถวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลง เพื่อนำผลลัพธ์มาใช้ปรับปรุงผลการปฏิบัติงานขององค์กรโดยรวมได้

Electronic Commerce

เป็นการทำธุรกรรมทางเศรษฐกิจที่ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริหาร การโฆษณาสินค้า การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น จุดเด่นของ E-Commerce คือ ประหยัดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ โดยลดความสำคัญขององค์ประกอบของธุรกิจที่มองเห็นจับต้องได้ เช่น อาคารที่ทำการ ห้องจัดแสดงสินค้า คลังสินค้าพนักงานขายและพนักงานให้บริการต้อนรับลูกค้า เป็นต้น ดังนั้น ข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์ คือ ระยะทางและเวลาทำการแตกต่างกันจึงไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจอีกต่อไป

การเพิ่มประสิทธิภาพระบบโลจิสติกส์ 4.0
เมื่อการจัดการโลจิสติกส์เป็นเครื่องมือสำคัญในการแข่งขันธุรกิจ

  • โดยสามารถเปลี่ยนการทำงานจากหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกันเป็นขบวนการที่สามารถประสานงานให้บรรลุเป้าหมายและนโยบายองค์กร
  • ทำให้งานที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายอื่นที่ต้นทุนสูงสามารถลดต้นทุนได้ เพิ่มประสิทธิภาพในการบริการลูกค้า
  • สร้างสัมพันธ์ลูกค้าภายในและภายนอกองค์กร
  • สามารถลดต้นทุนและสร้างกำไรทางธุรกิจ
  • เป็นพื้นฐานของการเจริญเติบโตของธุรกิจ

การเพิ่มประสิทธิภาพระบบโลจิสติกส์ขององค์กรในยุคอุตสาหกรรม 4.0 ต้องมีการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการโลจิสติกส์ที่กล่าวข้างต้น มาประยุกต์ผสมผสานกับเทคโนโลยีอุตสาหกรรมในระบบการทำงานของธุรกิจในปัจจุบันมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อธุรกิจ เพราะโลจิสติกส์ต้องการความรวดเร็วในการขนส่งอย่างถูกต้องแม่นยำมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันตลอดเวลา และสารสนเทศที่ถูกต้องและทันเวลาจะช่วยกิจการลดระดับสินค้าคงคลังเพิ่มอัตราการใช้ประโยชน์จากปริมาตรในคลังสินค้าได้ลดค่าแรงงานในการบริหารโลจิสติกส์ได้ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริการแก่ลูกค้าเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันขององค์กรได้

EXECUTIVE SUMMARY

The industrial factory’s challenge in 4.0 era nowadays is the way of applied themselves together with industrial technology which is the issue that big company with suffice potential in cost and human resources could proceed to the industrial 4.0 context instantly. They could use manufacturing process that save more cost and also have better efficiency by overall coverage digital technology while many medium and small size business have not enough potential to adapt with its full functional to manage the organization’s logistics.

Modern Manufacturing on FacebookModern Manufacturing on Youtube
Modern Manufacturing
Web Admin
 
นำเสนอข่าวสารความรู้รอบด้านเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการผลิต เพื่ออุตสาหกรรมไทยก้าวหน้าด้วยวิทยาการสมัยใหม่และเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
READ MORE
×