Wednesday, April 24Modern Manufacturing
×

จับตา 5 เทคโนโลยีเครื่องจักรอัจฉริยะจากไต้หวันเพื่อการเผชิญหน้าปัญหาซัพพลายเชนปี 2022

การผลิตในยุคปัจจุบันต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอกมากมาย ทั้งการผันผวนของเศรษฐกิจปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ปัญหาด้านทักษะ การเปลี่ยนแปลงของตลาดอันรวดเร็ว ไปจนถึงปัญหาด้านสภาพแวดล้อมที่ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 

จับตา 5 เทคโนโลยีเครื่องจักรอัจฉริยะจากไต้หวันเพื่อการเผชิญหน้าปัญหาซัพพลายเชนปี 2022

การใช้เทคโนโลยีการผลิตอัจฉริยะไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ จึงเป็นทางเลือกที่สร้างความมั่นคงและความมั่นใจได้เป็นอย่างดี ด้วยศักยภาพความแม่นยำที่ทำให้สามารถวางแผนบริหารจัดการได้อย่างสมบูรณ์แบบและความสามารถในการติดตามข้อมูลย้อนหลัง ซึ่งเทคโนโลยีอัจฉริยะสำหรับการผลิตจากไต้หวันถือเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมกับเงื่อนไขของสถานการณ์การแข่งขันที่มีความท้าทายสูงในปัจจุบัน

จับตา 5 เทคโนโลยีเครื่องจักรอัจฉริยะจากไต้หวันเพื่อการเผชิญหน้าปัญหาซัพพลายเชนปี 2022

ต้องยอมรับว่าการทำธุรกิจการผลิตในปัจจุบันนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย และความท้าทายที่มีในแต่ละปีก็ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากมองย้อนหลังไปแค่เพียง 5 ปีก่อน ความนิยมของเทคโนโลยีอัตโนมัติหรือเทคโนโลยีกลุ่มอุตสาหกรรม 4.0 นั้นเป็นพลวัตรสำคัญในการผลักดันการแข่งขัน ด้วยการเข้ามาเติมเต็มปัญหาด้านสังคมผู้สูงอายุ และการขาดแคลนทักษะแรงงาน ตลอดจนการปกป้องแรงงานจากงานที่มีความเสี่ยงต่อมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานซ้ำ ๆ อย่างต่อเนื่องหรือการทำงานที่เกินความสามารถของมนุษย์ เช่น การผลิตแผ่นเวเฟอร์สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความละเอียดสูงระดับไมครอน หรือนาโนเมตร และในปี 2022 นี้เองที่ความท้าทายด้านซัพพลายเชนและทรัพยากรทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างเหลือเชื่อ

ปัญหาซัพพลายเชนโดมิโน่ ผลกระทบที่สะเทือนทั่วโลกในปี 2022

เมื่อต้นปี 2022 หรือช่วงปลายปี 2021 ที่ผ่านมา ผู้คนต่างตั้งตารอคอยความหวังจากการฟื้นตัวภายหลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้ซัพพลายเชนทั่วโลกต่างหยุดชะงักกันเป็นโดมิโน่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในส่วนของชิปต่าง ๆ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วสถานการณ์โลกถือว่าอยู่ในช่วงที่กำลังฟื้นฟูกลับมาสู่สภาวะก่อนการเกิดโรคระบาดการขาดแคลนอุปกรณ์ต่าง ๆ ก็เริ่มกลับมาเข้าที่เข้าทาง 

ในขณะที่เศรษฐกิจโลกกำลังกลับมาฟื้นตัว ผลกระทบจากสงครามยูเครน-รัสเซียที่เกิดขึ้นพร้อมกับการระบาดระลอกใหม่ที่จีนกลับกลายเป็นการตอกย้ำปัญหาเดิมที่มีอยู่ให้บาดลึกลงไปยิ่งกว่าที่เคย ซึ่งรัสเซียเองในฐานะผู้ส่งออกก๊าซธรรมชาติรายใหญ่ โลหะ และน้ำมันดิบ ในขณะที่ยูเครนเองก็เป็นประเทศส่งออกธัญพืชต่าง ๆ จำนวนมาก โดยเฉพาะการส่งออกให้เป็นอาหารสัตว์ ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากทั้งสงครามและการกลับมาระบาดซ้ำของประเทศจีนเรียกได้ว่าเป็นการดับลมหายใจสุดท้ายของธุรกิจจำนวนไม่น้อยที่พยายามยื้อยุดฉุดกระชากมาตั้งแต่ต้นปี 2020 ที่ COVID-19 ระบาดในวงกว้าง ความล่าช้าที่เกิดขึ้นจากทั้งทรัพยากรต้นน้ำการขนส่งโลจิสติกส์ต่าง ๆ ที่ลำบากยิ่งขึ้น ไปจนถึงศักยภาพในการผลิตที่ลดลงจากการแพร่ระบาดส่งผลให้การผลิตจำนวนมากมีความคุ้มค่าน้อยลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจที่ขาดความยืดหยุ่นในการปรับตัวตามสถานการณ์ ไม่ว่าจะเป็นการกระจายความเสี่ยง การจัดหาทรัพยากรในท้องถิ่นสำหรับการผลิต และหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญอย่างการทำ Digital Transformation เพื่อให้ธุรกิจเกิดความคล่องตัวได้ในหลากหลายมิติ ทั้งด้านความคุ้มค่าในการลงทุน การดำเนินธุรกิจระยะยาว และการปรับเปลี่ยนตามความท้าทายในระยะสั้น

‘เทคโนโลยี’ ทางรอดที่ใครก็รู้ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะ ‘สู้ราคา’ ไหว

ปัญหาสำคัญของการใช้แรงงานที่พบเจอได้บ่อย คือ ความไม่สม่ำเสมอ ไม่ว่าจะจากการเจ็บป่วย ความไม่พร้อมทางด้านจิตใจการขาดแคลนทักษะ ไปจนถึงการย้ายงานที่เกิดขึ้นกันง่าย ๆ การลงทุนในเทคโนโลยีต่าง ๆ โดยเฉพาะระบบอัตโนมัติและเทคโนโลยีอัจฉริยะจะเป็นเงื่อนไขสำคัญในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น

เทคโนโลยีต่าง ๆ นั้นมีจุดเด่นอยู่ที่ความสามารถในการทำงานที่สม่ำเสมอและปรับตั้งค่าได้อย่างละเอียดหลากหลายตามความต้องการ ในหลายกรณีก็สามารถพูดได้เต็มปากว่าใช้เพื่อทดแทนแรงงานได้อย่างดีเยี่ยม เพราะไม่ต้องกังวลกับการติดเชื้อโรค ไม่ต้องห่วงเรื่องทักษะในการทำงาน ไม่ต้องพะวงว่าจะไม่เข้างาน ข้อมูลทุกอย่างจะถูกบันทึกและตรวจสอบย้อนหลังได้ หากเกิดการเปลี่ยนแปลงในขั้นตอนต่าง ๆ ก็สามารถปรับเลย์เอาต์หรือปรับแต่งกระบวนการให้สอดรับกับความท้าทายที่เกิดขึ้นใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อผู้บริหารจัดการมองเห็นกิจกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นจะทำให้สามารถประเมินและวางแผนการผลิตและการซ่อมบำรุงล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ ความสามารถในธุรกิจจึงถูกยกระดับขึ้นมาอย่างเป็นรูปธรรม

แม้ว่าเทคโนโลยีต่าง ๆ จะสามารถวัดผลหรือตรวจสอบแนวโน้มความคุ้มค่าในการลงทุนได้อย่างชัดเจน แต่ในปัจจุบันผู้ประกอบการส่วนใหญ่ก็ยังไม่สามารถลงทุนกับเทคโนโลยีเหล่านี้ได้ ซึ่งปัจจัยสำคัญแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ‘ราคา’ และ ‘ความพร้อมขององค์กร’ 

ในส่วนของ ‘ราคา’ นั้นความเข้าใจโดยมากของผู้คนมักจะมองไปยังระบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบที่มีราคาสูงมาก ซึ่งอันที่จริงแล้วสามารถเริ่มลงทุนบางส่วนและทำการลงทุนเพิ่มในภายหลังได้ เช่น การลงทุนด้านระบบเครือข่ายดิจิทัลก่อน เป็นต้น แต่ต้นทุนของเทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างเทคโนโลยีอัจฉริยะเองไม่ใช่ว่าเมื่อลงทุนตัวเงินสำหรับเครื่องไม้เครื่องมือแล้วจบ ยังต้องมีการบูรณาการการดูแลระบบ การซ่อมบำรุง หรือการเพิ่มเติมในส่วนของ Ecosystem ที่จำเป็นในการใช้งานเทคโนโลยี เช่น การใช้หุ่นยนต์ในการผลิตก็จะต้องมีระบบเครือข่ายพื้นฐานโรงงานที่มีประสิทธิภาพ ต้องมีระบบควบคุม ระบบความปลอดภัย และอุปกรณ์เสริมที่เกี่ยวข้องอย่าง End of Arm Tool รวมไปถึงต้นทุนด้านพลังงานและอะไหล่สิ้นเปลืองต่าง ๆ ดังนั้นต้นทุนในการใช้งานจึงไม่ได้มีแค่ราคาการเป็นเจ้าของ แต่ยังมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ตามมาอีกด้วย

ในด้าน ‘ความพร้อมขององค์กร’ ความรู้ความสามารถหรือความคุ้นเคยในด้านเทคโนโลยีนั้น ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดขึ้นในกลุ่มคนที่มีการศึกษาในระดับหนึ่งเนื่องจากความคุ้นเคยดังกล่าวเกี่ยวข้องกับต้นทุนชีวิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การที่คาดหวังว่าแรงงานทั้งหมดในโรงงานจะสามารถใช้งานเทคโนโลยีพื้นฐานได้นั้นอาจเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างมาก ในขณะเดียวกันการใช้งานเทคโนโลยีในการผลิตระดับสูงเรียกได้ว่าต้องมีทักษะด้านเทคโนโลยีในระดับที่ไม่ธรรมดา หรือต้องมีความสามารถในการเรียนรู้ที่รวดเร็ว และสามารถพลิกแพลงได้ จึงจะง่ายต่อการเรียนรู้การใช้งานเทคโนโลยีใหม่ที่มีรายละเอียดอันซับซ้อน การเตรียมความพร้อมของแรงงานหรือผู้ปฏิบัติการณ์ จึงจำเป็นที่จะต้องมีการฝึกอบรมเพื่อให้เกิดความรู้ความ เข้าใจและมีทักษะที่เหมาะสมต่อการแข่งขันที่อยู่บนพื้นฐานของเทคโนโลยีสมัยใหม่

เมื่อถึงเวลาต้องตัดสินใจสำหรับการลงทุน เทคโนโลยีจากยุโรปหรือสหรัฐอเมริกามักจะเป็นเทคโนโลยีระดับพรีเมียมที่มาพร้อมกับฟังก์ชันการอำนวยความสะดวกในการใช้งานที่หลากหลาย รวมไปถึงมาตรฐานในการใช้งานที่รับประกันทั้งความปลอดภัยและประสิทธิภาพที่จะเกิดขึ้นแต่ก็ต้องแลกมาด้วยราคาที่สูงอย่างชัดเจน ในขณะที่เทคโนโลยีจากญี่ปุ่นถือเป็นเทคโนโลยีระดับบนที่มีคุณภาพสูงรองลงมาจากกลุ่มยุโรปและสหรัฐอเมริกา มีราคาที่เข้าถึงได้มากกว่า ทั้งยังมีบริการที่สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็วมาพร้อมกับมาตรฐานและความปลอดภัยในระดับสากลที่ไว้วางใจได้ แต่สำหรับหลายธุรกิจก็อาจมองว่าเทคโนโลยีจากญี่ปุ่นนั้นมีราคาที่ต้องชั่งใจอยู่มากเพราะก็ยังถือว่ามีราคาที่ค่อนข้างสูง หากมองหาตัวเลือกราคาถูกอย่างเทคโนโลยีจากประเทศจีนจะพบว่ามีตัวเลือกที่หลากหลายและครอบคลุม แต่มักจะพบว่ามีปัญหาเรื่องมาตรฐานในการใช้งานและการบริการหลังการขาย เนื่องจากหลายครั้งไม่ได้มีตัวแทนที่มีความเชี่ยวชาญในประเทศ และการใช้งานอาจจะเป็นเรื่องที่สร้างความมั่นใจได้ยาก การประเมินความเหมาะสมในการใช้งานจึงทำได้ยากและหลายครั้งกลายเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้กับธุรกิจมากกว่าเพิ่มศักยภาพ ในการแข่งขัน

ผู้ประกอบการที่กำลังมองหาเทคโนโลยีการผลิตอัจฉริยะที่ต้องการทั้งคุณภาพและราคาที่เข้าถึงได้บนพื้นฐานของความ คุ้มค่าจึงนิยมใช้งานเทคโนโลยีจากไต้หวันซึ่งมีราคาที่เข้าถึงได้และมีมาตรฐานการใช้งานรองรับ นอกจากนี้ไต้หวันเองยังขึ้นชื่อเรื่องเทคโนโลยีอัจฉริยะ คอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกได้ว่าเป็นเบอร์ต้น ๆ ของโลกอีกด้วย

5 เทคโนโลยีอัจฉริยะจากไต้หวันเพื่อการแข่งขันในความท้าทายยุคปัจจุบัน

ไต้หวันนั้นเป็นพื้นที่ที่มีความใกล้ชิดกับประเทศไทยอย่างมาก โดยประเทศไทยนั้นมีการนำเข้าสินค้าจากไต้หวันมากเป็นลำดับที่ 10 สำหรับคู่ค้าทางธุรกิจ และในส่วนของเทคโนโลยีอัตโนมัติและการผลิตเองในปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการนำเข้าสินค้ากลุ่มนี้จากไต้หวันมากเป็นอันดับที่ 2 แสดงให้เห็นถึงความไว้วางใจในการใช้งานผลิตภัณฑ์การผลิตยุคใหม่จากไต้หวันอย่างชัดเจนซึ่งหนึ่งในความสำเร็จที่เกิดขึ้นนั้นเป็นผลจากการเติบโตด้านอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องของไต้หวันและการผลักดันของ TAITRA ในการนำเสนอความโดดเด่นเหล่านี้สู่สายตาประชาคมโลก

สภาส่งเสริมการค้าและการส่งออกแห่งไต้หวัน หรือ TAITRA ได้เผยแพร่เทคโนโลยีและความสำเร็จต่าง ๆ ผ่านรูปแบบอันหลากหลาย โดยหนึ่งในกิจกรรมที่เกิดขึ้นทุกปี คือ งานมอบรางวัลผลิตภัณฑ์ที่มีความโดดเด่นประจำปีภายใต้ชื่อ Taiwan Excellence Award ซึ่ง 5 บริษัทที่ได้รับรางวัล ล้วนเป็นบริษัทที่มีเทคโนโลยีอันล้ำสมัย น่าสนใจและเรียกได้ว่าเป็นบริษัทที่ผู้ผลิตหลายคนคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ได้แก่

จับตา 5 เทคโนโลยีเครื่องจักรอัจฉริยะจากไต้หวันเพื่อการเผชิญหน้าปัญหาซัพพลายเชนปี 2022

SOLOMON ผู้นำด้านกล้อง 3 มิติอัจฉริยะที่มาพร้อมกับ AI

การใช้งานกล้อง 3 มิติควบคู่กับระบบอัตโนมัติจะนำมาซึ่งความยืดหยุ่นในการใช้งานในระดับสูง ซึ่งหลายครั้งผู้คนมักจะคิดว่าเป็นเรื่องยากในการใช้งานและอาจเป็นเรื่องที่มีมูลค่าสูง ด้วยโซลูชันกล้อง 3 มิติ จาก SOLOMON อย่าง AccuPick 3D การหยิบชิ้นงานจึงเป็นเรื่องง่าย ด้วย AI ที่สามารถเรียนรู้ได้รวดเร็วและรองรับชิ้นงานที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นชิ้นงานที่อ่อนนุ่ม เปลี่ยนรูปทรงได้ โปร่งแสง ลักษณะมีความซับซ้อนต่าง ๆ สามารถใช้งานได้กับหุ่นยนต์แบรนด์ชั้นนำระดับสากล โดยคุณสมพงศ์ เลิศผลไพโรจน์ กรรมการผู้จัดการบริษัท SP Vision Technology ตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการในประเทศไทยได้เล่าถึง SOLOMON เอาไว้ ดังนี้

“การใช้งานกล้อง 3 มิติที่มาพร้อมกับ AI อย่างกล้องของ SOLOMON เอง การสอนหรือการเทรนระบบนั้นเป็นเรื่องง่าย ใช้ข้อมูลภาพเบื้องต้นเพียง 40-50 ภาพเท่านั้น ใช้เวลาฝึกระบบไม่นาน การใช้งานกล้อง SOLOMON เหมาะกับ Bin Picking หรืองาน Part Feeding เข้าเครื่องจักร ซึ่งปรกติแล้วจะต้องหยิบชิ้นงานที่มีลักษณะใกล้เคียงกันหรือเหมือนกัน ไม่อย่างนั้นต้องมาตั้งค่าใหม่ทุกครั้ง เช่น ถ้ามี 3 ผลิตภัณฑ์ เวลาที่ต้องใช้ในการเปลี่ยนงานและตั้งค่าก็จะเกิด Downtime อันสูญเปล่า ทั้งยังอาจต้องใช้แรงงานในกระบวนการที่เกี่ยวข้องในทุกครั้งที่เกิดการเปลี่ยนแปลง ในขณะที่การใช้งานกล้อง SOLOMON หรือการฝึกระบบเป็นเรื่องง่าย แค่มีพื้นฐานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ไม่จำเป็นต้องเป็นวิศวกร การฝึกระบบทำเพียงครั้งเดียวเมื่อตอนป้อนข้อมูลชิ้นงานใหม่ เท่านี้เวลา Downtime ที่เคยสูญเปล่าจะหมดไป เปลี่ยนการทำงานให้เป็นเรื่องง่าย รวดเร็ว และแม่นยำ แม้ว่าชิ้นงานจะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงก็ตาม”

จับตา 5 เทคโนโลยีเครื่องจักรอัจฉริยะจากไต้หวันเพื่อการเผชิญหน้าปัญหาซัพพลายเชนปี 2022

TECHMAN ROBOT หุ่นยนต์ Cobot สุดคุ้มค่า

การใช้งานหุ่นยนต์อุตสาหกรรมนั้นอาจต้องมาพร้อมกับค่าใช้จ่ายแฝงอีกมากมาย แต่หุ่นยนต์ Cobot จาก TECHMAN ROBOT นั้นมาพร้อมกับความคุ้มค่าที่เหนือชั้นด้วยระบบกล้องที่มาพร้อมกับหุ่นยนต์ การเรียนรู้ การตั้งค่า และการใช้งานจึงเป็นเรื่องง่าย เมื่อพิจารณาความคุ้มค่าในภาพรวมแล้ว ทั้งประสิทธิภาพ ความสะดวกในการใช้งาน และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นต้องถือว่า TECHMAN ROBOT เป็นหนึ่งใน Cobot ที่น่าจับตาที่สุดของยุค โดย Ms. Francine Chu ผู้จัดการฝ่ายขายประจำภูมิภาคของ TECHMAN ROBOT ได้เล่าถึงประเด็นนี้เอาไว้ได้อย่างน่าสนใจ 

“หุ่นยนต์ Cobot นั้นมีความเหมาะสมในการใช้งานหลากหลายสถานการณ์ ยกตัวอย่างเช่น หากคุณมีโรงงานเก่าที่ต้องการอัปเกรดสายการผลิต การติดตั้งหุ่นยนต์อุตสาหกรรมทั่วไปจำเป็นต้องมีรั้ว ระบบความปลอดภัยและโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการใช้งานจำนวนมาก ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องใหญ่สำหรับโรงงานที่อาคารมีอายุยาวนาน ในขณะที่ Cobot ไม่ต้องการอุปกรณ์ด้านความปลอดภัย ทั้งยังสามารถปรับเปลี่ยนเลย์เอาต์หรือตำแหน่งได้อย่างสะดวกรวดเร็วอีกด้วย การใช้งานจะเกิดความยืดหยุ่นในระดับสูง สำหรับ Cobot จาก TECHMAN ROBOT ที่มาพร้อมกับระบบกล้องทำให้มีความสะดวกสบายในการใช้งาน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการทำงานของหุ่นยนต์อย่าง Cobot จะต้องมาพร้อมกับเซนเซอร์หรือระบบกล้องเพื่อระบุตำแหน่ง ซึ่งจะต้องมีต้นทุนทั้งหุ่นยนต์ ตัวกล้อง และการบูรณาการระบบ ในขณะที่ TM Robot นั้นติดตั้งระบบกล้องพร้อมใช้ จึงไม่ต้องกังวลเรื่องการบูรณาการระบบ ทั้งยังใช้งานได้สะดวกแบบ Plug and Play โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐานทางวิศวกรรมมาก่อนต้นทุนรวมที่เกิดขึ้นจึงมีมูลค่าต่ำกว่าในการใช้งานจริง ๆ ทั้งยังมีความคุ้มค่ามากกว่า ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนครั้งแรกหรือการต่อยอดที่จะเกิดขึ้นในอนาคต”

จับตา 5 เทคโนโลยีเครื่องจักรอัจฉริยะจากไต้หวันเพื่อการเผชิญหน้าปัญหาซัพพลายเชนปี 2022

TOYO Robot บอลสกรูพรีเมียมมาตรฐานญี่ปุ่น

เทคโนโลยี Actuator ไฟฟ้าเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนของระบบอัตโนมัติต่าง ๆ โดยเฉพาะหุ่นยนต์ ยิ่งอายุการใช้งานที่ยืนยาว ยิ่งมีความคุ้มค่ามากขึ้น ซึ่งผลิตภัณฑ์กลุ่มบอลสกรูจาก TOYO นั้นเรียกได้ว่ามีอายุการใช้งานได้สูงสุดถึง 10 ปี โดยยังคงรักษาคุณภาพในการใช้งานเอาไว้ได้เป็นอย่างดี โดย Mr. Stefan Yand ผู้จัดการฝ่ายขาย TOYO Robot ประเทศไทย ได้เล่าถึงจุดเด่นของอุปกรณ์จากบริษัทฯ เอาไว้ ดังนี้

“สิ่งสำคัญในการเลือกใช้งานบอลสกรูก็คือ ขนาดและคุณสมบัติการใช้งานที่ต้องการ TOYO ของเราเดิมที่รับทำ OEM จากญี่ปุ่นอยู่แล้ว เราจึงมีมาตรฐานในระดับเดียวกับญี่ปุ่น แต่มีราคาในแบบไต้หวัน ยกตัวอย่างโรงงานระดับโลกที่ใช้ TOYO เช่น โรงงาน Apple ในประเทศจีน เป็นต้น หรือ Tesla ซึ่งต้องใช้ในการประกอบแบตเตอรี่ ซึ่งจุดเด่นในการใช้งานบอลสกรูจาก TOYO นั้นนอกจากอายุการใช้งานที่ยาวนานและความแม่นยำแล้ว ต้องบอกว่าโครงสร้างและอุปกรณ์นั้นถูกออกแบบมาให้เป็น Maintenance Free จึงไม่ต้องกังวลเรื่องซ่อมบำรุงหรือการเสื่อมสภาพแล้วทำให้ทำงานผิดพลาด ผู้ใช้งานอุปกรณ์ของเราจึงเกิดความคุ้มค่าในการใช้งานระดับสูง รวมถึงเกิดความต่อเนื่องในการทำงานไม่ต้องกังวลกับ Downtime จากการทำงานที่ผิดพลาดของอุปกรณ์อีกด้วย”

จับตา 5 เทคโนโลยีเครื่องจักรอัจฉริยะจากไต้หวันเพื่อการเผชิญหน้าปัญหาซัพพลายเชนปี 2022

TBI Motion Technology ผู้เชี่ยวชาญด้าน Linear Guide ที่มากประสบการณ์

TBI Motion Technology เป็นผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับ Linear Guide, บอลสกรู และ Actuator ที่มีประสบการณ์มากกว่า 30 ปี จึงมีความเข้าใจในบริบทและความต้องการที่เกิดขึ้นเป็นอย่างดี โดยเฉพาะรูปแบบลักษณะการทำงานของประเทศไทยที่ต้องการการตอบสนองที่มีความยืดหยุ่นสูง ในขณะเดียวกันเรื่องประสิทธิภาพที่ต้องการอาจเรียกได้ว่าอยู่ในระดับ ‘ถูกและดี’ ซึ่งผลิตภัณฑ์จากไต้หวันอย่าง TBI Motion Technology สามารถตอบสนองความต้องการเหล่านี้ได้ในเรื่องของความคุ้มค่า โดย Mr. Kelvin Chu ผู้จัดการทั่วไปบริษัท LV Automation ตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการได้เล่าถึงคุณภาพและบริการของ TBI Motion Technology เอาไว้ ดังนี้

“ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันสินค้าในกลุ่มใกล้เคียงกันมักจะเกิดปัญหาสต็อกสินค้าไม่พอหลายครั้งเมื่อมีคำสั่งซื้อเข้ามาทำให้ต้องเลือกลูกค้าจากประเทศตัวเองเอาไว้ก่อนและปล่อยทิ้งลูกค้าคนไทย ผู้ผลิตที่ต้องสร้างเครื่องจักรหรือต้องการอะไหล่ทดแทนจึงเกิดปัญหาในการใช้ชิ้นส่วนที่มีคุณภาพ ในขณะที่ผลิตภัณฑ์จากไต้หวันอย่าง TBI Motion Technology ถือเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนกลุ่ม Linear Guide ที่มีทั้งมาตรฐานและความเชี่ยวชาญในระดับสูง เรียกว่าสามารถใช้ทดแทนกับสินค้าจากประเทศญี่ปุ่นได้อย่างสบายด้วยศักยภาพในระดับที่เทียบเคียงกันได้ แต่มีราคาที่เข้าถึงได้มากกว่า และยังมีสต็อกสินค้าในเมืองไทย สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้ผลิตชาวไทยได้อย่างทันท่วงทีแม้จะมีความต้องการใช้งานที่กระชั้นชิดเกิดขึ้นก็ตาม การบริการจึงมีความยืดยืดหยุ่นสูงเข้ากับลักษณะนิสัยการทำงานของคนไทยได้เป็นอย่างดี”

จับตา 5 เทคโนโลยีเครื่องจักรอัจฉริยะจากไต้หวันเพื่อการเผชิญหน้าปัญหาซัพพลายเชนปี 2022

PLANET Technology Corporation โซลูชันด้าน IoT และโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการเชื่อมต่อแห่งยุค 4.0

ภายใต้ร่มของเทคโนโลยีการผลิตยุคใหม่ทั้งหมด ระบบโครงสร้างพื้นฐานทางเครือข่ายเป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้ เพราะเทคโนโลยีเหล่านี้เป็นหัวใจหลักในการส่งข้อมูลและเชื่อมต่อเทคโนโลยีอื่น ๆ เข้าด้วยกัน PLANET Technology Corporation ที่มีความเข้าใจในเงื่อนไขและความต้องการของผู้ผลิตเป็นอย่างดีจึงได้พัฒนาอุปกรณ์ด้านโครงสร้างพื้นฐานสำหรับยุค 4.0 ขึ้นมา โดยให้ความสำคัญกับความเสถียร ความปลอดภัย และทางเลือกในการเชื่อมต่อที่หลากหลาย เช่น สามารถเลือกเชื่อมต่อ WiFi และ 5G ได้ในอุปกรณ์ตัวเดียวกันสำหรับกิจกรรมการผลิตอุตสาหกรรมเพื่อขจัดปัญหาการสื่อสารที่อาจเกิดขึ้นเมื่อช่องทางใดช่องทางหนึ่งเกิดปัญหา โดยคุณพรศักดิ์ พุทธราช กรรมการผู้จัดการบริษัท Indigo Distribution ตัวแทนจำหน่ายของ PLANET Technology Corporation ได้ให้ความสำคัญไว้ในประเด็นของการเชื่อมต่อ ดังนี้

“ในการเลือกใช้อุปกรณ์พื้นฐานสำหรับเครือข่ายนั้น โรงงานเองต้องมีความเข้าใจในข้อมูลที่เกิดขึ้นและความต้องการใช้งานของตัวเองที่ชัดเจนเสียก่อน เพื่อให้เกิดการเลือกใช้งาน Gateway หรืออุปกรณ์เครือข่ายอื่น ๆ ได้อย่างเหมาะสม เช่น การใช้งานอุปกรณ์ที่ต้องส่งข้อมูลขนาดใหญ่อย่างต่อเนื่องแต่มีจำนวนการเชื่อมต่อน้อยก็อาจจะต้องการอุปกรณ์ที่มีความรวดเร็วในการส่งข้อมูลสูง ในขณะที่อุปกรณ์สำหรับ IoT อาจจะไม่ได้ต้องการความเร็วสูงเท่ากับกรณีก่อนหน้าแต่ต้องรองรับการเชื่อมต่อจากอุปกรณ์จำนวนมาก หรืออย่างในกรณี LoRA AIoT ที่สัญญาณครอบคลุมพื้นที่วงกว้างแต่อาจไม่เหมาะสมกับการส่งข้อมูลขนาดใหญ่ที่ต้องการความรวดเร็วและความละเอียดสูงสักเท่าไร ภายใต้ทุกเงื่อนไขที่มีของภาคอุตสาหกรรม PLANET สามารถเติมเต็มความต้องการเหล่านี้ได้อย่างครบถ้วน พร้อมให้คำปรึกษาและวางรากฐานระบบด้วยคุณภาพและมาตรฐานระดับสากลในราคาที่เข้าถึงได้”

นึกถึงเทคโนโลยีอัจฉริยะสำหรับการผลิตสุดคุ้มค่า นึกถึง ‘ไต้หวัน’

ภายใต้เงื่อนไขทางเศรษฐกิจและการแข่งขันยุคปัจจุบัน การลงทุนระบบการผลิตอัจฉริยะหรือโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ซึ่งในตลาดก็มีเทคโนโลยีให้เลือกใช้ได้อย่างหลากหลาย แต่หากคำนึงถึงความคุ้มค่าและประสิทธิภาพระดับมาตรฐานสากล ผลิตภัณฑ์จากไต้หวันถือว่าเป็นเบอร์ต้น ๆ ที่ตัวจริงในธุรกิจการผลิตนึกถึง

ด้วยความคุ้นเคยกับการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์คุณภาพสูงอย่างยาวนาน ผู้ผลิตจากไต้หวันจึงเข้าใจถึง Ecosystem ที่จำเป็นต่อการใช้งานเทคโนโลยีอัจฉริยะ ผลิตภัณฑ์สำหรับการผลิตจากไต้หวันจึงสามารถหาซื้อได้ตั้งแต่น็อตขนาดเล็กไปถึงเครื่องจักรขนาดใหญ่ เรียกได้ว่าครบถ้วนทุกภาคส่วนของการผลิต นอกจากนี้ด้วยตำแหน่งที่ตั้งของไต้หวันยังเป็นผลดีต่อการส่งมอบสินค้าที่ว่องไวแม้จะอยู่ภายใต้สถานการณ์โลกปัจจุบันที่โลจิสติกส์เกิดความแปรปรวนสูงก็ตาม ทำให้การเลือกใช้เทคโนโลยีการผลิตจากไต้หวันสามารถเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว คุ้มค่า และมีประสิทธิภาพสูง

ผู้ที่สนใจเทคโนโลยีอัจฉริยะสำหรับการผลิตที่ได้รับรางวัล Taiwan Excellence Award สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ตัวแทนจำหน่ายและบริษัทสาขาที่อยู๋ในประเทศไทยได้โดยตรง หรือติดต่อผ่านทาง TAITRA ได้ตามช่องทาง ดังนี้

ช่องทางการติดต่อ:
สภาส่งเสริมการค้าและการส่งออกแห่งไต้หวัน (TAITRA) 
โทรศัพท์: 026514470
Email: bangkok@taitra.org.tw 

Thos
"Judge a man by his questions rather than his answers"
Voltaire
READ MORE
×