Friday, April 26Modern Manufacturing
×

Mitsubishi Electric ผนึกภาครัฐ ทุ่มกว่า 50 ล้าน พัฒนากำลังคนและถ่ายทอดเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบออโตเมชั่นผ่านเครือข่าย EEC Automation Park

Mitsubishi Electric ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) และมหาวิทยาลัยบูรพา แถลงความคืบหน้าความร่วมมือพัฒนากำลังคนและถ่ายทอดเทคโนโลยีอุตสาหกรรม 4.0 ผ่านเครือข่าย ‘EEC Automation Park’ ศูนย์การเรียนรู้และพัฒนาบุคลากรด้านหุ่นยนต์และระบบออโตเมชั่น ซึ่งตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี  นำความเชี่ยวชาญและความพร้อมด้าน Factory Automation ติดตั้งโมเดลไลน์ e-F@ctory พร้อมจัดอบรมส่งมอบความรู้สู่ภาคแรงงาน เพื่อช่วยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประเทศไทยตามนโยบาย Thailand 4.0

Mitsubishi Electric ผนึกภาครัฐ ทุ่มกว่า 50 ล้าน พัฒนากำลังคนและถ่ายทอดเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบออโตเมชั่นผ่านเครือข่าย EEC Automation Park

นายวิเชียร งามสุขเกษมศรี กรรมการบริหาร บริษัท มิตซูบิชิอีเล็คทริค แฟคทอรี่ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด เผย  นับจากจุดตั้งต้นในวันที่ 22 มีนาคมพ.. 2562 ที่ได้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างบริษัทมิตซูบิชิอีเล็คทริคแฟคทอรี่ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัดโดยความเห็นชอบจากบริษัท Mitsubishi Electric Corporation ประเทศญี่ปุ่นและมหาวิทยาลัยบูรพาในการเข้ามาสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ด้านเทคโนโลยีการผลิตโดยใช้หุ่นยนต์และระบบออโตเมชั่นผ่านเครือข่าย ‘EEC Automation Park เพื่อให้พร้อมรองรับการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประเทศไทยเพราะเรามีความเห็นตรงกันว่าพื้นที่อาเซียนคือฐานการผลิตและเป็นแหล่งสร้างรายได้ที่สำคัญของประเทศซึ่งปัจจุบันหลายๆพื้นที่ในอาเซียนมีการปฏิรูปอุตสาหกรรมดังนั้นเพื่อความอยู่รอดของอุตสาหกรรมไทยอีกทั้งยังเป็นการยกระดับการผลิตให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาประเทศตามนโยบาย Thailand 4.0  มิตซูบิชิอีเล็คทริคในฐานะผู้เชี่ยวชาญทางด้าน Factory Automation  มีความพร้อมทางด้านอุปกรณ์ความรู้และยังได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานพันธมิตร 

Mitsubishi Electric ผนึกภาครัฐ ทุ่มกว่า 50 ล้าน พัฒนากำลังคนและถ่ายทอดเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบออโตเมชั่นผ่านเครือข่าย EEC Automation Park

โครงการนี้จึงริเริ่มขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องทั้งทางด้าน Upskills และ Reskills  โดยดำเนินการจัดการสัมมนา (Training Network) เพื่อถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีด้านออโตเมชันและหุ่นยนต์เนื่องจากในปัจจุบันประเทศไทยยังขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะด้านนี้อยู่เป็นจำนวนมากพร้อมทั้งได้มอบชุดสาธิตระบบอัตโนมัติการผลิตเพื่อนำมาติดตั้งเป็นโมเดลไลน์โรงงานอัจฉริยะภายใต้คอนเซ็ปต์ e-F@ctory ที่มีเทคโนโลยีอุตสาหกรรมขั้นสูงในระดับการจัดการตามแนวทางปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งเป็นชุดจำลองแต่สามารถใช้งานได้จริงเพื่อให้ผู้มาอบรมได้เห็นกระบวนการทำงานของระบบอัตโนมัติหรือออโตเมชั่นในภาพรวมทั้งกระบวนการมีห้องปฏิบัติการและชุดฝึกเพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ทดลองปฏิบัติจริงด้วยเสมือนเป็นการจำลองโรงงานมาไว้ในห้องเรียน  และโครงการนี้คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 50 ล้านบาท”  

ด้าน นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ให้ความเห็นว่า นอกจากระบบออโตเมชันจะมีความสำคัญในฐานะเทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยยกระดับระบบการผลิตในภาคอุตสาหกรรมของไทยเพราะช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตแล้ว  ปัจจัยด้านกำลังคนหรือบุคลากรผู้มีทักษะยังเป็นอีกหนึ่งตัวจักรสำคัญที่จะขับเคลื่อนภารกิจนี้ไปสู่ความสำเร็จได้โดยเฉพาะในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรือ EEC ซึ่งกำลังเดินหน้าเปิดรับอุตสาหกรรมหลากหลายที่จะมาขยายฐานการผลิตในพื้นที่  ดังนั้นในตลาดแรงงานต้องการบุคลากรที่มีทักษะด้านหุ่นยนต์และระบบออโตเมชั่นจึงเป็นที่ต้องการมากกว่า 37,000 อัตราการจัดตั้งเครือข่าย EEC Automation Park ที่ตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยบูรพาภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) จึงมีเจตนาที่จะสนับสนุนการพัฒนากำลังคนในพื้นที่ EEC ให้ตรงจุดมากขึ้นและตั้งใจให้เกิดการบ่มเพาะทักษะเฉพาะทางด้านหุ่นยนต์และระบบออโตเมชั่นเกิดขึ้นใน EEC Automation Park แห่งนี้อย่างต่อเนื่อง 

Mitsubishi Electric ผนึกภาครัฐ ทุ่มกว่า 50 ล้าน พัฒนากำลังคนและถ่ายทอดเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบออโตเมชั่นผ่านเครือข่าย EEC Automation Park

สำหรับมหาวิทยาลัยบูรพา เจ้าของสถานที่ซึ่งรับหน้าที่ในส่วนของการบริหาร ECC Automation Park รศ.ดร.วัชรินทร์ กาสลัก อธิการบดี ให้รายละเอียดเกี่ยวกับโครงการว่า “ECC Automation Park ก่อตั้งขึ้นด้วยจุดประสงค์หลักในการเป็นศูนย์กลางเพื่อบริหารจัดการและประสานงานการพัฒนากำลังคนนวัตกรม การเรียนรู้เรื่องหุ่นยนต์และระบบออโตเมชันในเขตพื้นที่ EEC บริหารงานโดยมหาวิทยาลัยบูรพาและดำเนินนโยบายโดยคณะกรรมการ EEC-HDC (Human Development Center) ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานทั้งราชการและภาคเอกชนได้แก่สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO)  สมาคมผู้ประกอบการระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ไทย (TARA) บริษัทมิตซูบิชิอีเล็คทริคแฟคทอรี่ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัดรวมถึงสถาบันการศึกษากว่า 20 สถาบันในพื้นที่ EEC เพื่อผลิตบุคลากรที่ตรงต่อความต้องการของอุตสาหกรรมเป้าหมายในระดับประเทศ   โดยมีภารกิจหลัก 3 ด้านได้แก่  ศูนย์จัดการเรียนรู้  ศูนย์ฝึกอบรมและหน่วยงานประสานความร่วมมือ  ทั้งนี้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์  2563 จะเปิดพื้นที่ในส่วนของศูนย์การเรียนรู้ให้กับภาคอุตสาหกรรมเยาวชนและประชาชนทั่วไปที่ติดต่อเข้าเยี่ยมชมเป็นหมู่คณะเพื่อเรียนรู้เทคโนโลยีอุตสาหกรรม 4.0 และจะเปิดให้บริการครบสมบูรณ์ทุกส่วนในปีหน้า

  • สำหรับรายละเอียดภารกิจหลักทั้ง 3 ด้านของ ECC Automation Park ประกอบด้วย ศูนย์การเรียนรู้  (Learning Center)  ประกอบด้วย  ชุดสาธิตระบบอัตโนมัติการผลิต (Model Line of Smart Factory)  จาก บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด  เป็นการจำลองระบบสายการผลิตที่ผสมผสานการนำเทคโนโลยีด้านระบบอัตโนมัติโรงงาน (Factory Automation) และเทคโนโลยีด้านสารสนเทศ (Information Technology) เข้าไว้ด้วยกัน  ซึ่งจะใช้เป็นต้นแบบให้กับโรงงานอุตสาหกรรมโดยแสดงถึงความสามารถในการนำข้อมูลที่หลากหลายมาผสมผสานกันเพื่อการวางแผนการผลิต การซ่อมบำรุงเครื่องจักร และบริหารจัดการงานได้อย่างรวดเร็วและทันท่วงที (Real-time) ส่งผลให้ควบคุมและลดต้นทุนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมีส่วนพื้นที่ Co-working Space ที่จะเปิดให้ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมและอื่น ๆ  เข้ามาใช้เพื่อประกอบกิจกรรม เช่น การเจรจาทางธุรกิจและความร่วมมือ การเช่าพื้นที่ดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญของ EEC Automation Park และเครือข่าย  และพื้นที่ Fabrication Laboratory  สำหรับบ่มเพาะทักษะและความรู้ด้านการขึ้นรูปชิ้นงานต้นแบบ รวมไปถึงความรู้ด้านระบบสมองกลฝังตัว (Embedded System) เพื่อพัฒนาศักยภาพ นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจ 
  • ศูนย์ฝึกอบรม (Training Center)  ประกอบไปด้วยกิจกรรมการอบรมที่เป็นหลักสูตรระยะสั้น มุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ในเทคโนโลยีอุตสาหกรรม 4.0 หรือ e-F@ctory โดย บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด  โดยเป็นหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรม (Customized course) ที่เน้นการใช้งานจากอุปกรณ์จริง  หลักสูตร Related skill ที่เกี่ยวข้องกับโรงงานอัตโนมัติ เช่น การออกแบบเครื่องจักร การลดของเสียในอุตสาหกรรม เป็นต้น ทั้งนี้กลุ่มเป้าหมายของผู้เข้าอบรม นอกจากบุคลากรจากภาคอุตสาหกรรมแล้ว ยังรวมถึงนักเรียนระดับมัธยมศึกษา นักศึกษาทั้งระดับอาชีวศึกษา และระดับมหาวิทยาลัย เพื่อวางรากฐานความรู้ด้านระบบอัตโนมัติโรงงานและการวิเคราะห์ข้อมูลที่สอดคล้องต่ออุตสาหกรรม 4.0 อย่างแท้จริง
  • หน่วยงานประสานความร่วมมือ (Collaboration)  กับเครือข่าย ด้วยการร่วมจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรม 4.0 การจัดคอร์สฝึกอบรมร่วมกัน การแลกเปลี่ยนชุดอุปกรณ์และเครื่องมือ (Share Facilities) การแลกเปลี่ยนวิทยากร (Trainer) การสร้างงานวิจัยและนวัตกรรม และการสร้างศูนย์กลางข้อมูล (Data Center) ด้านระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ในเขตพื้นที่ EEC เป็นต้น   

“Mitsubishi Electric ยินดีจะเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนในการสร้างบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านออโตเมชั่นและหุ่นยนต์อีกทั้งความร่วมมือจากเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อตอบโจทย์อุตสาหกรรม 4.0 ได้อย่างสมบูรณ์รวมไปถึงเครือข่ายพันธมิตรด้านการศึกษากว่า 20 สถาบันที่จะช่วยผนึกกำลังในการสร้างบุคลากรได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพผ่านเครือข่าย EEC Automation Park”  นายวิเชียร กล่าวทิ้งท้าย

Thos
"Judge a man by his questions rather than his answers"
Voltaire
READ MORE
×