Saturday, April 27Modern Manufacturing
×

สศอ. ลดเป้า MPI – GDP ภาคอุตฯเหลือ 0–1%

สศอ.ปรับประมาณการณ์ตัวเลขการเติบโต MPI และ GDP ภาคอุตสาหกรรมปี 2562 จากร้อยละ 2-3 เหลือร้อยละ 0.0 – 1.0 หวัง 3 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ วงเงินกว่า 300,000 ล้านบาท ดันเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือขยายตัวเพิ่มขึ้น

สศอ. ลดเป้า MPI – GDP ภาคอุตฯเหลือ 0–1%

นายอิทธิชัย ยศศรี รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)

นายอิทธิชัย ยศศรี รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนกรกฎาคม 2562 อยู่ที่ 100.07 หดลงตัวร้อยละ 3.23 เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลลบต่อดัชนี MPI เดือนกรกฎาคม 2562 ได้แก่ รถยนต์และเครื่องยนต์ น้ำมันปิโตรเลียม เหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน ผลิตภัณฑ์ยาง และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

สศอ. ลดเป้า MPI – GDP ภาคอุตฯเหลือ 0–1%

สาเหตุหลักมาจากผลกระทบจากเศรษฐกิจและการค้าโลกที่ชะลอตัวต่อเนื่องส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและคำสั่งซื้อจากตลาดต่างประเทศชะลอตัวลง ยกเว้นน้ำมันปิโตรเลียมที่มีการซ่อมบำรุงโรงกลั่น

สศอ. ลดเป้า MPI – GDP ภาคอุตฯเหลือ 0–1%

ส่งผลทำให้ สศอ.ต้องปรับประมาณการณ์ตัวเลข MPI และผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคอุตสาหกรรม หรือ จีดีพี ภาคอุตสาหกรรมปี 2562 ลงเหลือ 0.0-1.0% จากเดิมคาดการณ์ทั้ง MPI และจีดีพีภาคอุตสาหกรรมปี 2562 ไว้ว่าจะเติบโต 2-3% จากนั้นได้ปรับลดลงเหลือ 1.5-2.5% และการปรับลดครั้งนี้เพราะปัจจัยความเสี่ยงยังคงมีต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตามเชื่อว่า 3 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2562 วงเงิน 316,813 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.มาตรการบรรเทาค่าครองชีพผ่านสวัสดิการแห่งรัฐและกองทุนหมู่บ้าน 2.มาตรการเพื่อบรรเทาค่าครองชีพสำหรับเกษตรกรผู้ประสบภัยแล้งปี 2562 และเกษตรกรรายย่อย และ3.มาตรการเพื่อกระตุ้นการบริโภคและการลงทุนในประเทศซึ่งได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือน ส.ค.นี้จะช่วยให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น และส่งผลให้เศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี 2562 และปี2563 ขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น

สศอ. ลดเป้า MPI – GDP ภาคอุตฯเหลือ 0–1%

ขณะที่อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลบวกต่อ MPI ได้แก่ การกลั่นและการผสมสุรา เครื่องปรับอากาศและชิ้นส่วน น้ำมันปาล์ม เฟอร์นิเจอร์ และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์

Kanokkarn .T
READ MORE
×