Saturday, April 27Modern Manufacturing
×

Braskem ร่วมกับ FKUR จัดจำหน่ายพลาสติกชีวภาพ ‘I’m green’เพื่อลดการปล่อยคาร์บอน

การคิดค้นวัสดุใหม่ ๆ เพื่อตอบโจทย์เรื่องการปลดปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์นั้น แนวทางหนึ่ง คือ การใช้วัสดุสำหรับผลิตพลาสติกที่มีต้นกำเนิดจากชีวมวลแทนฟอสซิล 

Braskem ร่วมกับ FKUR จัดจำหน่ายพลาสติกชีวภาพ ‘I’m green’เพื่อลดการปล่อยคาร์บอน
Braskem ร่วมกับ FKUR จัดจำหน่ายพลาสติกชีวภาพ ‘I’m green’เพื่อลดการปล่อยคาร์บอน

Braskem บริษัทผู้ผลิตพลาสติกที่ทำจากชีวภาพ ‘I’m green’ มาตั้งแต่ปี 2010 โดยใช้เอธานอลจากอ้อยและข้าวโพด โดยพืช 2 ชนิดนี้มีศักยภาพในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ระหว่างที่เป็นต้นไม้ และพลาสติกที่ผลิตจากวัสดุชีวภาพเหล่านี้นี้สามารถเข้าสู่ห่วงโซ่การรีไซเคิลได้เหมือนพลาสติกทั่วไป

คลิปวิดีโอ เกี่ยวกับพลาสติก ‘I’m green’

ความเข้าใจที่ ไม่ ถูกต้องเกี่ยวกับพลาสติกชีวภาพ

1. พลาสติกชีวภาพย่อยสลายได้เสมอ

พลาสติกที่ผลิตจากชีวภาพแตกต่างจากพลาสติกที่ผลิตจากฟอสซิล คือ ต้นกำเนิดวัสดุจากพืชให้ Carbon Footprint ที่ต่ำกว่า อาจย่อยสลายได้หรือไม่สามารถย่อยสลายได้ เช่น ขวดพลาสติก PET ที่ผลิตจากพลาสติกชีวภาพไม่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติเหมือนกับพลาสติกฟอสซิลเพราะมีโครงสร้างโมเลกุลเดียวกัน ในกรณีเช่นนี้การลดการปล่อยคาร์บอนจึงมีเฉพาะในกระบวนการผลิตพลาสติกอย่างเดียวเพราะพืชมีการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ก่อนนำมาผลิตเป็นพลาสติก ดังนั้น พลาสติกชีวภาพประเภทที่ย่อยสลายไม่ได้ก็อาจปนเปื้อนไปในสิ่งแวดล้อม ในดิน และมหาสมุทรได้ วัสดุเหล่านี้จำเป็นต้องนำไปรีไซเคิลให้ได้เหมือนพลาสติกฟอสซิลทุกประการ 

2. พลาสติกชีวภาพที่ย่อยสลายได้ หากทิ้งไว้ในสิ่งแวดล้อมจะย่อยสลายเองได้

ความเข้าใจนี้ไม่ถูกต้อง เพราะพลาสติกชีวภาพชนิดที่ย่อยสลายได้ ยังต้องนำไปผ่านกระบวนการฝังกลบเพื่อย่อยสลาย การวางไว้ในสภาพแวดล้อมจะไม่ทำให้พลาสติกย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ

คลิปวิดีโอ พลาสติกชีวภาพดีกว่าจริงหรือไม่? (ที่มา: DW Planet A)

พลาสติกชีวภาพถือกำเนิดก่อนพลาสติกที่ทำจากฟอสซิล แต่เนื่องจากพลาสติกฟอสซิลผลิตได้ง่ายและใช้งานได้อเนกประสงค์มากกว่า ความต้องการพลาสติกจึงไปที่ฟอสซิลมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ จนกระทั่งสหภาพยุโรปออกกฎเรื่องการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) พลาสติกชีวภาพจึงกลับมาในความสนใจอีกครั้ง เนื่องจากการปล่อยคาร์บอนเป็นต้นทุน และผลิตภัณฑ์ใดที่ไม่สามารถควบคุม Carbon Footprint ให้เป็นไปตามเกณฑ์จะมีภาระด้านเพดานภาษีเพิ่มเติม จนในท้ายที่สุดต้นทุนอาจไม่สามารถแข่งขันได้ในตลาดยุโรป

กล่าวโดยสรุป พลาสติกชีวภาพมีข้อดีในแง่ของการลด Carbon Footprint อย่างไรก็ดี การคิดค้นวิจัยพลาสติกชีวภาพเป็นขั้นแรกในการมุ่งหน้าสู่ความยั่งยืน ขั้นตอนต่อไป คือ ต้องมีการใช้งานหรือการจัดจำหน่ายที่แพร่หลายครอบคลุมพื้นที่ต่าง ๆ โดยการร่วมมือกับบริษัทพันธมิตรในการขยายตลาดก็เป็นตัวเลือกหนึ่งที่ทำได้ 

ร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อกระจายพลาสติกชีวภาพให้ใช้งานแพร่หลาย 

Braskem ผู้ผลิตพลาสติกชีวภาพ ร่วมมือกับ FKUR Kunststoff ผู้เชี่ยวชาญพลาสติกชีวภาพเพื่อจัดจำหน่ายกลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ ‘I’m green’ ให้แพร่หลาย โดย FKUR ทำหน้าที่เป็นผู้จัดจำหน่ายอย่างเป็นทางการสำหรับ Ethylene Vinyl Acetate (EVA) ในหลากหลายประเทศ เช่น สหภาพยุโรป สวิสเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ สหราชอาณาจักร ตุรกี อิสราเอล อินเดีย เป็นต้น FKUR ไม่ได้เป็นเพียงพันธมิตรด้านโลจิสติกส์ แต่ยังเป็นตัวแทนที่มีความสามารถในด้านเทคโนโลยี การพัฒนา ตลอดจนให้การสนับสนุนในด้านการประยุกต์ใช้และการตลาดด้วย

“I'm green” bio-based EVA is a versatile drop-in bioplastic and is already being used successfully in products ranging from bio-based shoe soles, such as those produced by Italian manufacturer Selasti.

‘I’m green’ EVA ที่ผลิตจากชีวภาพ เป็นพลาสติกอเนกประสงค์แบบ ‘Drop-In’ (พลาสติกชีวภาพสามารถทดแทนพลาสติกฟอสซิลได้ 1:1 โดยมีคุณสมบัติเหมือนพลาสติกฟอสซิลทุกประการ) ถูกนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น พื้นรองเท้า ผลิตโดย ‘Selasti’ ผู้ผลิตสัญชาติอิตาเลียน
(ที่มา: Selasti)

คุณสมบัติของ ‘I’m green’ EVA ชีวภาพ

  • มีความเบา ยืดหยุ่น และทนทาน เหมาะสำหรับผลิตเป็นรองเท้า ของเล่น อุปกรณ์กีฬา เสื่อทาทามิ และโฟม โดยมีหลายเกรดตามลำดับ ส่วนผสมชีวภาพอยู่ระหว่าง 45 – 80 เปอร์เซ็นต์ ตามมาตรฐาน ASTM D6866

เป็นพลาสติกอเนกประสงค์แบบ ‘Drop-In’ (พลาสติกชีวภาพสามารถทดแทนพลาสติกฟอสซิลได้ 1:1 โดยมีคุณสมบัติเหมือนพลาสติกฟอสซิลทุกประการ) ลูกค้าสามารถใช้เครื่องมือเดียวกันกับพลาสติกฟอสซิล และสามารถผ่านเข้าสู่วงจรรีไซเคิลหรือนำกลับมาใช้ซ้ำได้โดนม่ต้องลงทนุเพิ่มเติม

Thos
"Judge a man by his questions rather than his answers"
Voltaire
READ MORE
×